กรมทะเล เร่งตรวจสอบกรณีเรือเดินสมุทรเกยหาด เกาะพระทอง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) รับแจ้งจาก น.อ.บรมรัตน์ ศุภนาม รอง.ผอ.ศร.ชล.พังงา กรณี มีเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ ถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยหาดบริเวณชายฝั่งเกาะพระทอง ต.เกาะพระทอง อ.คุระบุรี จ.พังงา ผลการตรวจสอบเบื้องต้นทราบว่า เป็นเรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์เปล่า ชื่อ YKP MARINE เดินทางจากประเทศเมียนม่า จะไปเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย แล้วเกิดเครื่องยนต์ขัดข้อง ตั้งแต่ช่วงเวลากลางดึกของวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๔ ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าว เกิดมรสุมคลื่นลมแรงทำให้เรือถูกคลื่นซัดเข้ามาเกยตื้น ทั้งนี้ กรม ทช. ได้ประสานงานกับ เจ้าท่าภูมิภาคพังงา หน่วยกู้ภัยคุระบุรี เพื่อร่วมตรวจสอบพื้นที่ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งหรือไม่

Beachlover

June 8, 2021

ทะเลเกาะคอเขาสงบ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) ตรวจระบบหาดในเขต จ.พังงา ๒ แห่งคือ (๑) ระบบหาดเกาะคอเขา (T7D190) ท้องที่ ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า ลักษณะหาดเป็นหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เม็ดทรายละเอียด น้ำทะเลขุ่นมาก กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศเหนือ อุณหภูมิชายหาด ๒๗ องศาเซลเซียส ความเร็วลม ๗.๓ กม./ชม. ลักษณะคลื่นเป็นคลื่นงัด อัตราคลื่นประทบฝั่ง ๑๐ ครั้ง/นาที สภาพอากาศท้อง​ฟ้าครึ้มฝน ขยะบริเวณชายหาดมีน้อย การใช้ประโยชน์ชายฝั่งใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว​พักผ่อนหย่อน​ใจ และไม่พบการกัดเซาะหรือการก่อสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มเติม (๒) ระบบหาดบ้านนอกนา – บ้านบางเนียง (T7D189) ท้องที่ ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า ลักษณะหาดเป็นหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เม็ดทรายละเอียด น้ำทะเลขุ่นมาก กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศเหนือ อุณหภูมิชายหาด ๒๖.๘ องศาเซลเซียส ความเร็วลม […]

Beachlover

May 26, 2021

พาสำรวจชายฝั่งหาดอ่าวเคย อ่าวคลองเรียน ทะเลพังงา สวยสงบเงียบ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) สำรวจพื้นที่ตามระบบหาดในเขต จ.พังงา ๒ พื้นที่ โดย (๑) หาดอ่าวคลองเรียน (T7D๑๙๘) ท้องที่ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง ลักษณะหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เม็ดทรายละเอียด พบกากแร่สีดำปนอยู่กับทรายชายหาด น้ำทะเลใส กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศใต้ อุณหภูมิชายหาด ๓๒.๒ องศาเซลเซียส ความเร็วลม ๓.๙ กม./ชม. ลักษณะคลื่นเป็นคลื่นงัด อัตราคลื่นกระทบฝั่ง ๕ ครั้ง/นาที สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส ขยะชายหาดที่มากับน้ำทะเลพบเล็กน้อย การใช้ประโยชน์ชายฝั่งใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มีร้านค้าขายอาหาร ไม่พบนักท่องเที่ยว ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งหรือโครงสร้างป้องกัน​การกัดเซาะ​ชายฝั่ง (๒) หาดอ่าวเคย (T7C๑๗๖) ท้องที่ ต.คุระ อ.คุระบุรี ลักษณะหาดทรายสีน้ำตาลเข้ม เม็ดทรายละเอียด น้ำทะเลขุ่นเล็กน้อย กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศใต้ อุณหภูมิชายหาด ๓๔.๔ […]

