ติดตามการปักไม้ไผ่ แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ป่าชายเลนบ้านเกาะแมว จ.จันทบุรี

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 20 เมษายน 2566 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ติดตามโครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยวิธีการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น โดยมีนายปรานต์ ดิลกคุณากุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง พร้อมด้วยนายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ระยอง) ตลอดจนผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรม ทช. ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ณ พื้นที่ป่าชายเลน บ้านเกาะแมว ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี สำหรับในพื้นที่บ้านเกาะแมวแห่งนี้ กรมทช. ดำเนินการในปี พ.ศ. 2556 ระยะทาง 1,000 เมตร และในปี พ.ศ. 2558 ระยะทาง 2,000 เมตร โดยทช. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการวิจัยการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศชายฝั่งทะเล (หาดโคลน) ภายหลังการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ท้องที่จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2563 โดยศึกษาในพื้นที่ป่าชายเลนบ้านเกาะแมว ซึ่งศึกษาโครงสร้างป่า องค์ประกอบของชนิดไม้ป่าชายเลน ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน […]

Beachlover

April 24, 2023

ติดตามชายฝั่งหาดโคลน หลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นบ้านแหลม

ที่มา: https://www.facebook.com วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ดำเนินโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดโคลน จ.เพชรบุรี บริเวณ ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ที่ดำเนินการในปี ๒๕๖๔ ระยะทางไม้ไผ่ประมาณ ๑,๗๕๐ เมตร เป็นการติดตามพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณพื้นที่ปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ในพื้นที่หาดโคลน โดยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ผลการสำรวจพบว่ามีกล้าไม้ ได้แก่ แสมทะเล เริ่มขึ้นบริเวณหลังแนวไม้ไผ่จำนวนมาก ทั้งนี้ จะนำข้อมูลดังกล่าวจัดทำเป็นแผนที่เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้น-ลดลง ของป่าชายเลน เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าชายเลนหลังดำเนินโครงการฯ ต่อไป

Beachlover

June 30, 2022

ติดตามการดักตะกอน สร้างแนวป่าชายเลนอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) ติดตาม ตรวจสอบ ผลการดำเนินงานแนวการปักไม้ไผ่ โครงการซ่อม สร้าง เสริม การปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ จ.ปัตตานี ระยะทาง ๘๐๐ เมตร โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อให้ได้ภาพมุมสูง ในพื้นที่ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ผลการสำรวจพบว่า เริ่มมีตะกอนสะสมทั้งด้านหลังและด้านหน้าแนวไม้ไผ่ ซึ่งอาจเป็นผลมากจากตะกอนดินเลนจากปากคลองดีแช และสายคลองขนาดเล็กอื่นๆ ไหลลงสู่อ่าวปัตตานี ซึ่งตะกอนดินเลนส่วนหนึ่งโดนดักด้วยแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น ก่อให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนดินเลน

Beachlover

June 22, 2022

ชุมชนชายฝั่งท่าซักเห็นชอบ ให้ปักแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นสร้างผืนป่า

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง และสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ร่วมประชุมในการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นโครงการซ่อม สร้าง เสริม การปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่นเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ความยาวแนวไม้ไผ่ ๒,๓๐๐ เมตร โดยมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการฯ ประมาน ๖๐ คน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นให้ดำเนินการตามรูปแบบที่กรม ทช. นำเสนอ เพื่อเป็นการป้องการกัดเซาะชายฝั่งและควรฟื้นฟูป่าชายเลนหลังแนวไม้ไผ่ต่อไป

Beachlover

December 18, 2021

ประสิทธิภาพยังดี แนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นชายฝั่งบางปะกง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งหาดโคลน จ.ฉะเชิงเทรา ที่ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นเมื่อปี ๒๕๖๒ บริเวณชายฝั่ง ต.บางปะกง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทางไม้ไผ่ประมาณ ๔ กม. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแนวไม้ไผ่ โดยใ้ช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) รวม ๒๒ ตำแหน่ง ผลการสำรวจพบแนวไม้ไผ่คงเหลือประมาณร้อยละ ๗๐ ประสิทธิภาพของไม้ไผ่ยังคงแข็งแรงดี มีการหักพังเสียหายเพียงเล็กน้อย เนื่องจากคลื่นลม และพายุ อีกทั้งยังพบพรรณไม้หลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น เช่น ต้นแสมทะเล และต้นโกงกาง เป็นต้น

Beachlover

December 12, 2021

ปักแนวไม้ไผ่เพชรบุรีเดินหน้ากว่าครึ่ง พร้อมส่งมอบสิงหาคมนี้

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ติดตามความก้าวหน้าการปักแนวไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ในพื้นที่ จ.เพชรบุรี ระยะทางการปักไม้ไผ่ตามงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม ๑,๗๕๐ เมตร ในครั้งนี้สามารถปักได้รวม ๘๗๕ เมตร เหลืออีก ๘๗๕ เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จส่งมอบให้พี่น้องประชาชนชาว จ.เพชรบุรี ได้ภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ ทั้งนี้ แนวไม้ไผ่นอกจากจะมีประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังช่วยเร่งการตกตะกอนเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนหลังแนวไม้ไผ่เพื่อเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป

