ทยอยจัดวางประการังเทียมรูปโดม ทะเลปะทิวตามแผน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. ร่วมกับเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อ.ปะทิว ควบคุมงานจัดวางปะการังเทียมคอนกรีต รูปโดมในทะเล บริเวณพื้นที่ เกาะไข่ ต.สะพลี อ.ปะทิว จ.ชุมพร รวม ๒๖๘ แท่ง เสร็จเรียบร้อยแล้ว

Beachlover

April 23, 2021

เร่งจัดวางปะการังเทียมรูปโดม ฟื้นฟูทะเลเขาหลัก

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ควบคุมการจัดวางปะการังเทียมคอนกรีต แบบรูปโดม ในทะเลสำหรับจัดวางพื้นที่เขาหลัก ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยจัดวางแล้ว ๗๐๔ แท่ง คงเหลือ ๔๔๕ แท่ง จากจำนวนที่ต้องจัดวาง ๑,๑๔๙ แท่ง และคาดว่าจะสามารถจัดวางแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ นี้

Beachlover

March 13, 2021

ข้อห่วงกังวลจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ชิงโค สงขลา [26ก.พ.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/Beach-for-life สถาบันทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  ครั้งที่ 1 ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งโครงการดังกล่าวนี้ได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปีภายใต้แผนงานการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ(งบพัฒนา) โดยมีวัตถุประสงค์  1) เพื่อศึกษาวิจัยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการแก้ไขและป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ทั้งในห้องปฏิบัติการและทำการทดลองเชิงปฏิบัติในสถานที่  2) เพื่อพัฒนาโครงการบูรณะชายฝั่งจังหวัดสงขลา (Songkhla Model) เพื่อให้เป็นพื้นที่สาธิตและนำไปขยายผล  3) เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศ(GIS) เพื่อการบูรณะชายฝั่งทะเล จังหวัดสงขลา  4) เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการบูรณะชายฝั่งทะเลของจังหวัดสงขลา 5) เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของจังหวัดอื่นๆ ด้วย  โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มีลักษณะการดำเนินการ โดยการวางโดมทะเล ในพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตำบลชิงโค อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยทำการวางโดมทะเลห่างจากฝั่ง 500 เมตร และอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลต่ำสุด โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ วางห่างกันเป็นระยะทาง 100 เมตร ซึ่งแต่ละกลุ่มประกอบด้วยโดมจำนวน 19 กลุ่มย่อย ห่างกันตั้งแต่ 20-50 เมตร เพื่อลดพลังงานของคลื่นที่เข้ามาปะทะร้อยละ 52 โดยรูปแบบการจัดวางแต่ละกลุ่มแตกต่างกันขึ้นกับทิศทางของคลื่นที่วิ่งเข้ามาปะทะ การประชุมรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในโครงการนี้  Beach for life มีข้อสังเกตและข้อห่วงกังวลหลายประการต่อการดำเนินโครงการนี้  1. Beach for life มีความเห็นว่า โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์นั้น มีลักษณะ/รูปแบบโครงการเป็นการดำเนินการวางโดมทะเลใต้นำ เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งโดมทะเลดังกล่าวนั้นมีหน้าที่เพื่อสลายพลังงานคลื่นที่เข้ามาปะทะ จึงถือได้ว่าโดมทะเลนั้น เป็นโครงสร้างเขื่อนกันคลื่น หรือ Breakwater ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกำหนดให้โครงสร้างเขื่อนกันคลื่นทุกขนาด […]

Beachlover

March 4, 2020