ระเนระนาด @ หาดแก้ว ชิงโค

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดชิงโค หรือหาดแก้ว ไปหลายต่อหลายครั้ง ติดตามบางส่วนได้จาก https://beachlover.net/หาดคอนกรีต-ชิงโค/ โดยได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับงานปรับภูมิทัศน์และงานป้องกันชายฝั่งบริเวณนี้ไว้หลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นนี้จากคลื่นซัดข้ามสันกำแพง ในช่วงเดือนเมษายน 2565 ได้มีการนำเสนอภาพความเสียหายของพื้นที่ด้านหลังโครงสร้าง จากการที่คลื่นซัดข้ามสันกำแพง (https://www.facebook.com/Watchdog.ACT) ดังที่ Beach Lover ได้เคยตั้งข้อสังเกตไว้เมื่อครั้งงานก่อสร้างเสร็จหมาดๆเมื่อสองปีก่อน Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนามพื้นที่บริเวณนี้อีกครั้ง พบว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น เกิดขึ้นจากการที่คลื่นวิ่งเข้าปะทะกำแพงแล้วยกตัวสูงขึ้นกระเซ็นข้ามสันกำแพงเข้ามายังพื้นที่ด้านหลังที่มีการปรับภูมิทัศน์เป็นทางจักรยาน ทางเดินริมชายหาด โดยพบว่าระบบระบายน้ำด้านหลังกำแพงนั้นพังเสียหายเกือบทั้งหมด ทางเดินและทางจักรยานทรุดเป็นช่วงๆ แผ่นพื้นหลุดล่อนออก พบทรายจำนวนมากที่ถูกคลื่นหอบเข้ามาทับถมพื้นที่ด้านหลัง ยิ่งซ้ำเดิมระบบระบายน้ำให้เกิดปัญหาหนักขึ้นไปอีก พบเศษวัสดุและหินที่ใช้ก่อสร้างระเกะระกะเป็นจำนวนมาก โดยรวมแล้วแทบไม่เหลือเค้าลางเดิมของพื้นที่ที่ถูกปรับภูมิทัศน์ด้านหลังกำแพง ตำแหน่งเดิมที่เคยเป็นทางจักรยานที่ทรุดตัวลงเมื่อครั้ง Beach Lover ลงมาสำรวจในวันที่ 14 ธันวาคม 2564 นั้น บัดนี้ไม่หลงเหลือซากเดิมปรากฏให้เห็นแล้ว มีท้องถิ่นริมชายฝั่งทะเลจำนวนไม่น้อยที่คิด (เอาเอง)ว่า การ “แปลงร่างหาดทรายให้กลายเป็นคอนกรีต” โดยการ “ขลิบ”ชายหาดด้วยกำแพงกันคลื่นพร้อมการปรับภูมิทัศน์นั้น จะสามารถดึงดูดเม็ดเงินจากการท่องเที่ยวได้ จะสามารถนำรายได้กลับคืนมาสู่ท้องถิ่น โดยอาจหลงลืมไปว่า มีราคาที่ต้องจ่ายมากมายกับความพยายามนี้ น่าตามต่อถึง Action ของกรมโยธาธิการและผังเมืองในฐานะเจ้าของโครงการ ว่าจะให้เหตุผลและจัดการกับความเสียหายนี้อย่างไร และที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งคือหน่วยงานท้องถิ่นที่จะรับมอบโครงสร้างนี้ไปบำรุงรักษาด้วยงบของท้องถิ่นเอง ว่าจะมี Action […]

Beachlover

May 22, 2022

กัดเซาะหนักชายหาดสงขลา บริเวณเขื่อนกันคลื่นหาดแก้ว

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๗ มกราคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจ และติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณหาดแก้ว อ.สิงหนคร จ.สงขลา ผลการสำรวจพบการกัดเซาะต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดโครงสร้างด้านทิศเหนือ ตามแนวชายฝั่งระยะทางประมาณ ๒๐๔ เมตร และกัดเซาะลึกเข้าในแผ่นดิน ระยะทางประมาณ ๓๘ เมตร สาเหตุอาจเกิดจากคลื่นลมตามช่วงมรสุม โดยส่งผลกระทบทำให้ต้นสนล้มหลายต้น และที่พักอาศัย/เพิงพักสำหรับชาวประมงชายฝั่งพังเสียหาย และพบมีเศษหิน และกรวด บริเวณชายหาดจำนวนมาก ซึ่งอาจมาจากการผุพังแตกหักของก้อนหินที่ยังคงหลงเหลืออยู่หน้าบริเวณโครงสร้าง ทำให้ชายหาดเสียหายขาดความสวยงาม และเปลี่ยนสภาพจากหาดทรายเป็นหาดหินและกรวด อีกทั้งยังพบการชำรุดของลานอเนกประสงค์จากการกัดเซาะของน้ำทะเลอีกด้วย

