สำรวจงานเติมทรายหาดจอมเทียน มิ.ย.2567

ที่ผ่านมา Beach Lover ได้พาสำรวจชายหาดจอมเทียนทั้งก่อนและหลังการเติมทรายมาแล้วหลายรอบ เช่น https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเทียน-อีกครั้ง/ , https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเ/, https://beachlover.net/ส่องงานเติมทรายชายหาดจ/ รวมถึงสืบค้นได้จาก Icon search คำว่า “จอมเทียน” Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจหาดจอมเทียนอีกครั้งในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2567 ตลอดทั้งแนว ทั้งนี้ไม่แน่ใจเลยว่า งานเติมทรายของชายหาดนี้ที่ดำเนินการโดยกรมเจ้าท่านั้นเสร็จสิ้นตลอดทุกเฟสทั้งแนวชายฝั่งหรือยัง เนื่องจากไม่เห็นรั้วเพื่อปิดพื้นที่ก่อสร้างอีกแล้ว แต่ยังพบเรือขุดและพ่นทรายจอดอยู่นอกชายฝั่ง เมื่อเดินเท้าสำรวจชายหาดตั้งแต่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตั้งแต่หาดยินยอม หาดดงตาล เรื่องลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหาดจอมเทียนจนเข้าเขตพื้นที่นาจอมเทียนถึงร้านอาหารลุงไสว ที่เป็นเขตสิ้นสุดงานก่อสร้าง มีสภาพชายหาดดังรูป พบว่า มีการทำทางขึ้นลงบันได และป้ายชื่อหาด เพิ่มเติมจากครั้งก่อนที่ Beach Lover ได้ลงมาสำรวจ พบว่าชายหาดจอมเทียนที่ถูกเติมทรายในระยะแรกๆยังมีสภาพไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก ชายหาดยังคงกว้างประมาณ 40-50 เมตร โดยพบว่าการตัด Slope ชายหาดเป็นสองระดับตามที่ได้ก่อสร้างไว้นั้นหายไปจนหมด หาดทรายกลืนกันเป็น Slope เดียวไม่ต่างจากหาดพัทยา ที่ Beach Lover พาสำรวจในช่วงเวลาใกล้ๆกัน (https://beachlover.net/pataya-after-sunset/)

Beachlover

June 16, 2024

หาดพัทยา (ยามใกล้ค่ำ)…ยังสบายดี ?

Beach Lover เคยพาสำรวจหาดพัทยามาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ช่วงเริ่มเติมทรายใหม่ๆจนถึงปัจจุบัน หาอ่านเพิ่มเติมได้จากโพสเก่าๆ โดยค้นหาจาก Search Icon มุมขวาของ Web ครั้งนี้ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2567 Beach Lover ได้กลับมาสำรวจการใช้ประโยชน์ชายหาดแห่งนี้อีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกได้ไม่นาน ในวันธรรมดาที่อากาศดีมากๆไม่ร้อน และไม่มีฝน จากการเดินเท้าสำรวจตั้งแต่หาดพัทยาเหนือ (วงเวียนปลาโลมา) ลงไปถึงพัทยากลาง (Central) พบผู้ใช้ชายหาดที่ส่วนมากมากันเป็นกลุ่ม นำเสื่อมาปู นำอาหารเครื่องดื่มมารับประทานกันบนหาดทราย มีการนำเก้าอี้สนามและโต๊ะแบบพับได้มาวางบนชายหาด บ้างก็มานั่งเล่นดูตะวันตกดิน มีการลงเล่นน้ำค่อนข้างน้อย อาจเป็นเพราะเมื่อพระอาทิตย์ลาขอบฟ้า ฟ้าก็เริ่มมืดและดูจะไม่ค่อยปลอดภัยหากลงเล่นน้ำทะเล พ่อค้าแม่ค้า นำอาหารเครื่องดื่มเดินตระเวนขายไปตามจุดที่มีนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ หวังว่าจะมีอะไรขาดเหลือให้พอได้ขายของที่แบกมาทั้งวันได้บ้าง เท่าที่สังเกตด้วยสายตาพอประมาณได้ว่า ชายหาดพัทยายามนี้น่าจะมีความกว้างประมาณ 60-70 เมตรเลยทีเดียว จากข้อมูลที่กรมเจ้าท่าเคยระบุไว้ในช่วงเริ่มต้นโครงการว่าจะเติมทรายให้หาดมีความกว้างประมาณ 35 เมตร แล้วตัด Slope ลาดลงทะเล แต่เอาเข้าจริงๆหลังโครงการแล้วเสร็จพบว่ามีการเติมทรายมากกว่าที่ระบุไว้ในตอนต้นมาก จากการสำรวจไม่พบระดับของชายหาดที่แตกต่างกันตามที่กรมเจ้าท่าได้ทำการตัด slope เดิมไว้เป็นสองระดับ (ดูจากรูปด้านบน) โดยพบว่าชายหาดกลืนกันเป็น slope เดียวกันหมดแล้ว เมืองพัทยาได้เปิดไฟส่องสว่างกำลังค่อนข้างแรงริมชายหาดอย่างเพียงพอในระดับที่สามารถเห็นหาดทราย เห็นน้ำทะเล ได้อย่างชัดเจนตลอดทั้งชายหาด จนทำให้ผู้มาเยี่ยมเยือนนั่งกันอยู่บนชายหาดได้จนถึงค่ำมืดดึกดื่นได้เลย […]

