ลงมือแล้ว! กำแพงกันคลื่นหาดปากน้ำปราณ

ชายหาดปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ 7.5 กิโลเมตร ต่อเนื่องจากทิศใต้ของปากน้ำปราณเรื่อยลงไปถึงหาดเขากะโหลก เป็นพื้นที่ที่ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีรีสอร์ท ร้านอาหาร ตลอดทั้งแนว เราสามารถแบ่งหาดแถบนี้ได้เป็นสองแบบ คือโซนที่ติดกับปากน้ำปราณมีลักษณะเป็นชายหาดที่มีถนนเลียบพร้อมพื้นที่สาธารณะริมชายหาด ส่วนทางทิศใต้ติดกับเขากะโหลกเป็นรีสอร์ทประชิดชายหาดและมีถนนเล็กๆอยู่ด้านใน เรามักเรียกขานหาดทางทิศใต้นี้ว่าหาดเขากะโหลก และทางทิศเหนือว่าหาดปากน้ำปราณ ชายหาดปากน้ำปราณถูกกัดเซาะรุนแรงมากขึ้นหลังการเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/jetty/) แม้ตะกอนชายฝั่งจะมีทิศทางหลักไปทางทิศเหนือก็จริง แต่ในบางฤดูกาลก็นำพาให้เกิดปัญหากัดเซาะทางทิศใต้ของปากร่องน้ำได้เช่นกัน หลังจากนั้นจึงเกิดโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทางทิศใต้ของปากร่องน้ำทั้งกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง  แบบขั้นบันได  และแบบหินทิ้ง พร้อมการปรับภูมิทัศน์โดยการถมพื้นที่ลงบนชายหาดและในทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะด้านหลังกำแพง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวริมทะเล จากทั้งท้องถิ่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2554, 2557 และ 2559 รวมระยะทางยาวกว่า 2.9 กิโลเมตร โดยหลังจากนั้นชายหาดปากน้ำปราณก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ชายหาดด้านหน้ากำแพงตัดลึกและชันขึ้นเนื่องจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่น (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/ ทำให้แม้ยามน้ำลงเกือบตลอดทั้งปี ไม่สามารถลงเดินเล่นบริเวณชายหาดด้านหน้ากำแพงได้อีกเลย การลงเล่นน้ำด้านหน้ากำแพงนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากยิ่งเนื่องจากมีความไม่ปลอดภัยจากคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะกำแพงและสะท้อนกลับออกไปนอกฝั่ง และในบางฤดูกาลพบเห็นสาหร่ายสีเขียวขึ้นปกคลุมพื้นผิวของขั้นบันไดส่วนที่อยู่ประชิดน้ำ  (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/ตื่นตาตื่นใจ-สาหร่ายสีเขียว-กำมะหยี่-หนึ่งปีมีหน-ที่ทะเลปากน้ำปราณ/)  ทำให้ลื่นไถลได้ง่าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ชายหาดเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งทางด้านทิศเหนือใกล้กับปากน้ำปราณที่ดำเนินการโดยงบประมาณจังหวัดเมื่อปี 2557 ระยะทางยาว 190 เมตร เกิดความเสียหายอย่างหนัก (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-ปากน้ำปราณ-เสียหาย/) รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วย จากนั้นเทศบาลตำบลปากน้ำปราณจึงได้ร้องขอความช่วยเหลือไปที่กรมโยธาธิการและผังเมืองในปี 2561 หลังจากนั้นกรมฯจึงริเริ่มโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล […]

Beachlover

November 9, 2022

กรมโยธาฯยอมถอย สร้างกำแพงกันคลื่นหาดปราณบุรี

ที่มา: https://www.facebook.com/DXCThaiPBS นายพิษณุพงษ์ เหล่าลาภผล ประธานกลุ่มฅนรักทะเลและชายหาดปากน้ำปราณ ให้ข้อมูลกับศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ ถึงความคืบหน้าการสร้างแนวกำแพงกันคลื่น แบบขั้นบันไดบริเวณหาดทรายหน้าศาลเสด็จเตี่ยปากน้ำปราณบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ เป็นจุดที่มีหาดทรายสมบูรณ์ระยะทางประมาณ 230 เมตร จากโครงการก่อสร้างทั้งหมด 3 ระยะ รวมความยาว 888 เมตร งบประมาณการก่อสร้างรวมการปรับปรุงภูมิทัศน์ โดยรอบ เป็นจำนวนเงินกว่า 144 ล้านบาท ซึ่งโครงการก่อสร้างดังกล่าวก็มีทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนและไม่เห็นด้วย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้รับผิดชอบโครงการดังกล่าว ชี้แจงเหตุผลที่ต้องสร้างพร้อมอ้างข้อมูลเปรียบเทียบเส้นชายฝั่งด้วยภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณชายฝั่งหน้าศาลกรมหลวงชุมพร ที่มีอัตราการกัดเซาะสูงสุด 1.74 เมตร/ปี รวมถึงคาดการณ์ในอนาคต 25 ปีข้างหน้าด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ พบว่าหากไม่มีเขื่อนป้องกัน จะถูกกัดเซาะเป็นระยะ 22 เมตร จึงจำเป็นต้องสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะในพื้นที่ดังกล่าว นายพิษณุพงษ์ กล่าวว่า รูปแบบที่ทางกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยได้นำเสนอกับที่ประชุม ซึ่งมีตัวแทนจากกรมโยธาธิการและผังเมืองและผู้เกี่ยวข้อง เบื้องต้น ได้เสนอข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ประกอบด้วย 1. แนวป้องกันต้องอยู่หลังจากแนวถอยร่น 10 เมตร วัดจากระดับน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามธรรมชาติ (จุดรอยต่อระหว่างชายหาดกับเนินทราย คือ […]

