การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (Zoning)

ด้วยการเพิ่มขึ้นของประชากร การพัฒนาของเมืองริมชายฝั่งทะเล ส่งผลให้ต้องใช้พื้นที่และทรัพยากรริมชายฝั่งเพิ่มมากข้ึน หากปราศจากการควบคุมและวางแผนอย่างรอบคอบ  อาจทำให้เกิดการเสียสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติเนื่องจากการใช้ที่เกิดขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบเสียหายทั้งต่อทรัพยากรและการเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนั้นโดยมนุษย์ 

การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเล เป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยมีความหมายคือ การจัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ชายฝั่งนั้นให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบทรัพยากร หรือหมายถึงการจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์และการสงวนรักษา เป็นมาตรการไม่ซับซ้อน นับว่าเป็นหนึ่งในมาตรการที่ง่ายที่สุดเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง

การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ โดยการจัดการการใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้กระบวนการจัดการที่มีการผสมผสานกันระหว่างหน่วยงานและแผนงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อนำมาวางแผนการพัฒนาเพื่อนำไปปฏิบัติ ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยทั่วไปประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. การรวบรวมข้อมูลชายฝั่ง เช่น เชิงกายภาพ การใช้ประโยชน์ สถานภาพของทรัพยากร 
  2. วิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อหาสาเหตุ มาตรการแก้ไข ผู้มีส่วนได้เสีย
  3. เสนอแนวทางการแบ่งเขต zoning โดยยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับความต้องการสังคม และการใช้ประโยชน์ในอนาคต
  4. นำเสนอแนวทางการแบ่งเขต zoning เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และนำแนวทางไปปฏิบัติให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายต่อไป

อย่างไรก็ตามการการทำ Beach Zoning ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งสภาพปัญหาของชายหาดนั้น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ การใช้ประโยชน์ ข้อบังคับ นโยบายการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม ความพร้อมของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เป็นต้น การทำ Beach Zoning  สำหรับชายหาดแต่ละแห่งอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ และอาจประสบความสำเร็จในที่หนึ่งแต่ล้มเหลวในอีกที่หนึ่งเนื่องมาจากปัจจัยดังกล่าวก็เป็นได้ โดยส่วนมากมาตรการนี้มักถูกดำเนินการโดยหน่วยงานระดับท้องถิ่น โดยอาจบรรจุข้อกำหนด Zoning ให้มีสภาพบังคับอยู่ในข้อบัญญัติท้องถิ่นและผังเมือง 

ในต่างประเทศได้มีการทำ Zoning กันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะชายหาดท่องเที่ยว สำหรับชายหาดเมือง Long Beach รัฐ California, USA  มีการจัดทำแผนผังการใช้ประโยชน์ชายหาด โดยระบุเป็น เขตเล่นน้ำ, เขตการขึ้นลง Kite surf, เขตการเล่น Jet ski, เขตการเล่นเรือใบ, ตำแหน่ง Life guard, ตำแหน่งห้องน้ำและห้องอาบน้ำ , เลนปั่นจักรยาน, ถนน และลานจอดรถ 

นอกเหนือจากการระบุไว้ในแผนที่แล้ว อาจจัดทำเป็นข้อกำหนดว่าโซนใดอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมใดตามตัวอย่างของการจัดการพื้นที่ในทะเลของอุทยาน Great barrier reef ประเทศออสเตรเลีย โดยได้กำหนดถึงประเภทของกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ในโซนที่มีสีแตกต่างกัน โดยเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการในทะเลเป็นหลัก เนื่องจากอุทยานนี้เป็นแหล่งประการังที่ใหญ่และสมบูรณ์ที่สุดในโลก กิจกรรมทางทะเลจึงต้องถูกควบคุมดูแลอย่างเข้มงวด

นอกจากการทำแผนที่ Zoning การกำหนดกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้หรือไม่ได้ในแต่ละโซน การจัดการชายหาดในต่างประเทศ ยังได้มีการกำหนดแนวทางปฏิบัติไว้ในเบื้องต้นเพื่อใช้กันในบางประเทศ ทั้งนี้เป็นไปเพื่อสมดุลระหว่างธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ ตัวอย่างเช่น (ดัดแปลงจาก FEE,2008; Williams, 2009)