Beachlover

June 8, 2024

น้ำท่วมหาดพัทยา อีกแล้ว !

ที่มา: Facebook page: PattayaWatchDog ชายหาดพัทยา เวลาฝนตกหนัก มวลน้ำไหลบ่ากัดเซาะชายหาดบางจุดกว้างเป็นเมตรๆ แต่เมืองพัทยาใช้งบประมาณ 100 ล้านบาท วางท่อระบายน้ำขนาด 60 เซนติเมตร หวังรับน้ำฝน สุดท้ายน้ำกัดเซาะชายหาดเหมือนเดิม แยกมุมอร่อย งบทำบ่อสูบน้ำ 100 กว่าล้านบาทขุดถนนเป็นปีๆ เมืองพัทยารู้ว่า มวลน้ำจากซอย 5 ธันวา ไหลแรง 7 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แต่ตั้งเครื่องสูบน้ำ 3 ตัวที่บ่อสูบน้ำสุขุมวิท ซอย 5 ธันวา รับมวลน้ำได้ 1 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ปล่อยน้ำอีก 6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ไหลไปรวมที่แยกมุมอร่อยสายสาม ซึ่งมีบ่อสูบน้ำ มีเครื่องสูบน้ำ 2 ตัว รับมวลน้ำได้ 0.52 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จึงมีมวลน้ำเหลือ 5.48 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ท่วมขังบนถนน

Beachlover

October 24, 2023

หาดพัทยาพัง! รอบที่เท่าไหร่แล้ว?

