สำรวจสัณฐานชายหาด แหลมพันวา

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS วันที่ 21 มกราคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS โดยการรังวัดผ่านระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) โดยมีระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 950 เมตร กำหนดแนวสำรวจสัณฐานชายหาด รวม 13 แนว ผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่า พื้นที่สำรวจมีความลาดชันชายหาดประมาณ 0.06 – 8.52 องศา มีความกว้างของหาด ประมาณ 10 – 13 เมตร เมื่อนำผลการสำรวจครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการสำรวจในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบว่า บริเวณพื้นที่แหลมพันวาตะวันออกมีตะกอนสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 197.48 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายหาด ความกว้างของหาด […]

Beachlover

January 22, 2024

สำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง สำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด บริเวณอ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต วันที่ 18-21 ธันวาคม 2566 เจ้าหน้าที่กลุ่มสัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ได้ออกสำรวจรอยกินหญ้าทะเลของพะยูนและสัตว์ทะเลหายากในพื้นที่ ในช่วงน้ำขึ้นสูงสุดและน้ำลงต่ำสุด บริเวณอ่าวป่าคลอก จังหวัดภูเก็ต คิดเป็นพื้นที่ 2.34 ตร.กม จากการสำรวจพบรอยกินหญ้าทะเลของพะยูน โดยมีหญ้าใบมะกรูด (Halophila) เป็นหญ้าชนิดเด่น บริเวณรอยกิน ที่พบมีทั้งรอยเก่าและรอยใหม่ สังเกตจากการขึ้นปกคลุมทดแทนของหญ้าทะเล ได้ดำเนินการสุ่มวัดขนาดความกว้างและความยาวของรอยกิน จำนวน 20 รอย พบว่า รอยกินมีความกว้าง 13 – 15 เซนติเมตร ขนาดความยาวของรอยกินเฉลี่ย 8 เมตร จึงได้ทำการบันทึกเพื่อนำไปประเมินขนาดและประชากรของพะยูนต่อไป และจากการสำรวจพบเต่าทะเล ชนิดเต่าตนุจำนวน 10 ตัว อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าว

Beachlover

December 23, 2023

กรมทะเลฯ สำรวจความลึกท้องน้ำ ชายฝั่งภูเก็ต

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจความลึกท้องน้ำ พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต สู่การบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ วันที่ 29 ตุลาคม 2565 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดย ส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณหาดสุรินทร์ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อหาความลึกท้องน้ำโดยใช้เรือสำรวจอัตโนมัติ CHC Apache 3 ด้วยระบบเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบ RTK ร่วมกับเครื่องหยั่งน้ำ Echo Sounder แบบความถี่เดียว โดยการสำรวจครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่สำรวจประมาณ 18,000 ตร.ม. แบ่งแนวสำรวจออกเป็น 20 แนว ผลการสำรวจพบว่า ความลึกเฉลี่ยของพื้นท้องทะเลใกล้ฝั่งหาดสุรินทร์ห่างจากแนวชายฝั่งออกไปประมาณ 200 เมตร มีความลึกระหว่าง -2.0 ถึง -7.8 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะนำผลการสำรวจไปจัดทำแผนที่ความลึกท้องน้ำในพื้นที่หาดดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการชายฝั่งต่อไป

Beachlover

October 30, 2022

พาสำรวจการเปลี่ยนแปลงชายหาดกะตะ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจหาดกะตะ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งอยู่ในระบบหาดกะตะใหญ่ (T7E222) โดยใช้เครื่องหาพิกัดดาวเทียมแบบ RTK GNSS เป็นเทคนิคการสำรวจรังวัดด้วยระบบโครงข่ายรังวัดดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ผลสำรวจพบว่า หาดกะตะด้านทิศเหนือมีความกว้างชายหาดมากที่สุด ๑๒๐ เมตร และมีความลาดชันต่ำกว่าบริเวณตอนกลาง และด้านทิศใต้ของหาด ความลาดชันที่ได้จากการสำรวจคือ ๐-๒๐ องศา โดยความลาดชันด้านทิศเหนือของหาดมีค่าต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงชายหาดในเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ โดยพบว่า หาดด้านทิศใต้มีปริมาณตะกอนทรายเพิ่มมากขึ้น และไม่พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่