อย่างไรก็ตาม การนำเอามาตรการ Beach Zoning ไปใช้เพื่อกำหนดเป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการจัดการพื้นที่ชายหาด จำเป็นต้องปรับให้เข้ากับบริบทของแต่ละพื้นที่ เพราะแต่ละพื้นที่นั้น มีการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน มาตรการที่ใช้เพื่อจัดการจึงต้องแตกต่างกันไปด้วย แนวทางเพื่อการจัดทำ Zoning มีดังต่อไปนี้

  1. พยายามจัด Zone ให้ง่ายๆไม่ซับซ้อน ปฏิบัติได้จริง และง่ายต่อความเข้าใจให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  (simple/practicable/understandable)
  2. ให้ความสำคัญกับการลดการแทรกแซงระหว่าง user (เช่น ชาวประมง ผู้ประกอบกิจการเดินเรือ นักประดาน้ำ) โดย user ต้องถูก consult ก่อนที่จะประกาศใช้ zoning
  3. Compensate ผู้เสียประโยชน์เพื่อ political acceptability
  4. คำนึงถึงระเบียบปฏิบัติของท้องถิ่นนั้นๆ หลีกเลี่ยงการไปขัดแย้งกับข้อกำหนดอื่นๆ ถ้าเป็นไปได้
  5. การกำหนด zone ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เพียงพอและสมเหตุสมผลเชิงเทคนิค
  6. Zoning ควรคำนึงถึง  cost effective ด้วย
  7. ควรพิจารณาถึง local/regional/national interest
  8. Coordinate กับ public works ต่างๆ
  9. ต้องมีการติดตามตรวจสอบการใช้ประโยชน์แต่ละ zone ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้อย่างสม่ำเสมอ
  10. หลีกเลี่ยงการเปลี่ยน zone แบบฉับพลัน เช่น จาก พื้นที่สงวน มาเป็น พื้นที่พัฒนา ควรจะมี buffer zone ระหว่างสองพื้นที่นี้
  11. ถ้าพื้นที่มีลักษณะที่แยกออกโดยสิ้นเชิง (discrete) เช่น เกาะ แนวประการัง ควรกำหนดเป็น zone เดียว 
  12. Zoning ควรสอดคล้องกับสภาพเชิงกายภาพ เพื่อง่ายต่อการจำแนกเขตในพื้นที่
  13. เขตที่มีสัตว์สงวน สัตว์พื้นถิ่นที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ควรกำหนดเป็น zone สงวน 
  14. Zone วางไข่ หากินของสัตว์บางชนิดอาจกำหนดให้เป็น zone สงวนเฉพาะฤดูกาลนั้นๆหรือตลอดทั้งปีก็ได้
  15. ถ้าเป็นไปได้ Zoning ไม่ควรไปปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนพื้นถิ่น เช่น การจับปลา ล่าสัตว์
  16. ควรกำหนด Zone วางสมอสำหรับเรือให้สามารถวางได้ตลอดทั้งปี และไม่อยู่ในบริเวณที่มีประการัง หากจำเป็นควรทำท่าหรือทุ่นสำหรับจอด
  17. Zone สงวนรักษา สามารถใช้เพื่อการศึกษาวิจัยได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงงานวิจัยที่ต้องเข้าพื้นที่ในลักษณะประจำ 
  18. Zone conservation สามารถประกอบกิจการเพื่อการอนุรักษ์ได้แบบไม่ถาวร
  19. ต้องมีกระบวนการ revise zoning ตามความจำเป็น
  20. มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นก่อนประกาศใช้
  21. การป้ายประชาสัมพันธ์ รวมถึงข้อมูลที่ user สามารถเข้าถึงและรับรู้ได้อย่างสะดวก
  22. อื่นๆ
แผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดอ่าวนาง จ.กระบี่ (ตัวอย่างประกอบการเรียนรู้มิได้นำไปปฏิบัติจริง)
แผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดทับแขก จ.กระบี่ (ตัวอย่างประกอบการเรียนรู้มิได้นำไปปฏิบัติจริง)
สัญลักษณ์ประกอบแผนการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาด จ.กระบี่
(ตัวอย่างประกอบการเรียนรู้มิได้นำไปปฏิบัติจริง)