สำรวจการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งหาดเจ้าหลาว

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจสถานภาพชายฝั่ง ชายหาดหาดเจ้าหลาว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ซึ่งอยู่ในระบบหาดหาดเจ้าหลาว (T1H022) ตามแนวชายฝั่งประมาณ ๑๒.๓ กม. และสำรวจสัณฐานชายหาดโดยใช้เทคนิคการรังวัดด้วยโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) และเทคนิคการสำรวจด้วยการถ่ายภาพมุมสูงโดยอาศัยอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งการสำรวจและศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจ ติดตาม และศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ซึ่งเป็นผลกระทบจากโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งประเภทกำแพงป้องกันคลื่นริมชายฝั่ง กรณีศึกษา พื้นที่หาดแหลมเสด็จ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

Beachlover

September 19, 2021

ศึกษาความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งหาดแหลมเสด็จ หาดเจ้าหลาว

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจชายฝั่งบริเวณหาดเจ้าหลาว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ตามโครงการศึกษาความอ่อนไหวเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่นำร่อง กรณีศึกษาบริเวณพื้นที่ชายหาดหาดแหลมเสด็จ หาดเจ้าหลาว จ.จันทบุรี ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะธรณีสัณฐานเป็นหาดยาวตรง (Long beach) ชายฝั่งวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะทางกายภาพเป็นหาดทรายและหาดหิน (พบที่บริเวณหัวหาด) ตะกอนทรายที่พบมีสีน้ำตาลอ่อน ประกอบด้วยตะกอนทรายขนาดละเอียด-หยาบ เศษหิน เศษซากเปลือกหอย การคัดขนาดดี และสำรวจรังวัดสัณฐานชายหาด ๒๗ แนว จากทั้งหมดรวม ๕๔ แนว

Beachlover

May 31, 2021

ความพยายามที่ไม่น่าจะ Work ของรีสอร์ทริมทะเลเจ้าหลาว จันทบุรี

[ภาพเมื่อ ก.ค.2563] รีสอร์ทแห่งนี้อยู่ถัดจากหาดแหลมเสด็จมาทางทิศตะวันออก เป็นรอยต่อระหว่างหาดคุ้งกระเบนกับหาดเจ้าหลาว จ.จันทบุรี รีสอร์ทนี้ใช้การวางกระสอบทรายสามถึงสี่ชั้นซ้อนกันแล้วคลุมด้วยตาข่ายสีดำ ที่ปกติแล้วใช้บังร่มเงาเพื่อปลูกต้นไม้บ้าง เพื่อกันเขตพื้นที่บ้าง แล้วนำทรายมาถมและเกลี่ยด้านบนให้พื้นเสมอกัน เพื่อรองรับการปูแผ่นคอนกรีตที่ใช้เป็นทางเดินริมหาด ทางเชื่อมศาลา และที่สำหรับวางม้านั่งริมชายหาด โดยไม่มีการยึดกันอย่างถาวรของวัสดุต่างๆที่ว่ามา จากที่สังเกตพบว่าเพิ่งสร้างเสร็จไม่นาน ยังไม่มีร่องรอยความเสียหายใดๆยกเว้นตาข่ายสีดำที่ขาดไปแล้วในบางตำแหน่ง ไม่แน่ใจวัตถุประสงค์ของการสร้าง ว่าเพื่อยกระดับพื้นที่ด้านหน้าโรงแรมให้สูงกว่าชายหาดเพื่อวางศาลาริมหาด หรือเพื่อป้องกันชายฝั่งยามมรสุม รวมถึงไม่แน่ใจด้วยว่าต้องการสร้างแบบชั่วคราวหรือชั่วโคตร แต่การสร้างโครงสร้างแบบนี้ริมทะเลไม่อาจรองรับความรุนแรงของคลื่นได้หากคลื่นวิ่งมาปะทะโครงสร้างโดยตรง จะยิ่งส่งผลเสียต่อทัศนียภาพด้านหน้าหาดของโรงแรม จากที่สังเกตด้วยตาชายหาดบริเวณนี้มีความกว้างมากกว่า 150 เมตร ยามน้ำลงช่วงปลอดมรสุม เป็นไปได้ว่าตลอดระยะเวลาหนึ่งปี อาจมีคลื่นวิ่งมาปะทะเพียงไม่กี่ครั้ง แม้กระนั้นก็ตาม เพียงไม่กี่ครั้งที่คลื่นวิ่งมาปะทะกระสอบทรายนี้ อาจส่งผลเสียหายจนต้องสิ้นเปลืองเงินในการบำรุงรักษากันต่อเนื่องทุกปี หากรีสอร์ทเพียงต้องการพื้นที่สำหรับวางศาลาริมทะเลและม้านั่งริมชายหาด ควรวางมันลงไปบนชายหาดเดิมจะเป็นวิธีการที่ดีที่สุด และเคลื่อนย้ายมาวางในที่ปลอดภัยยามน้ำทะเลขึ้นสูงและคลื่นวิ่งเข้ามาปะทะด้านหน้าหาดของโรงแรม ดีกว่าต้องสิ้นเปลืองงบประมาณเพื่อการสร้างสิ่งแปลกปลอมบนชายหาด ที่อาจนำพาความเสียหายตามมาให้เจ้าของรีสอร์ทต้องปวดหัวเป็นระยะๆ

Beachlover

August 4, 2020