ลงมือแล้ว!! กำแพงกันคลื่นหาด Katoku

ที่มา: https://www.facebook.com/katokuhama Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาด Kotoku บนเกาะ Amami เกาะเล็กๆทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นไปแล้วตอนหนึ่ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/katoku-sw/ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีการกลับมาดำเนินการก่อสร้างที่ Katoku โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยเจ้าหน้าที่จังหวัดและพนักงานจากบริษัท Marufuku ได้เข้ามาเคลียร์พื้นที่และประกาศว่าจะวางแท่งคอนกรีตบนชายหาดและดำเนินการให้เร็วที่สุด เนื่องจากผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการเพิ่งย้ายมาประจำการในเดือนเมษายน ชาวบ้านในพื้นที่จึงจำเป็นต้องเริ่มอธิบายเหตุการณ์และข้อกังวลที่เกิดขึ้นทั้งหมดใหม่ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จังหวัดยังข่มขู่ชาวบ้านที่ยื่นคำร้องขอตรวจสอบโครงการ โดยอ้างว่าจะดำเนินคดีหากเข้ามาขัดขวางการก่อสร้าง ซึ่งอาจเป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้ว่า Shiota และถือเป็นการเลือกปฏิบัติและการคุกคามทางกฎหมายที่ไม่สนใจความคิดเห็นของชาวบ้านที่เพิ่งยื่นคำร้อง ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวบ้านยังคงพยายามสื่อสารกับเจ้าหน้าที่จังหวัด ถึงแม้ว่าภารกิจของเจ้าหน้าที่คือการดำเนินโครงการที่เป็นปัญหาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านเชื่อว่าการสื่อสารและแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งสำคัญ ทำไมพวกเขาถึงรัก Katoku  ทำไมพวกเขาจึงอยากจะรักษาไว้ให้เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมเพื่อลูกหลาน WWF ได้กล่าวในการประชุมที่ Amami Oshima ว่า “ระบบที่ช่วยให้เรามีชีวิตอยู่ได้นั้นขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพ” ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาสิ่งที่เหลืออยู่ Katoku เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่หายาก เนื่องจากแทบไม่เหลือพื้นที่แบบนี้ในหมู่เกาะ Ryukyu แล้ว ส่วนที่หลงเหลืออยู่ก็กำลังจะถูกทำลาย ตามข่าวนี้ ชาวบ้านได้ขอตั้งคำถามถึงแนวทางของเจ้าหน้าที่จังหวัด Kagoshima ที่เพิกเฉยและข่มขู่ผู้ที่พยายามปกป้องธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพบนเกาะแห่งนี้ ซึ่งไม่ใช่วิธีการจัดการแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของ UNESCO ที่ถูกต้อง […]

Beachlover

July 7, 2024

คันดักปลาบนเกาะ Amami

Beach Lover ขอพาชมวิธีการดักปลาของคนญี่ปุ่นในอดีต ณ Tatsugo Bay บนเกาะ Amami จังหวัด Kagoshima ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น  ชาวบ้านในอดีตจะนำก้อนหินและเปลือกหอยมาวางเป็นคันกั้นไว้รอบๆพื้นที่ที่ต้องการจะจับปลา เวลาน้ำขึ้นปลาจะว่ายเข้ามาหาฝั่ง เมื่อระดับน้ำลดลง กองหินนี้จะกั้นน้ำและดักปลาไว้ส่วนหนึ่ง ทำให้ชาวบ้านลงไปเดินจับปลาบริเวณนี้ได้อย่างง่ายดาย นับเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบง่ายๆที่อาจใช้ได้ดีในยุคสมัยก่อน ปัจจุบันไม่มีข้อมูลว่าชาวบ้านยังใช้วิธีนี้อยู่หรือไม่ ภาพเมื่อ พ.ย.2566

Beachlover

November 12, 2023