ติดตามสถานภาพแนวชายฝั่ง สุดปลายด้ามขวานทะเลอ่าวไทย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ เก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่งพื้นที่หาดเสด็จ ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อยู่ในระบบหาดเขาตันหยง-ตากใบ ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบลากูน (lagoon) ด้านหลังชายฝั่งและหรือสันดอนทรายพบว่ามีสภาพป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ เขื่อนกันทรายและคลื่น (Jetty) แม่น้ำโกลก (ซึ่งอยู่ฝั่งเขตประเทศไทย ๑ ตัว และฝั่งเขตประเทศมาเลเซีย ๑ ตัว) รอดักทราย (Groin) และเขื่อนหินทิ้ง (revetment) ซึ่งไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว

Beachlover

January 21, 2022

แนวชายฝั่งอ่าวไทยชายแดนใต้ คงสภาพไม่พบการเปลี่ยนแปลง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ และเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งอยู่ในระบบหาดเขาตันหยง-ตากใบ ความยาวชายฝั่งประมาณ ๓๓ กม. ผลการสำรวจพบว่า มีลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานแบบลากูน (lagoon) มีสภาพป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งรูปแบบรอดักทราย ๓๐ ตัว​ เขื่อนหินทิ้ง​ ความยาวประมาณ ๘๐๐​ ​เมตร และเขื่อนกันทรายและคลื่น ๓ ปากร่องน้ำ ได้แก่ ปากร่องน้ำโกลก ปากร่องน้ำตากใบ และปากร่องน้ำแบ่ง พบลักษณะการสะสมตัวด้านใต้และกัดเซาะด้านเหนือของรอดักทราย​ และเขื่อนกันทรายและคลื่นทุกตัว แต่ปัจจุบันการกัดเซาะเริ่มเข้าสู้สมดุลไม่มีการกัดเซาะเพิ่มเติม และจากการสอบถามข้อมูลชาวบ้านพบว่ากำลังจะมีโครงการปรับปรุงเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำโก-ลก โดยกรมชลประทาน ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

Beachlover

January 27, 2021

คดีประวัติศาสตร์ “หาดกัดเพราะรัฐสร้าง” คาบสมุทรตากใบ นราธิวาส

ริมชายฝั่งบริเวณนี้ถูกกัดเซาะไปแล้วกว่า 18 ไร่ หลังการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตลอดแนวกว่า 20 กิโลเมตรบนคาบสมุทรตากใบ โดยกรมชลประทาน ชัยชนะจากการต่อสู้โดยลำพังของผู้หญิงคนนึงมาตลอดเกือบ 20 ปี ด้วยความเชื่ออย่างสุดใจว่า “ความจริงจะชนะทุกสิ่งแม้แต่ผู้ถืออำนาจรัฐ” จะถูกส่งต่อเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับนัก (อยาก) สู้ ทุกคน โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโกลก เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทยกับกระทรวงเกษตรแห่งมาเลเซียที่ตกลงความร่วมมือกันเมื่อ กุมภาพันธ์ 2522 โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้ส่งคณะที่ปรึกษาคือ บริษัท Snowy Mountain Engineering Corporation Limited (SMEC, https://www.smec.com/en_au) และ Mc Gowan International Pty Ltd. (MGI) มาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการในช่วงกันยายน 2526-กันยายน 2528 โดยองค์ประกอบของโครงการนั้นมีหลายส่วน มีระยะเวลาก่อสร้างตามแผนในปีงบประมาณ 2538-2548 แต่ส่วนที่สำคัญอันเป็นเหตุแห่งคดีนี้คือ การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำโกลก (Jetty, https://beachlover.net/wp-content/uploads/2019/07/Jetty.pdf) และ รอดักทราย (Groin, https://beachlover.net/wp-content/uploads/2019/07/Groin.pdf) เรื่อยมาทางทิศเหนือตลอดแนวกว่า 20 กิโลเมตร บนคาบสมุทรตากใบ เหตุแห่งการสร้างรอดักทรายตลอดแนวกว่า […]

Beachlover

October 30, 2020

คำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุด คดีตากใบ [กุมภาพันธ์ 2563]

Click ที่ Download จะนำไปสู่ PDF file คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีพิพาทน้ำกัดเซาะชายฝั่ง ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ระหว่างประชาชนกับกรมชลประทานและกรมเจ้าท่า

Beachlover

September 21, 2020