Beachlover

June 26, 2022

หาดแหลมสิงห์ หาดลึกลับเข้าถึงยาก

Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนาม ณ จ.ภูเก็ต ในช่วงปลายเดือนเมษายน 2565 ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูกาลท่องเที่ยวพอดี ก่อนที่ภูเก็ตและจังหวัดอื่นๆทางฝั่งทะเลอันดามันจะได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ทะเลช่วงนี้จะใสและมีสีสวย ชายหาดกว้าง คลื่นลมสงบ และมีนักเที่ยวท่องจำนวนมากโดยเฉพาะชาวต่างชาติ ซึ่งกลับมาท่องเที่ยวที่ภูเก็ตอีกครั้งหลังจาก COVID-19 แม้จะฟื้นกลับมาเพียงครึ่งเดียว ไม่มากมายเหมือนเดิม แต่ก็เพียงพอให้บาง sector ประคองธุรกิจต่อไปได้ หาดแหลมสิงห์เป็นชายหาดที่เข้าถึงได้ยาก ต้องเดินเท้าหรือนั่งเรือเข้าไปเท่านั้น ซึ่งทางเดินเท้าเข้าไปนั้นไม่ง่ายนักเนื่องจากต้องเดินลัดเลาะไปตามโขดหิน ซอกหลืบของหน้าผาหิน โดยทางเดินเกือบตลอดเส้นทางนั้นรายล้อมไปด้วยต้นไม้ที่ร่มรื่น และทิวทัศน์อันสวยงามของทะเลตัดกับโขดหิน มีร้านค้าขายอาหารและเครื่องดื่มหนึ่งร้าน ตั้งอยู่ในทำเลที่ดึงดูดลูกค้าที่กำลังอ่อนแรงจากการเดินเท้าได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ ใช้เวลาเดินเท้าประมาณ 20 นาทีจากถนนด้านบน ก็จะมาถึงหาดแหลมสิงห์ ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดกระเปาะที่มีความยาวชายหาดตลอดแนวประมาณ 270 เมตร ความกว้างชายหาดเฉลี่ยประมาณ 33 เมตร มีขนาดของเม็ดทรายเฉลี่ย 0.26 มิลลิเมตร และมีความลาดชันชายหาด 6.7 องศา (ข้อมูลจากการสำรวจจริงในเดือนเมษายน 2565) พบผู้ประกอบการร่มเตียงและเครื่องดื่มเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวจำนวนหนึ่งรายเท่านั้น และพบว่าป่าชายหาด พืชปกคลุมชายหาดด้านในยังคงสมบูรณ์ ปราศจากการแทรกแซงใดๆ ในหลายประเทศเส้นทางเดินเท้าริมทะเล (Ocean trail) ที่มีความสวยงามเช่นนี้ มักถูกโปรโมตให้เป็นเส้นทางที่เป็น […]

Beachlover

May 26, 2022

ดูราโฮลด์ ณ หาดกะรน ที่สร้างไม่จบ!

หาดกะรน ต้ังอยู่บริเวณอำเภอเมืองของจังหวัดภูเก็ต มีความยาวประมาณ 3.3 กิโลเมตร เป็นชายหาดที่ยาวที่สุดในเกาะภูเก็ต ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติอย่างมาก เพราะมีหาดทรายขาวละเอียด ทัศนียภาพสวยงาม มีถนนเลียบแนวชายหาด มีต้นไม้และสันทรายชายหาดที่สมบูรณ์ ช่วยเพิ่มความสวยงามเป็นอย่างมาก ทางทิศเหนือของหาดกะรน มีการสร้างกำแพงที่เรียกเป็นภาษาเทคนิคว่า “ดูราโฮลด์” (https://commercial.unilock.com/products/a-z-products/all/durahold/?region=1) อันที่จริงแล้วมิใช่โครงสร้างที่สมควรนำมาใช้เพื่อป้องกันชายฝั่ง เนื่องจากมิได้ผ่านการออกแบบเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นเพียงกำแพงกันดินเคลื่อนตัวเท่านั้น เราจึงมักพบเห็นโครงสร้างแบบดูราโฮลด์นี้ตามงานก่อสร้างในพื้นที่อื่นๆบนบก บนเขา มิใช่ริมทะเล กระนั้นก็ตาม มีการนำโครงสร้างกำแพงกันดินแบบดูราโฮลด์นี้มาใช้เพื่อกันคลื่นในหลายพื้นที่ ส่วนมากใช้เพื่อกันเขตพื้นที่เอกชน เนื่องจากราคาไม่แพงและก่อสร้างได้ง่าย ตัวอย่างเช่นรีสอร์ทบนเกาะยาวใหญ่ที่ Beach Lover เคยพาไปชมแล้วตาม Link นี้ https://beachlover.net/เกาะยาวใหญ่ก็มีกำแพงกันคลื่นนะ/ “ดูราโฮลด์” นี้เริ่มสร้างในช่วงปี 2561 มีวัตถุประสงค์เพื่อการปรับปรุงภูมิทัศน์และสาธารณูปโภคบริเวณหนองหาน และเป็นการป้องกันดินในพื้นที่ไหลลงสู่ทะเลโครงสร้างมีความยาวทั้งหมด 470 เมตร หลังจากเริ่มก่อสร้างไปแล้วประมาณ 280 เมตร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้เสนอความเห็นว่าไม่ควรก่อสร้างเพราะบริเวณนี้เป็นหาดสมดุล (https://news.thaipbs.or.th/content/275856) และนำมาสู่การระงับโครงการนี้ไปในที่สุด (https://www.phuketprice.com/เบรกสร้างเขื่อนดูรา-โฮ/) Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจ “ดูราโฮลด์” นี้ในเดือนมีนาคม 2565 ยังไม่ปรากฏร่องรอยว่าคลื่นวิ่งเข้ามาปะทะ “ดูราโฮลด์” […]

