ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี อ่างศิลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 7 มีนาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณอ่างศิลา อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าว และสัมภาษณ์ชาวบ้านบริเวณอ่างศิลา ทราบว่าน้ำทะเลมีสีเขียวและมีกลิ่น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจและตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล จำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานี AS1-AS3 ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าสภาพน้ำเป็นสีเขียว มีกลิ่นเล็กน้อย และไม่พบสัตว์น้ำตาย ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทั่วไป มีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.33-8.50 อุณหภูมิ 32.4-33.1 องศาเซลเซียส และความเค็ม 31.9-32.2 ส่วนในพันส่วน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 3 เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสาเหตุจากการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

Beachlover

March 7, 2024

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ท่าศาลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ติดตามปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีพื้นที่หาดท่าสูงบน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช วันที่ 16 มกราคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กลุ่มงานสมุทรศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ได้รับการแจ้งเหตุการณ์เกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณพื้นที่หาดท่าสูงบน ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช สำรวจพื้นที่เบื้องต้นไม่พบผลกระทบต่อสัตว์น้ำ ลักษณะสีน้ำทะเลเป็นสีเขียวเข้ม สาเหตุเกิดจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต ชนิด Noctiluca scintillans มีความหนาแน่นเฉลี่ย 19,203 เซลล์ต่อลิตร ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ ตรวจวัดปัจจัยคุณภาพน้ำทะเลเบื้องต้น ดังนี้ ความเป็นกรด-ด่าง 7.63-7.88 ความเค็ม 31.6-31.8 ppt อุณหภูมิน้ำทะเล 30.4-30.9 °C และปริมาณออกซิเจนละลาย 7.14-7.22 mg/l ตัวอย่างน้ำทะเลสำหรับวิเคราะห์ปริมาณสารอาหาร เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 °C นำกลับมาวิเคราะห์ห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องต่อไป

Beachlover

January 18, 2024

ท้องทะเลชลบุรี กำลังกลายเป็น “เขตแห่งความตาย” ?

ที่มา: https://bbc.in/3rv4fKF ท้องทะเลชลบุรี กำลังกลายเป็น “เขตแห่งความตาย” ? ชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี แหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุง ที่ผู้คนเลือกเดินทางพักผ่อนช่วงวันหยุดยาว หรือสุดสัปดาห์ มาวันนี้ น้ำทะเลแปรเปลี่ยนเป็นสีเขียวมรกต มองผิวเผินอาจดูแปลกตา แต่เมื่อเข้าไปสำรวจใกล้ ๆ กวักน้ำขึ้นมามองให้ชัดขึ้น จะพบว่าน้ำทะเลให้ความรู้สึกเหนียวหนืด เต็มไปด้วยกลิ่นหญ้าและปลาตาย นี่คือปรากฏการณ์ “แพลงก์ตอนบลูม” หรือ “ขี้ปลาวาฬ” ที่มักเกิดทุกปี แต่ปีนี้เนิ่นน่านกว่าปกติ เพราะเกิดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค. ครอบคลุมผืนทะเลหาดบางแสน ลามไปถึงเกาะล้าน อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://bbc.in/3rv4fKF

Beachlover

September 21, 2023

เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณชายหาดบางแสน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๙ และ ๒๓-๒๕ กรกฎาคม ๒๕๖๔ จากกลุ่มไลน์ ชื่อ RT Bangsaen โดยสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ม.บูรพา อ.วิชญา กันบัว ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.บูรพา และข้อมูลความเข้มข้นของคลอโรฟิลล์ เอ จาก สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) ผลการสำรวจ พบการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans บริเวณแหลมแท่น มีความหนาแน่น ๒๖๐-๒๘๙,๕๐๐ เซลล์/ลิตร บริเวณหน้าศาลเจ้าพอแสน มีความหนาแน่น ๑,๗๘๐-๘,๕๐๐ เซลล์/ลิตร บริเวณวงเวียนบางแสน มีความหนาแน่น ๑,๔๔๐-๙๑,๐๐๐ เซลล์/ลิตร และบริเวณหาดวอนนภา มีความหนาแน่น ๘๔๐-๑,๓๕๘,๐๐๐ […]

Beachlover

July 29, 2021