Beachlover

January 8, 2022

ดูกันชัดๆ กัดเซาะ “ชั่วคราว” หรือ “ชั่วโคตร”

Beach Lover ได้เคยนำเสนอประเด็นกัดเซาะชั่วคราวและชั่วโคตรไปแล้ว ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ชายหาดกัดเซาะแบบไหน/ มาครั้งนี้ ขอนำเสนอภาพถ่ายเพื่อย้ำเตือนประเด็นนี้กันอีกรอบ ณ ชายหาดม่วงงาม หาดแก้ว บ่ออิฐ และหาดชิงโค จ.สงขลา “กัดเซาะชั่วคราว” หรือการเสียสมดุลของชายหาดแบบชั่วคราว ภาพด้านซ้ายมือของชายหาดม่วงงาม ณ ตำแหน่งเดียวกัน เพียงแต่ต่างช่วงเวลากัน แสดงให้เห็นว่า ชายหาดมีความเป็นพลวัต ยามมรสุมชายหาดอาจถูกกัดเซาะไปบ้าง คลื่นขนาดใหญ่วิ่งเข้ามาทักทายถนนให้ชำรุดไปบ้าง แต่ยามปลอดมรสุม คลื่นขนาดเล็กจะหอบเอาทรายขึ้นมาเติมจนเต็ม พืชขึ้นปกคลุมชายหาด ชายหาดกลับมาเสถียรและสมบูรณ์อีกครั้ง ตราบเท่าที่ไม่มีการแทรกแซงสมดุลของชายฝั่งตามธรรมชาติ “กัดเซาะชั่วโคตร” หรือการเสียสมดุลของชายหาดแบบถาวร ภาพด้านขวาของหาดชิงโค บ่ออิฐ และหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท แสดงให้เห็นถึงการกัดเซาะในรูปแบบที่หาดถูกกัดเซาะแบบกัดแล้วไม่คืนสมดุลเดิม ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานขนาดไหนก็ตาม โดยการกัดเซาะลักษณะนี้มักเกิดขึ้นบริเวณที่มีการแทรกแซงสมดุลชายฝั่งจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งในที่นี้คือการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นทางทิศใต้ของทั้งสามพื้นที่ ส่งผลให้ชายหาดด้านทิศเหนือเสียสมดุลและเกิดการกัดเซาะอย่างถาวร “กัดเซาะชั่วคราว” อาจเปลี่ยนเป็น “กัดเซาะชั่วโคตร” ได้เมื่อมีการแทรกแซงสมดุลของชายฝั่งตามธรรมชาติ เป็นต้นว่า การสร้างโครงสร้างในทะเลหรือริมทะเล ที่กีดขวางการเคลื่อนตัวของคลื่นกระแสน้ำและตะกอนชายฝั่ง เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ชายหาดที่เคย “กัดเซาะชั่วคราว” เปลี่ยนเป็น “กัดเซาะชั่วโคตร” แบบที่มิอาจหวนกลับคืนได้ตราบเท่าที่ปัจจัยแทรกแซงนั้นยังคงดำรงอยู่

Beachlover

January 8, 2021

ภาพเปรียบเทียบวันเวลาเดียวกัน ของชายหาด”มี”และ”ไม่มีโครงสร้าง”

ที่มา: https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL/ วันที่ 1 มกราคม 2564 หาดทรายเเก้ว-ชิงโค จ.สงขลา โดยภาพแรก ถ่าย ณ ตำเเหน่งที่มีกำเเพงกันคลื่น เเละภาพที่สองถ่าย ณ ตำแหน่งที่ไม่มีกำเเพงกันคลื่น ภาพที่ 1 หาดที่มีกำเเพงกันคลื่น คลื่นปะทะข้ามกำเเพงกันคลื่นเข้ามา พื้นที่ด้านหลังกำเเพงกันคลื่น น้ำทะเลท่วมขัง ไอน้ำทะเลฟุ้งกระจายเต็มพื้นที่ ภาพที่ 2 เป็นสุดสิ้นสุดกำเเพงกันคลื่น ยังคงมีชายหาดอยู่ หาดทรายค่อยๆซับพลังงานคลื่น

