คลื่นลมแรงชายฝั่งเกาะลันตา

ที่มา: https://www.facebook.com/DDPMNews วันที่ 1 ก.ค.66 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.กระบี่ รายงาน เมื่อเวลาประมาณ 03.00-15.00 น. เกิดฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรงในพื้นที่อำเภอเกาะลันตา มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 4 ตำบล 8 หมู่บ้าน ดังนี้ – ตำบลเกาะกลาง ม.4 บ้านคลองย่าหนัด ต้นไม้ล้มทับทางหลวงแผ่นดินสาย 4026 ท้องที่ ท้องถิ่น อบต.เกาะกลาง ตร.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขแล้ว – ตำบลเกาะลันตาน้อย ม.1 บ้านหลังสอด ต้นไม้ล้มทับทาง สมาชิก อส. อบต.เกาะลันตาน้อย ดำเนินการแก้ไขแล้ว – ตำบลศาลาด่าน ม.1 บ้านศาลาด่าน ม.3 บ้านโล๊ะบาหรา ต้นไม้ล้มทับทางสาธารณะ และบ้านเรือนราษฎร 1 หลัง ทต.ศาลาด่าน ท้องที่ ตร. กฟภ.เกาะลันตา ดำเนินการแก้ไขแล้ว – […]

Beachlover

July 2, 2023

พาชมกำแพงกันคลื่นริมชายหาดคอกวาง @ เกาะลันตา

ชายหาดคอกวาง คือชายหาดส่วนหัวเกาะลันตาใหญ่ทางทิศเหนือฝั่งตะวันออก มีโรงแรม ร้านอาหาร และที่ดินที่ยังเป็นแปลงว่างรอการพัฒนาตลอดทั้งแนว ด้านนอกชายฝั่งยามน้ำลงสามารถเดินไปที่เกาะเล็กๆที่อยู่นอกชายฝั่งได้ ทัศนียภาพสวยงาม ทรายสีไม่ขาวนักแต่มีความละเอียดสูง กำแพงกันคลื่นที่ Beach Lover พาชมในครั้งนี้อยู่ปลายเหนือสุดของชายหาดติดกับคลองลัด ด้านในกำแพงเป็นที่มีเอกสารสิทธิ์แต่ยังไม่มีการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ น่าจะเป็นเจ้าของที่ดินที่สร้างกำแพงนี้แบบแนวดิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันที่ดินตนเอง จากสภาพพบว่า พื้นที่ด้านในริมกำแพงเสียหายทรุดตัวแล้วตลอดทั้งแนว ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากเมื่อคลื่นปะทะกำแพงจะเกิดคลื่นสะท้อนกลับโดยจากตะกุยเอาทรายหน้ากำแพงไปด้วย ส่งผลให้ด้านหน้ากำแพงตัดลึกชันขึ้นจนทรายด้านหน้ากำแพงหายไปในระดับที่ถึงฐานกำแพง จากนั้นดินทรายด้านในกำแพงจะไหลออกผ่านช่องว่างนี้ อีกทั้งคลื่นที่เข้าปะทะและข้ามสันกำแพง ยิ่งเร่งให้เกิดความเสียหายพื้นที่ด้านในมากยิ่งขั้นอีก กำแพงแนวดิ่งมักเกิดผลกระทบเช่นนี้ซ้ำๆในหลายพื้นที่ (สืบค้นได้จากข้อมูลเก่าในเวบนี้) หน่วยงานที่รับผิดชอบรวมถึงเอกชนเจ้าของพื้นที่ควรเร่งทำความเข้าใจว่าหากจำเป็นต้องสร้างกำแพงป้องกันชายฝั่ง ควรหลีกเลี่ยงการสร้างกำแพงแนวดิ่งตั้งตรงแบบนี้กันเสียที