Beachlover

August 2, 2021

เพิ่มแนวชะลอคลื่น เร่งปักไม้ไผ่ปลูกเสริมป่าชายเลนปากนคร

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ร่วมกับกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ติดตามงานปักแนวไม้ไผ่ในโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยวิธีการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ในพื้นที่ ต.ปากนคร และ ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

Beachlover

July 18, 2021

กำกับงานปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น เสริมชายฝั่งนครศรีธรรมราช

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ร่วมกับกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ติดตามงานปักแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น ตามโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยวิธีการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ในพื้นที่ ต.ปากนคร และ ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ระยะที่ ๑ ระยะทาง ๑,๐๐๐ เมตร จากแนวปักไม้ไผ่รวมทั้งโครงการ ๔,๐๐๐ เมตร

Beachlover

July 3, 2021

ชาวเกาะเปริด ขอความช่วยเหลือชายฝั่งกัดเซาะ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๑ (ระยอง) ร่วมกับคณะของ พ.ต.ท.ดร.ฐนภัทร กิตติวงศา สส.พรรคพลังประชารัฐ ปลัด อ.แหลมสิงห์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชุมชนในพื้นที่ ตรวจสอบเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาชายฝั่งทะเล กรณีการร้องเรียนความเดือดร้อนจากชุมชนในพื้นที่ ม.๕ ต.เกาะเปริด อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี รวม ๔๐ หลังคาเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมีความประสงค์ให้จัดทำแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่มีความมั่นคงถาวร เช่น เสาปูนแนวกำแพงกันคลื่น หรือแนวหินทิ้ง เนื่องจากพื้นที่บริเวณดังกล่าวและบริเวณใกล้เคียงได้เคยมีการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นโดยงบประมาณของกรม ทช. ระยะทาง ๔ กม. ซึ่งได้ผลดีทางด้านทิศเหนือ ๑.๓ กม. ส่วนพื้นที่ที่เหลืออีก ๒.๗ กม. ยังมีผลกระทบ ทั้งนี้ จะได้นำข้อมูลไปพิจารณาเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่มีความเหมาะสมต่อไป ในโอกาสนี้ พ.ต.ท.ดร. ฐนภัทร กิตติวงศา แจ้งว่าจะรวบรวมรายชื่อชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการพิจารณางบประมาณในวันที่ ๒๓ […]

Beachlover

June 21, 2021

งานปักไม้ไผ่โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง

โดยทั่วไปเรามักพบเห็นโครงการป้องกันชายฝั่งที่ดำเนินงานโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในรูปแบบของโครงสร้างทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ โดยเน้นที่กำแพงกันคลื่นรูปแบบต่างๆเป็นหลัก (ศึกษาได้จากโพสเก่าๆ) โครงการนี้น่าจะเป็นโครงการแรกๆของกรมโยธาฯที่ทำการปักไม้ไผ่เพื่อป้องกันชายฝั่ง โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันตกโดยการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นนี้ กำลังเกิดขึ้นที่แหลมใหญ่ สมุทรสงคราม ความยาว 4 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 25.9 ล้านบาท เนื่องจาก Beach Lover ยังไม่มีรายละเอียดของโครงการ รวมถึงสถานการณ์กัดเซาะจนเป็นเหตุผลความจำเป็นให้ต้องดำเนินโครงการนี้ แต่จากข้อมูลเท่าที่มีข้างต้น พบประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตคือ (1) การปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นนั้น เป็นมาตรการที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเน้นย้ำมาตลอดว่าเป็นการช่วยเร่งให้ตะกอนตกทับถมเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตของป่าชายเลนด้านใน เพราะสำหรับหาดโคลนแล้วถือว่าโครงสร้างป่าชายเลนและระบบรากที่ช่วยยึดเกาะตะกอนนั้นเป็นปราการทางธรรมชาติ ที่ช่วยกันคลื่นลมและส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพที่ดีที่สุด โดยมักพบว่าดำเนินการร่วมไปกับการปลูกป่าชายเลน หรือ มีป่าชายเลนที่ต้องการให้เกิดความสมบูรณ์อยู่ด้านใน คำถาม: งานอนุรักษ์ป่าชายเลนนั้น เป็นหนึ่งในภารกิจของกรมโยธาธิการและผังเมืองหรือไม่ ? (2) งานปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นที่ดำเนินการโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ผ่านมา ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาทต่อหนึ่งกิโลเมตร (https://beachlover.net/ทช-ปักไม้ไผ่-ปี63/) หากปักไม้ระยะทาง 4 กิโลเมตรตามโครงการนี้ควรใช้งบประมาณเพียง 16 ล้านบาทเท่านั้น คำถาม: เหตุใดราคากลางของกรมโยธาธิการและผังเมือง (39.186 ล้านบาท) หรือแม้แต่วงเงินงบประมาณที่ชนะการประกวดราคา (25.9 ล้านบาท) จึงสูงลิ่วกว่าของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้จะว่าอย่างไร … รอติดตามอย่างใจเย็น

Beachlover

May 26, 2021
1 2