ที่มา: https://web.facebook.com/STVPattaya เรื่องมันจบยาก…ฝนตกทุกครั้ง ชายหาดพัทยาพังทุกเที่ยว ชาวบ้านถามหาแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่ดีแต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาน้ำท่วมขัง นอกจากจะเป็นปัญหาผูกขาดที่อยู่คู่กับเมืองพัทยามาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าแก้ไขไม่เด็ดขาด เบ็ดเสร็จเสียที ทั้งที่ผ่านมาแม้ว่าเมืองพัทยาจะมีการตั้งงบประมาณและโครงการต่างๆเพื่อรองรับแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง หลายรอบ หลายยุคสมัย หลายสมัยการปกครอง หมดงบประมาณไปหลายร้อยล้านบาท ทั้งโครงการแก้น้ำท่วมบนถนนสุขุมวิทซึ่งเป็นสายหลัก ตลาดนาเกลือ หนองใหญ่ ถนนเลียบทางรถไฟ เขาตาโล เขาน้อย ซอยบัวขาว ถนนพัทยาสาย 3 หรือแม้แต่ถนนพัทยาสายเลียบชายหาด และที่เด่นชัดที่สร้างภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อการท่องเที่ยว คือการระบายน้ำฝนที่ปะปนกับน้ำเสียลงสู่ทะเล รวมและปริมาณน้ำที่หลาลงบนชายหาดพัทยา ที่กรมเจ้าท่าเป็นเจ้าภาพในการทุ่มงบประมาณ 400 กว่าล้านบาทในการเสริมทรายในระยะ 50 เมตรจากแนวฟุตบาทเพื่อเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ด้วยพบว่ามีนัยยะของการกัดเซาะอย่างรุนแรง แต่ทุกครั้งตามข้อตกลงก่อนดำเนินการที่เมืองพัทยาตบปากรับคำว่าจะจัดทำระบบดักน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำพัดทรายไหลลงสู่ทะเล แต่ท้ายที่สุดเมื่อมีพายุฝนตกต่อเนื่องลงครั้งใด เมืองพัทยาก็ต้องประสบพบเจอกับปัญหาท่วมขังซ้ำซากแบบนี้ทุกครั้ง แม้จะตอบได้ว่าปัจจุบันมีการระบายน้ำที่รวดเร็วขึ้นก็ตาม โดทุกครั้งมัก จะมีเหตุผลที่วาเมืองพัทยาอยู่ในพื้นที่ต่ำที่ต้องรองรับมวลน้ำจากเทศบาลข้างเคียงที่มีพื้นที่สูงกว่าถึง 60 เมตร ในขณะที่ท่อระบายน้ำเดิมของเมืองพัทยาที่ใช้กันมาแต่อดีตรวมระยะทางนับพันกิโลเมตรนั้นมีขนาดความกว้างไม่เกิน 60-800 ม.ม.เท่านั้น ส่วนโครงการที่จัดทำไปก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เป็นการจัดทำเพื่อให้มีการระบายน้ำที่รวดเร็วมากขึ้นและลดความเสียต่อทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวให้น้อยที่สุด โดยขณะที่กำลังรอแผนแม่บทของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่รัฐบาลมอบหมายจะให้เข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในงบประมาณนับหมื่นล้านบาท ซึ่งยังคงตอบไม่ได้ว่าจะดำเนินการเมื่อใด ปัจจุบันสิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็การใช้งบประมาณในการนำกำลังคนและเครื่องจักรลงพื้นที่ชายหาดพัทยาเพื่อเกลี่ยทรายให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อเกิดปัญหาน้ำหลากครั้งใด ก็จะมีภาพความเสียหายต่อชายหาดเกิดขึ้นเมื่อนั้น กรณีนี้มีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานักท่องเที่ยวออกไปทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่ปัจจุบันเมืองพัทยาได้ถูกวางให้เป็นศูนย์กลางของ […]

Beachlover

October 11, 2022

หาดพังรับฝนหนัก (อีกแล้ว)!

ที่มา: https://www.facebook.com/PattayaWatchdog หาดพังเหมือนทุกครั้ง ชายหาดพัทยา เมื่อเช้านี้ (12 ก.ย.2565) เมืองพัทยา ไม่เคยแก้ไขปัญหา น้ำฝนปนน้ำเสียกัดเซาะทรายชายหาด วางท่อระบายน้ำไป 100 ล้านบาท เกิดประโยชน์หรือไม่ นี่จะปรับปรุงภูมิทัศน์ อีก 160 ล้านบาท เริ่มตัดต้นไม้อีกแล้ว ยั่งยืนหรือย่อยยับ?

