สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยเรือสำรวจหยั่งน้ำอัตโนมัติ โดยมีเป้าหมายในการสำรวจ 12 แนว จากทั้งหมด 28 แนว มีระยะห่างระหว่างแนวประมาณ 300 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะส่งมอบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ให้คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ เพื่อไปใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเสื่อมโทรมของแนวหญ้าทะเลในพื้นที่ต่อไป

Beachlover

March 13, 2024

ถึงคิวเกาะลิบง กับ หาดกำแพง ?!?

ลิบง เป็นชื่อของเกาะซึ่งตั้งอยู่ในน่านน้ำทะเลตรัง บริเวณปากแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียน ห่างจากฝั่งบ้านเจ้าไหมไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร และมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าเกาะใด ๆ ที่อยู่เขตปกครองของจังหวัดนี้ เกาะลิบงที่มีฐานะเป็นตำบล ที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร (https://th.wikipedia.org/wiki/เกาะลิบง) เกาะลิบงเมื่อปีก่อนเริ่มเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะมากขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นแหล่งพักรักษาตัวของพยูนมาเรียม อันที่จริงแล้วเกาะลิบงมีชื่อเสียงเรื่องพยูนมาเนิ่นนานแล้วด้วยเป็นแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพยูน จึงเป็นพื้นที่แหล่งหากินของพยูนมาแต่ครั้งอดีต ปัจจุบันประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ Beach Lover ได้สำรวจความสมบูรณ์ของทรัพยากรบนเกาะลิบงและพื้นที่ชายหาดรอบๆเกาะ พบทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันหลากหลาย บางโซนของเกาะเป็นหาดทรายขาวยาวสวย บางโซนเป็นหาดโคลนบนทราย บางโซนเป็นท้องทุ่งหญ้าทะเล บางโซนเป็นโขดหินรูปร่างแปลกตา งานสำรวจเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2563 แต่ไม่ได้มีโอกาสหยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง จนถึงวันนี้ วันที่บางส่วนของชายหาดบนเกาะลิบงกำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง รอบๆเกาะไร้ร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งยกเว้นเพียงพื้นที่เดียวคือพื้นที่หมู่ 5 บ้านหลังเขา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะซึ่งเป็นทะเลเปิด เป็นพื้นที่ของชุมชนประมงที่ตั้งอยู่ด้านหลังเกาะกวาง ช่วงที่ Beach Lover ลงสำรวจพื้นที่เป็นช่วงปลอดมรสุม คลื่นลมสงบยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะใดๆ แต่พบซากปรักหักพังของเศษวัสดุมากมายรวมถึงเศษซากแห่งความพยายามป้องกันพื้นที่ชายฝั่งนี้ให้รอดพ้นจากการกัดเซาะในอดีต ชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่า หาดแถบนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปหลังเกิด Tsunami เมื่อปี 2547 หลังจากนั้นทางท้องถิ่นก็ได้ก่อสร้างกำแพงกันคลื่นและถนนเลียบหาดแบบไม่ได้มาตรฐานนัก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพเชิงกายภาพครั้งใหญ่ของหาดในหมู่ที่ 5 นี้ โดยระยะต่อมาโครงสร้างเกือบทั้งหมดได้พังทลายลงและส่งผลกระทบให้หาดกัดเซาะไปเรื่อยๆจวบจนถึงปัจจุบัน ทางท้องถิ่นได้ประสานไปหลายหน่วยงานรวมถึงนักวิชาการหลายสำนัก […]

Beachlover

November 3, 2020