ติดตามสถานภาพชายฝั่ง หาดเกาะยาว นราธิวาส

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ ติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่หาดเกาะยาว ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อยู่ในระบบหาดเขาตันหยง-ตากใบ ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบลากูน (lagoon) ด้านหลังชายฝั่งและหรือสันดอนทรายพบว่ามีสภาพป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำและแหล่งทำประมงน้ำกร่อย พร้องทั้งเป็นที่จอดเรือเพื่อหลบคลื่นลมในช่วงมรสุมของชุมชุนชายฝั่งในพื้นที่ และพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่บริเวณนี้ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ รอดักทราย (Groin) และเขื่อนหินทิ้ง (revetment) ซึ่งไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว และเขื่อนหินทิ้งบางส่วนถูกปกคลุมด้วยตะกอนทราย อีกทั้งชายหาดเกาะยาว มีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง

Beachlover

April 4, 2022

ติดตามสถานภาพแนวชายฝั่ง สุดปลายด้ามขวานทะเลอ่าวไทย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ เก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่งพื้นที่หาดเสด็จ ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อยู่ในระบบหาดเขาตันหยง-ตากใบ ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบลากูน (lagoon) ด้านหลังชายฝั่งและหรือสันดอนทรายพบว่ามีสภาพป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ เขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty) แม่น้ำโกลก (ซึ่งอยู่ฝั่งเขตประเทศไทย ๑ ตัว และฝั่งเขตประเทศมาเลเซีย ๑ ตัว) รอดักทราย (Groin) และเขื่อนหินทิ้ง (revetment) ซึ่งไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว

Beachlover

January 21, 2022

แนวชายฝั่งอ่าวไทยชายแดนใต้ คงสภาพไม่พบการเปลี่ยนแปลง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ และเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งอยู่ในระบบหาดเขาตันหยง-ตากใบ ความยาวชายฝั่งประมาณ ๓๓ กม. ผลการสำรวจพบว่า มีลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานแบบลากูน (lagoon) มีสภาพป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งรูปแบบรอดักทราย ๓๐ ตัว​ เขื่อนหินทิ้ง​ ความยาวประมาณ ๘๐๐​ ​เมตร และเขื่อนกันทรายและคลื่น ๓ ปากร่องน้ำ ได้แก่ ปากร่องน้ำโกลก ปากร่องน้ำตากใบ และปากร่องน้ำแบ่ง พบลักษณะการสะสมตัวด้านใต้และกัดเซาะด้านเหนือของรอดักทราย​ และเขื่อนกันทรายและคลื่นทุกตัว แต่ปัจจุบันการกัดเซาะเริ่มเข้าสู้สมดุลไม่มีการกัดเซาะเพิ่มเติม และจากการสอบถามข้อมูลชาวบ้านพบว่ากำลังจะมีโครงการปรับปรุงเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำโก-ลก โดยกรมชลประทาน ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

Beachlover

January 27, 2021