Beachlover

September 12, 2022

ส่องงานเติมทรายชายหาดจอมเทียนกันอีกรอบ

ที่ผ่านมา Beach Lover ได้พาสำรวจชายหาดจอมเทียนทั้งก่อนและหลังการเติมทรายมาแล้วหลายรอบ เช่น https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเทียน-อีกครั้ง/ รวมถึงสืบค้นได้จาก Icon search คำว่า “จอมเทียน” มาวันที่งานเติมทรายยังคงเดินหน้า บนชายหาดจอมเทียนส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของเมืองพัทยา (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหาด) Beach Lover ขอพาชมการเติมทรายชายหาดจอมเทียนมุมสูงกันอีกครั้ง จากภาพจะพบว่า งานเติมทรายของกรมเจ้าท่าคืบหน้าไปพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับการลงสำรวจพื้นที่เดียวกันเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา (ค้นหาจากโพสเก่าๆ) โดยสามารถเห็นความแตกต่างของความกว้างชายหาดส่วนที่เติมและยังไม่เติมทรายได้อย่างชัดเจน กรมเจ้าท่าได้ทำการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้าใช้ประโยชน์ในส่วนที่แล้วเสร็จ และปิดพื้นที่เพื่องานก่อสร้างทีละ Step โดยครั้งนี้ไม่พบเรือดูดทราย และเรือพ่นทราย ที่เคยมาจอดอยู่นอกชายฝั่งเหมือนทุกครั้ง ไม่แน่ใจว่าด้วยสาเหตุใด พบเพียงเครื่องจักรกำลังทำงานบนชายหาดเท่านั้น จากการเดินสำรวจพบประชาชนเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เติมทรายแล้วเสร็จตามปกติแล้ว แม้ยามพระอาทิตย์ลับขอบฟ้ายามค่ำคืนก็ยังมีการใช้พื้นที่เพื่อนั่งกินดื่ม รับลม เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ Beach Lover จะพยายามลงสำรวจพื้นที่นี้ให้บ่อยครั้ง เพื่อนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังถึงโครงการเติมทรายชายหาดที่ยาวและใช้งบประมาณสูงที่สุดในประเทศไทย …. โปรดติดตาม

Beachlover

September 6, 2022

หัวหาด Elastocoast หาดพัทยา

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/) Beach Lover เคยพาชมโครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดชะอำ บริเวณทิศใต้ติดกับหน้าชายหาดของโรงแรม Vala โรงแรมระดับ Small Luxury Hotels ในเครือ The Regent Cha Am (https://beachlover.net/พาชมโครงสร้าง-elastocoast-ชะอำ/) และ กำแพงกันคลื่นแบบ Elastocoast ณ หาดกระทิงลาย จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/elastocoast-หาดกระทิงลาย-ยังสบายดี/) ซึ่งเป็นสองพื้นที่ที่ใช้ Elastocoast เพื่อป้องกันชายฝั่ง วันนี้ของพาชมโครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดพัทยาเหนือ จ.ชลบุรี หรือที่คนมักเรียกว่าโค้งดุสิต ซึ่งหมายถึงชายหาดสาธารณะที่ติดกับโรงแรมดุสิตธานี พัทยาเหนือ ที่ได้สร้างพร้อมกับงานเติมทรายชายหาดพัทยาแล้วเสร็จไปเมื่อ กุมภาพันธ์ 2562 ด้วยงบประมาณรวม 420 ล้านบาท โดยหัวหาดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อล็อคทรายที่เติมไม่ให้ไหลออกจากระบบรวดเร็วนัก เมื่อครั้งที่ Beach […]