Beachlover

May 12, 2021

พาชมชายหาด เกาะยาวน้อย

เกาะยาวน้อย ตั้งอยู่ในเขต อำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา อำเภอเกาะยาว มีพื้นที่ 147.8 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เกาะ มี 3 ตำบลคือ เกาะยาวน้อย , เกาะยาวใหญ่ , พรุใน ชาวบ้านบนเกาะยาวน้อยจำนวนกว่า 4,600 คน นั้นส่วนใหญ่ 99% นับถือศาสนาอิสลาม มีอาชีพประมง ค้าขาย หมู่เกาะที่นี่สวยงามมีเกาะเล็กเกาะน้อยรอบๆ เกาะ เป็นเกาะที่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบความสงบ ชื่นชอบธรรมชาติ รักสงบ (http://www.phangnga.go.th/koh-yaw-noi.html) บนเกาะยาวน้อยเองนั้น มิได้มีชายหาดและทัศนียภาพบนเกาะที่สวยงามมากมายสักเท่าไหร่ แต่มีความหลากหลายของทรัพยากร ทั้งนาข้าว ป่าชายเลน ป่าชายหาด ทรัพยากรประมง และยังมีนกเงือกอพยพมาอยู่ที่นี่จำนวนมาก แต่สิ่งที่ตราตรึงใจคือ ทัศนียภาพรอบๆเกาะ เมื่อมองออกจากเกาะยาวน้อย จะพบเกาะแก่งรูปร่างแปลกตารายล้อมเกาะจำนวนมาก และนี่เอง คือแม่เหล็กที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติให้มาเสพความสวยงามของธรรมชาติอันสุขสงบที่นี่ เกาะยาวน้อยวางตัวในแนวเหนือใต้ และมีพื้นที่ชายหาดหลักๆบนสองฝั่งทะเล คือฝั่งตะวันตก ซึ่งอยู่ติดกับเกาะยาวใหญ่ มีสภาพเป็นอ่าว พื้นที่ริมทะเลแถบนี้ส่วนมากเป็นหิน ดิน ทรายหยาบปนหิน ป่าชายเลน […]

Beachlover

May 9, 2021

ติดตามตรวจสอบชายหาดหน้าวัดท่าไทร ไม่พบกัดเซาะ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) ตรวจติดตามระบบหาด ท้องที่ จ.พังงา เป็นระบบหาดท้ายเหมือง (T7E๒๐๑) ท้องที่ ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง บริเวณ​หน้าวัดท่าไทร ลักษณะหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดทรายหยาบปนละเอียด อุณหภูมิ​ชายหาด ๓๔.๕ องศาเซลเซียส​ ความเร็วลม ๘ กม./ชม. ท้องฟ้าแจ่มใส​ จากฝั่งออกไปประมาณ ๑ กม. มองไปน้ำทะเล​จะเป็นสีเขียว ถัดจากนั้นออกไปเป็นสีคราม น้ำทะเลริมฝั่งขุ่นเล็กน้อย ลักษณะของ​คลื่นเป็นคลื่นลม กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศเหนือ อัตราคลื่น​กระทบ​ฝั่ง​ ๙ ครั้ง​/นาที สำหรับบริเวณ​ที่กรม ทช. มาก่อสร้างรั้วดักทราย (sand fence) ไว้ ผลมีทรายมาทับถมเกือบมิดหัวไม้เป็นส่วนใหญ่ หัวไม้ที่โผล่ยาวสุดไม่เกิน ๕๐ ซม. บริเวณ​ด้านทิศเหนือของแนวรั้วดักทราย น้ำทะเลได้เซาะจนเห็นเสาไม้แต่ยังไม่เซาะผ่านเข้ามาในแนวเสาไม้ ระยะทางที่เป็นลักษณะ​เช่นนี้​ประมาณ​ ๒๐ เมตร […]

Beachlover

April 23, 2021

เร่งจัดวางปะการังเทียมรูปโดม ฟื้นฟูทะเลเขาหลัก

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ควบคุมการจัดวางปะการังเทียมคอนกรีต แบบรูปโดม ในทะเลสำหรับจัดวางพื้นที่เขาหลัก ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยจัดวางแล้ว ๗๐๔ แท่ง คงเหลือ ๔๔๕ แท่ง จากจำนวนที่ต้องจัดวาง ๑,๑๔๙ แท่ง และคาดว่าจะสามารถจัดวางแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ นี้

Beachlover

March 13, 2021

เฝ้าระวังชายฝั่งท้ายเหมืองถึงคึกคัก สถานการณ์ปกติ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) ติดตามสถานการณ์ชายฝั่ง ท้องที่ ต.ลำแก่น อ.ท้ายเหมือง และ ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งเน้นที่ระบบหาดใต้แหลมหินเรือใบ (T๗D๑๙๙) และระบบหาดบ้านปากวีป (T๗D๑๙๓) โดยใช้โดรน ผลพบว่าพื้นที่ทั้งสองระบบหาด ทะเลเรียบคลื่นลมสงบ อัตราการกระทบชายฝั่งของคลื่น ๘-๑๒ ครั้ง/นาที ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง และไม่มีการกระทำใดๆ ที่ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

Beachlover

January 19, 2021

Jetty ตัวแรกแห่งอันดามัน กำลังจะเกิดขึ้น?!?