Beachlover

January 2, 2021

ติดตามโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสงขลา

ที่มา: Facebook page กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนล่าง ติดตามสภาพระบบนิเวศชายหาดและสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล หาดทรายแก้ว หาดม่วงงาม และหาดมหาราช จ.สงขลา ผลการตรวจสอบที่หาดทรายแก้วยังคงพบเศษหินจากการก่อสร้างถูกทับถมอยู่ใต้ชั้นผิวทรายลึกลงไป ๑๕ ซม. ชั้นเศษหินมีความหนาประมาณ ๑๒ ซม. และพบสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายน้อยมาก ส่วนพื้นที่หาดม่วงงาม บริเวณหน้าหาดเริ่มมีตะกอนทรายธรรมชาติถูกคลื่นซัดมาทับถมตลอดแนว และจากการเก็บตะกอนดินโดยใช้ท่อเจาะมาวิเคราะห์ไม่พบเศษหินจากการก่อสร้างแต่สภาพชายหาดทั่วไปยังพบเศษวัสดุก่อสร้างเป็นระยะๆ (เหล็กเสาเข็ม) ส่วนพื้นที่ชายฝั่งในทะเลก็ยังมีกองหินจากการก่อสร้างจมอยู่ใต้น้ำ และเริ่มจะพบจำนวนสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทราย แสดงถึงการเริ่มคืนสภาพระบบนิเวศหาดทรายหลังจากถูกระงับการก่อสร้าง ส่วนพื้นที่ชายหาดมหาราช ยังคงมีงานก่อสร้าง แม้จะไม่พบเศษหินจากการก่อสร้างปนเปื้อนในระบบนิเวศหาดทรายในพื้นที่ข้างเคียง แต่พบสิ่งมีชีวิตได้น้อยมาก

Beachlover

November 29, 2020

กำแพงกันคลื่นหน้าหาดแก้วยามมรสุม

โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของทางเข้าทะเลสาบสงขลาและท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา ในอดีตเคยมีหาดทรายกว้างด้านหน้าโรงแรม บางฤดูกาลก็เกิดชายหาดสองชั้น คือด้านในเป็นแอ่งน้ำและมีสันทรายด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ชายฝั่งแถบหาดแก้วรีสอร์ทไปหลายครั้งแล้ว ติดตามบางส่วนได้จาก https://beachlover.net/หาดหน้าโรงแรมหาดแก้ว/. ครั้งนี้ Beach Lover ได้มีโอกาสติดตามการเปลี่ยนแปลงของชายหาดด้านหน้าโรงแรมอีกครั้ง ในช่วงเริ่มต้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพอดี พบหาดทรายด้านหน้ารีสอร์ท ซึ่งอยู่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นบัดนี้เป็นทรายค่อนข้างหยาบผสมกับทรายก่อสร้างและพบเศษวัสดุขนาดเล็กที่หลงเหลือจากงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นด้านหน้าปะปน นอกจากนี้ยังไม่พบชายหาดด้านหน้ากำแพงกันคลื่น เนื่องจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่นจะทำให้ชายหาดด้านหน้ากำแพงค่อยๆหดหายไป [อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/] แม้ช่วงเวลาที่ลงสำรวจนั้นเป็นช่วงที่น้ำเพิ่งลงต่ำสุดไปไม่นาน แต่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก็ส่งผลให้ระดับน้ำยกตัวสูงขึ้นกว่าปกติ และยังส่งผลให้คลื่นสูงและมีกำลังแรงกว่าปกติด้วย พบว่าคลื่นกระโจนข้ามสันกำแพงกันคลื่นในทุกตำแหน่งตลอดแนวชายฝั่งหน้าโรงแรม และเข้าท่วมขังในพื้นที่หาดทรายด้านหลังกำแพงจนเกิดเป็นแอ่ง แม้หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะออกแบบระบบระบายน้ำด้านหลังกำแพงไว้แล้ว แต่ไม่สามารถระบายน้ำทะเลที่กระโจนข้ามสันโครงสร้างมาด้านหลังกำแพงได้ทัน หาดแก้วยามนี้ … ไม่หลงเหลือความสวยงามตามธรรมชาติอย่างที่เคยมีมาในอดีต สิ้นชื่อหาดแก้ว หาดที่เม็ดทรายสวยงามดั่งแก้วเป็นการถาวร

Beachlover

November 19, 2020

ชายหาดหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท หายไปไหน ?!?! [17เม.ย.2563]

โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของทางเข้าทะเลสาบสงขลาและท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา ในอดีตเคยมีหาดทรายกว้างด้านหน้าโรงแรม บางฤดูกาลก็เกิดชายหาดสองชั้น คือด้านในเป็นแอ่งน้ำและมีสันทรายด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง ดังที่สังเกตได้จากภาพถ่ายปี 2007 (2550) พัฒนาการของชายหาดบริเวณนี้สามารถติดตามได้อย่างง่ายๆผ่านภาพถ่ายดาวเทียมจาก GoogleEarth ทีม Beach lover ได้รวบรวมมาแสดงไว้ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปี 2560 ดังนี้ พบว่าชายหาดด้านหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ทนั้นเริ่มเกิดการกัดเซาะอย่างเด่นชัดทางทิศใต้ในพื้นที่ชายหาดส่วนที่ติดกับที่ดินส่วนถัดไป ที่เริ่มสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่น ในปี 2559-2560 จากนั้น ชายหาดธรรมชาติด้านหน้าโรงแรมที่เคยกว้าง ที่ซึ่งเคยจัดกีฬาชายหาด เคยจัดกิจกรรมต่างๆ ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป พบว่าหลังการกัดเซาะ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่นต่อเนื่องจากกำแพงของที่ดินด้านทิศใต้ของโรงแรมที่เป็นหนึ่งในต้นเหตุของการกัดเซาะบริเวณนี้ ยาวตลอดทั้งชายหาดไปถึงแถบชิงโค (ติดตามได้จากโพสเก่าๆ) โดยเห็นได้ชัดจากภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อปลาย ปี 2562 ล่าสุดทีมเครือข่ายของ Beach lover ได้ลงสำรวจพื้นที่บริเวณหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ทอีกครั้งในวันที่ 17 เม.ย.2563 พบสภาพชายหาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หาดทรายธรรมชาติที่กว้างและยาวต่อเนื่องไปทางทิศเหนือ ถูกแทนที่ด้วยกำแพงกันคลื่นคอนกรีตขนาดใหญ่ ยาวต่อเนื่องไปทางทิศเหนือเช่นกัน หากรัฐยังคงมีทัศนะในการแก้ไขปัญหาแบบเดิม อย่างเคยรับปฏิบัติสืบต่อกันมา ชายหาดธรรมชาติจะถูกแทนที่ด้วยคอนกรีต และเราจะเห็นเหตุการณ์แบบนี้อีกครั้งและอีกครั้ง ภาพนี้จะถูกฉายซ้ำอีกจนกว่า “เขา” จะขลิบขอบประเทศไทยตลอดแนวสามพันว่ากิโลเมตร จนหมดสิ้น … เมื่อนั้นหาดทรายธรรมชาติคงจะกลายเป็นเพียงตำนานในหนังสือภาพที่เราต้องเปิดให้ลูกหลานดู

Beachlover

April 20, 2020

ข้อสังเกตบางประการ: โครงการป้องกันการกัดเซาะหาดทรายแก้ว จ.สงขลา [14 ม.ค.2563]

จากเอกสาร “รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณตำบลชิงโค ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร จ.สงขลา (บริเวณหาดทรายแก้ว)” ที่ได้จัดทำไว้เมื่อพฤษภาคม 2558 โดยบริษัท เอส ที เอส เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยมีเจ้าของงานคือกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม พบรายละเอียดของโครงการดังนี้ (หน้า 2-57 ถึง 2-58) การก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณหาดทรายแก้ว ได้ออกแบบให้เป็น เขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งสันต่ำ จำนวน 6 ตัว ทำหน้าที่สลายพลังงานคลื่น และมีหัวหาด (Head land) ทั้งทางด้านเหนือ (NHL) และด้านใต้ (SHL) ของโครงการเป็นตัวควบคุมความสมดุลของแนวชายฝั่ง โดยหัวหาดเหนือห่างจาก Spending beach breakwater ประมาณ 100 เมตร และหัวหาดด้านใต้ห่างออกจากฝั่งประมาณ 300 เมตร นอกจากนี้ ยังได้ออกแบบให้มีช่องระบายน้ำอยู่ชิดกับหัวหาด และมีกำแพงกันดินแบบหินทิ้ง (RR1 และ RR2) ทั้ง 2 ข้างของช่องทางระบายน้ำ เพื่อกันทรายไม่ให้ถูกพัดเข้าไปทับถมในทางระบายน้ำดังรูป สำหรับการเสริมทราย จะดำเนินการรื้อรอดักทรายบริเวณเดิมออก […]

Beachlover

January 14, 2020