Beachlover

December 21, 2021

พาชมเกาะนุ้ยนอก เกาะร้อยล้านแห่งเมืองกระบี่

เรื่องราวของเกาะนุ้ยนอก เกาะขนาดเล็กนอกชายฝั่งตะวันออกของเกาะลันตา จ.กระบี่ ได้เป็นที่รู้จักกันในช่วงปลายเดือนตุลาคมจากการออกโฉนดและซื้อขายกันแบบผิดปกติ ติดตามอ่านความเป็นมาและเรื่องราวนี้ได้เพิ่มเติมจาก https://www.thairath.co.th/news/local/south/2257726 และ https://www.thairath.co.th/news/local/south/2262342 Beach Lover ได้มีโอกาสลงพื้นที่สำรวจสภาพของเกาะเล็กๆที่มีขนาดประมาณ 5 ไร่ นี้ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 พบว่า ชายฝั่งรอบๆเกาะเป็นหินเสียส่วนใหญ่ มีหาดทรายเล็กๆอยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะ พบว่าเม็ดทรายบนชายหาดมีขนาดใหญ่และมีเศษเปลือกหอยปะปนเป็นจำนวนมาก เมื่อสำรวจรอบๆพบหมุดหลักเขตที่ดินวางพิงต้นไม้อยู่มีสภาพตามรูป จากชายหาดซึ่งเป็นพื้นที่ราบ เมื่อพยายามเดินขึ้นไปยังด้านในพบว่ามีความลาดชันมากกว่า 45 องศาเป็นส่วนใหญ่ มีต้นไม้ขึ้นรก และเนื่องจากฝนเพิ่งหยุดตก พื้นดินที่ลาดชันจึงลื่นและยากต่อการปีนป่าย

Beachlover

December 12, 2021

กำแพงกันคลื่น หาดพระแอะ เกาะลันตาใหญ่

สวนสาธารณะหาดพระแอะ ตั้งอยู่ในหมู่ 3 บ้านโล๊ะบาหรา ต.ศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ที่ผ่านมาได้มีรายงานผ่านสื่อเพียงข่าวเดียวในปี 2557 ว่าหาดพระแอะถูกกัดเซาะจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ตามข่าว https://www.thairath.co.th/content/436650 Beach Lover ลงพื้นที่ชายหาดพระแอะพบว่ามีการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตามคำร้องขอจาก อบต.ศาลาด่าน เมื่อกันยายน 2558 โดยมีการลงนามสัญญาจ้างเมื่อ มีนาคม 2561 โครงการป้องกันชายฝั่งบริเวณนี้เป็นรูปแบบกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดระยะทาง 260 เมตร และมีบางส่วนเลี้ยวเข้าไปในคลองพระแอะอีก 100 เมตร เป็นรูปแบบเขื่อนหินใหญ่เรียงเพื่อป้องกันตลิ่งริมคลอง โดยรูปแบบของกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดนี้ คล้ายกับหลายๆแห่งที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการผ่านมาแล้วและที่ยังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เช่น https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ณ-แหลมงู-เกาะลันตาน้อย/ และ https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/ และ https://beachlover.net/หาดขั้นบันได-ชะอำ/ จากการสำรวจภาคสนามพบว่ากำแพงกันคลื่นที่สร้างโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัดเฉลิมการก่อสร้าง เมื่อปี 2563 ด้วยงบประมาณ 45.756 ล้านบาท ยังอยู่ในสภาพดี โดยพบว่ามีทรายด้านหน้าหาดถูกหอบขึ้นมาถึงบันไดขั้นที่สี่จากด้านบน แต่พบความเสียหายของทางลาดลงทะเลบางส่วน