บ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา เป็นหมู่บ้านชาวประมงที่ดำรงชีวิตอยู่แถบชายทะเลอันดามัน เดิมมีชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณปากคลองน้ำเค็มกว่าหนึ่งพันครัวเรือน แต่หลังจากเกิดเหตุ Tsunami เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 บ้านน้ำเค็มเป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุด สิ่งปลูกสร้างชายฝั่งถูกทำลายล้างจนหมดสิ้น สภาพชายฝั่งและพื้นที่ปากคลองถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไปอย่างมากมาย สันทรายปากคลองที่เเคยเป็นปราการธรรมชาติถูกทำลาย เช่นเดียวกันกับสันดอนทรายใต้น้ำ จากการศึกษาโดยกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งจ้างบริษัทที่ปรึกษา “ซีสเปคตรัม” ศึกษาไว้เมื่อปี 2550 ระบุว่าหลังจากพื้นที่นี้ได้รับผลกระทบจาก Tsunami เมื่อปี 2547 พบว่า แรงปะทะจาก Tsunami ได้พัดพาสันดอนทรายที่ปากคลองหายไปจนหมดสิ้น ตะกอนทรายบางส่วนถูกพัดพาไปตกในคลองปากเกาะ ส่งผลให้ร่องน้ำตื้นเขินเป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือ ภาพถ่ายดาวเทียมรายละเอียดสูง Ikonos วันที่ 29 ธ.ค.2547 เทียบกับภาพถ่ายทางอากาศปี 2545 แสดงให้เห็นการกัดเซาะบริเวณคลองปากเกาะดังพื้นที่สีแดง แต่หลังจากนั้นอีกเพียง 1 ปี พบว่าชายหาดเกิดการฟื้นตัวกลับมามีพื้นที่ชายหาดเกือบเหมือนเดิมก่อนเกิด Tsunami ภาพถ่ายดาวเทียม Ikonos วันที่ 29 ธ.ค.2547 เทียบกับภาพถ่ายวันที่ 24 ธ.ค.2548 แสดงให้เห็นการฟื้นตัวของชายหาดบริเวณคลองปากเกาะดังพื้นที่สีเหลือง แต่ยังคงพบว่าสันทรายปากร่องน้ำทางทิศเหนือบริเวณเกาะคอเขายังคงไม่ฟื้นคืนกลับมาในสภาพเดิม หลังจากนั้นปากคลองปากเกาะก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามที่ปรากฏในภาพถ่าย […]

Beachlover

January 11, 2021

หาดบางเนียง พัง(งา)! ยังสบายดีไหมหลังมรสุม

หลังผ่านพ้นพายุโนอึลไปเมื่อกลางเดือนกันยายน 2563 Beach lover ได้นำเสนอปัญหากัดเซาะบริเวณหาดบางเนียงไปแล้วตามโพส https://beachlover.net/หาดบางเนียงพังงา/ หลังจากนั้นได้ทราบข่าวว่ามีความพยายามร่วมกันหารือเพื่อป้องกันชายฝั่งบริเวณนี้จากทั้งรัฐและเอกชน โดยทางเจ้าของที่ดินเองได้นำทรายด้านหน้าหาดมาถมพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะไป แต่ก็ไม่เป็นผล Beach Lover ได้มีโอกาสลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์นี้อีกครั้งช่วงสิ้นสุดมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2563 พบว่าพื้นที่ที่เคยถูกกัดเซาะนั้นบางส่วนยังคงสภาพเดิม บางส่วนทางเจ้าของพื้นที่ได้ทำดินมาถมเพื่อปรับพื้นที่ด้านบนให้มีพื้นที่เพียงพอที่จะประกอบกิจการต่อได้ และเมื่อระดับน้ำทะเลลดระดับลงเป็นปกติไม่สูงเหมือนช่วงมรสุมก็ส่งผลให้คลื่นซัดเข้ามาไม่ถึงพื้นที่ด้านในแล้ว เมื่อเดินถัดไปตามแนวชายฝั่งทางทิศเหนือของพื้นที่แถวๆปากคลองพบว่า พื้นที่ส่วนนี้ยังคงปกติไม่ปรากฏร่องรอยของการกัดเซาะ โดยพบว่าแนวฝั่งเป็นแนวเดียวกันกับแนวกำแพงกันคลื่นเดิมทางทิศใต้ ความหมายคือ การกัดเซาะในพื้นที่นี้เป็นการกัดเซาะที่เรียกว่าเฉพาะถิ่น หรือ Local effect จากการแทรกแซงสมดุลชายฝั่งที่เกิดขึ้นเป็นการเฉพาะในพื้นที่ ตามที่เคยได้อธิบายไว้ในโพสก่อนหน้านี้แล้วว่าปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวแทรกแซงสมดุลชายฝั่งจนส่งผลให้พื้นที่นี้ถูกกัดเซาะมากขึ้นกว่าปกติในรูปแบบที่ผิดธรรมชาติ (โค้งเว้า) ก็เพราะกำแพงกันคลื่นที่อยู่ทางทิศใต้นั่นเอง (ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับกำแพงกันคลื่น https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/ และ https://beachlover.net/seawall/) เป็นความจริงที่ว่าในอดีตกำแพงกันคลื่นบนพื้นที่เอกชนแห่งนี้อยู่ห่างจากชายฝั่งเข้ามาประมาณหนึ่ง ไม่ถึงกับประชิดน้ำทะเลมาก แต่ด้วยสภาวะการเปลี่ยนแปลงของทั้งคลื่นลม ระดับน้ำทะเล ประกอบกับปราการทางธรรมชาติเพื่อช่วยป้องกันคลื่นสำหรับชายหาดแถบนี้อย่างแนวโขดหินใต้น้ำและปะการังธรรมชาติได้ถูกทำลายไปในช่วง Tsunami 2004 ส่งผลให้ชายหาดโดยภาพรวมของพังงาเริ่มกัดเซาะมากยิ่งขึ้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงเป็นเหตุให้กำแพงกันคลื่นของเอกชนที่สร้างทางทิศใต้ของพื้นที่เข้ามาอยู่ในระยะประชิดน้ำทะเลมากยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องให้กำแพงนี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการรบกวนการเคลื่อนที่ของคลื่นและตะกอนชายฝั่ง จึงเป็นเหตุให้พื้นที่ทางทิศเหนือของกำแพงเกิดการกัดเซาะในลักษณะโค้งเว้าจากการเลี้ยวเบนของคลื่นตามที่เห็น มาตรการระยะยาวเพื่อแก้ปัญหาทั้งระบบของรัฐจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่ระหว่างนี้ปัญหาเฉพาะหน้ายามมรสุมเป็นสิ่งที่รัฐควรคำนึงถึงเพื่อสวัสดิภาพของประชาชนผู้ใช้ประโยชน์ริมชายหาด