Beachlover

April 11, 2022

หาดสุรินทร์…หาดที่เกือบแปลงร่างเป็นขั้นบันได

หาดสุรินทร์ อยู่ใน ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง เป็นชายหาดที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของ จังหวัดภูเก็ต อยู่ระหว่างหาดกมลาและหาดบางเทา ชายหาดมีเม็ดทรายสีขาวละเอียด พร้อมกับน้ำทะเลสีคราม ปลายหาดทั้งสองด้านจะเป็นแหลมยื่นไปในทะเล เต็มไปด้วยแนวต้นมะพร้าว และมีพระอาทิตย์ตกยามเย็นสาดส่องแสงสีทองอย่างสวยงาม และด้วยบริเวณชายหาดจะมีคลื่นลมค่อนข้างแรงกำลังดี ทำให้ที่นี่เป็นสถานที่ยอดนิยมในการเล่นกระดานโต้คลื่น (https://travel.trueid.net/detail/mX1azM4pA4oX) จากเหตุการณ์คลื่นลมแรงในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เมื่อ กรกฎาคม 2557 ส่งผลให้บางส่วนของชายหาดสุรินทร์เกิดการกัดเซาะ โดยบริเวณที่มีปัญหาการกัดเซาะค่อนข้างมาก คือบริเวณที่มีการทำเขื่อนกั้นและมีการนำดินมาถมจนสูง ถูกคลื่นซัดจนแนวกันคลื่นพังทลายระยะประมาณ 200-300 เมตร ขณะเดียวกันก็พบต้นไม้สนขนาดใหญ่และต้นไม้ชนิดอื่นๆ จำนวนถูกคลื่นซัดจนหักโค่นล้มลงมากองอยู่ริมหาด (https://www.bangkokbiznews.com/news/593988) เมื่อประมาณกันยายน 2557 ได้มีการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นริมชายหาดสุรินทร์ (https://mgronline.com/south/detail/9570000110061) ซึ่งมีที่มาจากคำร้องขอจากท้องถิ่นให้กรมโยธาธิการและผังเมืองช่วยเข้ามาแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง หลังจากนั้นก็มีการจัดประชุมกลุ่มย่อยเรื่อยมาจนถึงช่วงกลางปี 2558 โดยรูปแบบที่สรุปว่าจะก่อสร้างบนหาดแห่งนี้คือ กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได และได้ลงนามสัญญาจัดจ้างผู้รับเหมาไปเมื่อปี 2559 หลังจากนั้นเมื่อผู้รับเหมาได้เริ่มขุดและดำเนินการนำเสาเข็มมาวางบริเวณริมชายหาด ประมาณ พฤศจิกายน 2560 ก็เกิดกระแสต่อต้านโครงการนี้ขึ้น โดยชาวบ้านบางส่วนเชื่อว่า โครงการนี้ไม่จำเป็นและจะส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มมากขึ้น โดยระบุในข่าวว่า การกัดเซาะของชายหาดแห่งนี้เกิดจากการปล่อยให้นายทุนบุกรุกสร้างเขื่อนบนชายหาด ทำให้ในช่วงหน้ามรสุมคลื่นเข้ามากระแทก ทำให้ร่องน้ำ และกระแสน้ำเปลี่ยน ผลักให้คลื่นซัดมายังฝั่งที่ไม่มีเขื่อนจึงเกิดการกัดเซาะ หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กรมโยธาฯ ได้มีการนำภาพปัญหาการกัดเซาะที่เกิดขึ้นไปจัดทำโครงการสร้างเขื่อนดังกล่าว […]