Beachlover

October 21, 2020

กำแพงกันคลื่น ณ แหลมงู เกาะลันตาน้อย

ฝั่งตะวันออกของเกาะลันตาน้อย ในเขตหมู่ 3 เป็นที่ตั้งของแหลมงู ซึ่งมีลักษณะเป็นแหลมขนาดเล็กยื่นลงไปในทะเล มีถนนหมายเลข กบ.5035 ตัดเลาะริมชายฝั่ง ฝั่งหนึ่งของพื้นที่มีบ้านชาวประมง 4-5 หลังคาเรือน ปลูกสร้างอยู่ในทะเล สภาพพื้นที่โดยรวมรอบๆเป็นหาดทรายปนโคลนและป่าชายเลน การใช้ประโยชน์บริเวณชายฝั่งส่วนใหญ่เป็น การใช้ประโยชน์สําหรับจอดเรือประมง การนําผลผลิตสัตว์น้ําที่จับได้ขึ้นฝั่ง และการชักลากเรือขึ้นจอดบนหาดเพื่อซ่อมแซมเป็นคร้ังคราว ส่วนการใช้ประโยชน์ด้านในชายฝั่งซึ่งอยู่ถัดจากแนวถนนสาย กบ.5035 พบว่า เป็น พื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าหลังสอดและป่าควนบากันเกาะ (เอกสารสรุปโครงการฯโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง) ด้วย Beach Lover ไม่ได้ติดตามการกัดเซาะชายฝั่งทั้งเกาะลันตาใหญ่และลันตาน้อยเท่าใดนัก จึงได้ลองค้นข้อมูลภาพและข่าวจากสื่อเพื่อให้ทราบถึงข้อมูลการกัดเซาะบริเวณนี้จนเป็นเหตุจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างนี้ พบว่าไม่ปรากฏทั้งภาพและข้อมูลใดๆที่ระบุว่าแหลมงูถูกกัดเซาะตั้งแต่อดีตจนถึงก่อนการเริ่มลงนามในสัญญาจ้างในปี 2560 พบเพียง VDO clip เพื่อโปรโมทโครงการโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองเท่านั้น (https://www.youtube.com/watch?v=T1sTkptM6GE) Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่แหลมงูพบว่า โครงสร้างป้องกันชายฝั่งนี้มีสองลักษณะ ได้แก่กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได และแบบหินเรียง เหมือนกับอีกหลายโครงการที่กรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมระยะทางประมาณ 300 เมตร ด้วยงบประมาณ 41.238 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัท เอสซีจี 1995 จำกัด ซึ่งถือเป็นบริษัทที่ชนะการประกวดราคาและได้ก่อสร้างโครงการป้องกันชายฝั่งมากเป็นอันดับที่สองเมื่อคิดจากงบประมาณเพื่อการป้องกันชายฝั่งทะเลตั้งแต่ปี 2558-2562 (https://beachlover.net/เปิด-5-รายชื่อบริษัท-งานป้องกันชายฝั่ง/) […]

Beachlover

October 20, 2020

สำรวจการกัดเซาะชายฝั่งเกาะลันตา กระบี่ [5ส.ค.2563]

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๕ สิงหาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจติดตาม และเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่งบริเวณเกาะลันตาฝั่งทิศตะวันตก อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ในช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีกำลังแรงและมีคลื่นสูง ๑-๒ เมตร พบว่าระบบหาดอ่าวคลองดาวมีลักษณะเป็นหัวหาด (head land) และเกาะ (island) พบรอยริ้วคลื่น (ripple mark) บนชายหาด และมีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ โครงสร้างกำแพงกันคลื่นประเภทตั้งตรง ไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระบบหาดอ่าวพระแอะ พบโครงสร้างกำแพงกันคลื่นประเภทขั้นบันไดและประเภทตั้งตรง พบการกัดเซาะชายฝั่งตามฤดูกาล และระบบหาดบ้านคลองโตบ ๑ พบโครงสร้างกำแพงกันคลื่นประเภทลาดเอียง อยู่ในสภาพชำรุดเสียหาย พบการกัดเซาะชายฝั่งตลอดแนวของโครงสร้าง ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง เพื่อจัดทำสถานภาพชายฝั่งประเทศไทย ต่อไป

Beachlover

August 5, 2020