Beachlover

January 7, 2021

หาดเต่าไข่ วัดท่าไทร ยังสบายดี (มาก)

Beach Lover เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดทรายหน้าวัดท่าไทร ท้ายเหมือง จ.พังงา ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือไปแล้วครั้งหนึ่ง ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ท้ายเหมือง-เต่าเกือบไม่ได้ไข่เพราะกำแพงหิน/ ช่วงหมดฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 นี้ Beach Lover ได้มีโอกาสลงพื้นที่สำรวจชายหาดแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง พบว่าชายหาดแตกต่างไปจากเดิมช่วงมรสุมอย่างมากมาย หน้าหาดมีความลาดชัน 18 องศา ซึ่งถือว่าชันมาก และพบว่าคลื่นลมหอบทรายขึ้นมากองบริเวณชายหาดส่วนหลัง (Backshore) ที่เป็นพื้นที่ที่มีการปักไม้เพื่อเป็นรั้วดักทราย (Sand fence) โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระยะทาง 594 เมตร ด้วยงบประมาณเกือบห้าแสนบาท การสำรวจเมื่อช่วงมรสุม (กันยายน) พบว่ารั้วไม้มีสูงจากพื้นทรายประมาณ 0.8-0.95 เมตรตลอดทั้งแนว (เฉลี่ยประมาณ 0.89 เมตร) ส่วนในช่วงปลอดมรสุม (ธันวาคม) พบว่ารั้วไม้มีสูงจากพื้นทรายเฉลี่ยประมาณ 0.15 เมตร พบว่าชายหาดใกล้เคียงทางทิศใต้ที่เคยมีกองหินโผล่ในช่วงมรสุม ปัจจุบันถูกทรายกลบจนเกือบมิด พบว่าชายหาดบริเวณนี้ในช่วงมรสุมเมื่อเกิดการกัดเซาะ ก็กัดเซาะตลอดทั้งแนวในรูปแบบเดียวกัน กล่าวคือระดับของสันหาดลดต่ำลงอย่างมาก ความลาดชันชายหาดลดลง คลื่นซัดเอาทรายหน้าหาดหดหายไป ส่งผลให้รั้วไม้ที่ถูกปักไว้โผล่พ้นผืนทรายตลอดทั้งแนวเกือบ 0.9 เมตร และคลื่นยังควักล้วงเอาทรายจากพื้นที่ด้านหลังรั้วไม้ออกไปได้อีกด้วย ครั้งเมื่อปลอดมรสุม ก็เกิดการทับถมในรูปแบบเดียวกัน […]

Beachlover

January 6, 2021
1 2 3 4