Beachlover

March 18, 2022

หาดบางเทา สวยสมดุลไม่พบการเปลี่ยนแปลงชายหาด

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจลักษณะสัณฐานชายฝั่ง ความกว้าง และความลาดชันชายหาดบางเทา ซึ่งอยู่ในระบบหาดอ่าวบางเทา ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดยสำรวจรังวัดทำภาพตัดขวางชายหาดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ซึ่งได้รับการสนับสนุนระบบโครงข่ายดังกล่าวจากกรมแผนที่ทหาร ในการสำรวจครั้งนี้ใช้เครื่องหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS (Global Navigation Satellite System) ซึ่งค่าพิกัดที่ได้จะมีความถูกต้องสูง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปศึกษาและประเมินความเปราะบางของพื้นที่ต่อการกัดเซาะชายฝั่ง โดยสำรวจ ๓๖ แนว ระยะห่างระหว่างแนว ๒๐๐ เมตร ครอบคลุมระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ ๖.๕ กม. โดยวันนี้สามารถสำรวจสัณฐานชายหาดได้ ๑๘ แนว พบว่าชายหาดบริเวณด้านทิศเหนือมีความกว้าง ๒๐-๓๕ เมตร และมีความลาดชันชายหาด ๖-๘ องศา ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง ชายหาดมีความสมดุล มีการใช้ประโยชน์ชายหาดเป็นแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมทางน้ำ

Beachlover

February 23, 2022

พิจารณาขุดลอกร่องน้ำสาธารณะอ่าวกุ้ง หวั่นกระทบทะเลภูเก็ต

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน ร่วมตรวจพื้นที่และประชุมคณะกรรมการเพื่อศึกษาข้อกฏหมายเกี่ยวกับการขุดลอกร่องน้ำสาธารณะประโยชน์อ่าวกุ้ง (ท่าเล) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๔ ซึ่งมีว่าที่ร้อยตรีวิกรม จากที่ รองผู้ว่าราชการภูเก็ต เป็นประธาน โดยคณะกรรมการได้ลงตรวจสอบพื้นที่เพื่อตรวจทานร่วมกับข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศที่มีตั้งแต่ปี ๒๕๑๐-๒๕๖๑ จากนั้นในที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบผลแปลภาพถ่ายทางอากาศจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งระบุว่าร่องน้ำอ่าวกุ้ง (ท่าเล) มีสภาพร่องน้ำเดิมและให้ถือเป็นข้อยุติในประเด็นการพิจารณาว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นร่องน้ำเดิมหรือไม่ และเห็นชอบให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคภูเก็ต ดำเนินการสำรวจและออกแบบการขุดลอกร่องน้ำอ่าวกุ้ง (ท่าเล) และในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการบำรุงรักษาทางน้ำสำหรับสาธารณประโยชน์ต่อไป

Beachlover

July 22, 2021

พาสำรวจชายฝั่งด้านใต้พังงาติดขอบเกาะภูเก็ต สภาพดีไม่มีกัดเซาะ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ สำรวจระบบหาด ๒ พื้นที่ ประกอบด้วย (๑) ระบบหาดหาดบ้านท่านุ่น (T7E๒๐๒) ท้องที่ ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง เป็นหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เม็ดทรายละเอียด น้ำทะเลใส กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศใต้ อุณหภูมิ​บริเวณ​ชายหาด ๓๕ องศาเซลเซียส​ ความเร็วลม ๖.๘ กม./ชม. ลักษณะ​คลื่นเป็นคลื่นลม อัตราคลื่น​กระทบ​ฝั่ง​ ๑๔ ครั้ง​/นาที สภาพอากาศท้องฟ้าครึ้มเมฆฝน ยังไม่มีฝนตก ขยะชายหาดที่มากับน้ำทะเลพบเล็กน้อย การใช้ประโยชน์ชายฝั่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ และประมงชายฝั่งขนาดเล็ก เช่น ตกปลา วางอวน หาจักจั่นทะเล ไม่พบนักท่องเที่ยว ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งหรือการก่อสร้างเพื่อป้องกัน​การกัดเซาะ​ชายฝั่งเพิ่มเติม (๒) ระบบหาดบ้านท่านุ่น (T8B๒๔๗) ท้องที่ ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง เป็นหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เม็ดทรายละเอียด น้ำทะเลใส กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศตะวันออกอุณหภูมิ​บริเวณ​ชายหาด […]

Beachlover

May 7, 2021
1 2