Beachlover

September 1, 2022

งานเติมทรายชายหาด อยู่ตรงไหนกันบ้าง

สำหรับประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงใช้มาตรการป้องกันชายฝั่งที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อรับมือกับการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ กำแพงกันคลื่น เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย และการเติมทรายชายหาด โดยที่ชายหาดท่องเที่ยวนั้น มาตรการเติมทรายชายหาดกำลังถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นการเพิ่มพื้นที่ ชายหาด ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทางเศรษฐกิจของชายหาด ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่ส่งผลกระทบทางลบต่อเนื่องไปยังพื้นที่ข้างเคียงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับมาตรการที่ใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อป้องกันชายฝั่งประเภทอื่น การเติมทรายชายหาด มีประโยชน์หลักที่เห็นเด่นชัดคือเพิ่มพื้นที่สาธารณะประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างเกราะป้องกันชายฝั่ง นอกจากนั้นยังมีผลประโยชน์แฝงอื่นเช่น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ เสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ริมชายหาด ลดการสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง เพิ่มศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ชายหาด เสริมสร้างสุขภาพกายใจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นวิธีการที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลในอนาคต ดังจะเห็นได้ว่าประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวทางทะเลและมีมูลค่าของหาดทรายสูง แม้ต้องเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแต่มักหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่ง เช่น  หาดไวกิกิในฮาวาย หาดไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หาดแคนคูนประเทศเม็กซิโก โดยวิธีการหนึ่งที่นิยมนำมาปรับใช้กับชายหาดเหล่านี้คือมาตรการเติมทรายชายหาด (https://beachlover.net/การเติมทรายชายหาด/)  ในส่วนของประเทศไทยนั้นหาดจอมเทียม จ.ชลบุรี ก็เผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเช่นกัน โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการเติมทรายเช่นเดียวกันกับที่สำเร็จลุล่วงไปแล้วคือชายหาดพัทยา จ.ชลบุรี โดยพบว่าเมื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย B/C ratio แล้วมีค่า 3.32 บาท ซึ่งถือว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง  ปัจจุบันในประเทศไทยมีโครงการเติมทรายชายหาดที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเพียง 1 โครงการ ณ หาดพัทยา จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/หาดพัทยา-น่าเที่ยวแค่ไหน/) และมีที่กำลังดำเนินการอยู่ที่หาดจอมเทียน จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเทียน-อีกครั้ง/) และหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา (https://beachlover.net/หาดชลาทัศน์-ยามนี้-ยังสบ/) ทั้ง 3 โครงการนี้ เมื่อประเมินมูลค่าของการเติมทรายจากค่าเฉลี่ยต่อลูกบาศก์เมตรของการเติมทรายจากทั้ง 3 โครงการ พบว่ามีมูลค่าเฉลี่ย 803.108 บาท/ลบ.ม. ซึ่งได้รวมทั้งค่า ขุด […]

Beachlover

August 24, 2022

หาดบางละมุง กำลังจะมีกำแพง ?!?

หาดบางละมุง เป็นพื้นที่ชายหาดส่วนถัดไปทางทิศใต้ของท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งเป็นที่อยู่อาศัย โรงแรม ร้านอาหาร และชุมชนประมง หาดทรายบริเวณนี้มีความยาวต่อเนื่องเป็นทรงโค้งด้วยระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 10 กิโลเมตร จากท่าเทียบเรือแหลมฉบังถึงสะพานปลานาเกลือ พื้นที่แถบกลางอ่าวระยะทาง 2.3 กิโลเมตร ประสบปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งจนเป็นเหตุให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาแก้ไขปัญหา และนำมาซึ่งมาตรการต่างๆที่ได้นำมาเสนอประชาชนในพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบและร่วมกันแสดงความคิดเห็น หน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นรวม 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 โดยได้นำรูปแบบที่คาดว่าจะเกิดผลดีต่อชายหาดบริเวณนี้มานำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยโครงการในพื้นที่นี้อันที่จริงแล้วเป็นหนึ่งใน “โครงการศึกษาเพื่อกําหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2” มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบรายละเอียดของพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างน้อย 4 พื้นที่ โดยพื้นที่ชายหาดที่นี้คือหนึ่งใน 4 ของพื้นที่ที่หน่วยงานจะนำไปออกแบบรายละเอียดเพื่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อไป โดยรูปแบบที่นำมาเสนอเพื่อให้แสดงความคิดเห็นครั้งล่าสุดในเดือนสิงหาคมคือการสร้าง “กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงและการเติมทราย” Beach Lover ได้ทำการสำรวจภาพมุมสูงภายในพื้นที่โครงการตลอดแนวชายฝั่งประมาณ 2.3 กิโลเมตร ในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 พบว่ามีโครงสร้างริมชายหาดเสียหายจากคลื่นมรสุม มีกำแพงกันคลื่นของเอกชนที่ส่วนมากยังคงมีสภาพดี มีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของเอกชน และยังคงมีพื้นที่บางส่วนที่ยังไม่มีโครงสร้างป้องกัน ดังรูป จากการสอบถามชาวประมงได้ความว่า พื้นที่แถบนี้จะประสบกับปัญหาน้ำทะเลยกตัวสูงและคลื่นลมแรงจนส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายหาดเฉพาะช่วงมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปีเท่านั้น และไม่ได้เกิดขึ้นทุกวัน อย่างเช่นในวันที่ […]

Beachlover

August 24, 2022
1 2 3