Beachlover

February 27, 2022

ฤาจะเสียชายหาดผืนสุดท้าย

ชายหาดปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ 7.5 กิโลเมตร ต่อเนื่องจากทิศใต้ของปากน้ำปราณเรื่อยลงไปถึงหาดเขากะโหลก เป็นพื้นที่ที่ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีรีสอร์ท ร้านอาหาร ตลอดทั้งแนว เราสามารถแบ่งหาดแถบนี้ได้เป็นสองแบบ คือโซนที่ติดกับปากน้ำปราณมีลักษณะเป็นชายหาดที่มีถนนเลียบพร้อมพื้นที่สาธารณะริมชายหาด ส่วนทางทิศใต้ติดกับเขากะโหลกเป็นรีสอร์ทประชิดชายหาดและมีถนนเล็กๆอยู่ด้านใน เรามักเรียกขานหาดทางทิศใต้นี้ว่าหาดเขากะโหลก และทางทิศเหนือว่าหาดปากน้ำปราณ ชายหาดปากน้ำปราณถูกกัดเซาะรุนแรงมากขึ้นหลังการเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/jetty/) แม้ตะกอนชายฝั่งจะมีทิศทางหลักไปทางทิศเหนือก็จริง แต่ในบางฤดูกาลก็นำพาให้เกิดปัญหากัดเซาะทางทิศใต้ของปากร่องน้ำได้เช่นกัน หลังจากนั้นจึงเกิดโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทางทิศใต้ของปากร่องน้ำทั้งกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง  แบบขั้นบันได  และแบบหินทิ้ง พร้อมการปรับภูมิทัศน์โดยการถมพื้นที่ลงบนชายหาดและในทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะด้านหลังกำแพง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวริมทะเล จากทั้งท้องถิ่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2554, 2557 และ 2559 รวมระยะทางยาวกว่า 2.9 กิโลเมตร โดยหลังจากนั้นชายหาดปากน้ำปราณก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ชายหาดด้านหน้ากำแพงตัดลึกและชันขึ้นเนื่องจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่น (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/ ทำให้แม้ยามน้ำลงเกือบตลอดทั้งปี ไม่สามารถลงเดินเล่นบริเวณชายหาดด้านหน้ากำแพงได้อีกเลย การลงเล่นน้ำด้านหน้ากำแพงนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากยิ่งเนื่องจากมีความไม่ปลอดภัยจากคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะกำแพงและสะท้อนกลับออกไปนอกฝั่ง และในบางฤดูกาลพบเห็นสาหร่ายสีเขียวขึ้นปกคลุมพื้นผิวของขั้นบันไดส่วนที่อยู่ประชิดน้ำ  (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/ตื่นตาตื่นใจ-สาหร่ายสีเขียว-กำมะหยี่-หนึ่งปีมีหน-ที่ทะเลปากน้ำปราณ/)  ทำให้ลื่นไถลได้ง่าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ชายหาดเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งทางด้านทิศเหนือใกล้กับปากน้ำปราณที่ดำเนินการโดยงบประมาณจังหวัดเมื่อปี 2557 ระยะทางยาว 190 เมตร เกิดความเสียหายอย่างหนัก (อ่านเพิ่มเติมได้จาก […]

Beachlover

February 18, 2022

ตื่นตาตื่นใจ! ‘สาหร่ายสีเขียว กำมะหยี่’ หนึ่งปีมีหน ที่ทะเลปากน้ำปราณ

ที่มา: https://ch3plus.com/news หนึ่งปีจะมีให้เห็นครั้งเดียว เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติชายหาดทะเลปราณบุรีมีสาหร่ายสีเขียว ดั่งกำมะหยี่ เกิดขึ้นตามขั้นบันไดปูนเขื่อนกันคลื่นแนวชายหาดปากน้ำปราณ ระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร สีสันสวยงาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณชายทะเลปราณบุรี ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมจากประชาชนทั้งคนในพื้นที่และต่างจังหวัดเดินทางมากันเป็นครอบครัวเพื่อมาท่องเที่ยวชายทะเลพักผ่อนหย่อนใจ และสังเกตได้ว่าเวลานี้ที่บริเวณเขื่อนกันคลื่นเป็นขั้นบันไดปูนจะแปรสภาพเป็นสีเขียวกำมะหยี่ ระยะทางยาวกว่า 2 กิโลเมตร ซึ่งเกิดมีสาหร่ายสีเขียวเกาะติดบนขั้นบันไดเขื่อนปูนกันคลื่นตามแนวชายหาด เมื่อสาหร่ายกระทบกับเกลียวคลื่นจะระยิบระยับสวยงาม ขณะนี้จะพบว่าตามขั้นบันไดประมาณ 3 ขั้น ที่ถูกน้ำทะเลท่วมถึงกลายเป็นเหมือนพรมสีเขียว คล้ายกำมะหยี่ ยาวตลอดแนวชายหาดเป็นที่ตื่นตาตื่นใจนักท่องเที่ยวมานั่งชม บ้างคนนำเอาโทรศัพท์ออกมาบันทึกภาพเก็บไว้และแชร์ส่งต่อกันในโซเชียล บรรยายถึงความสวยงาม ซึ่งหากประชาชนจะมาเที่ยวชมปรากฏการณ์พรมสีเขียว คล้ายกำมะหยี่ ต้องมาช่วงเวลาที่น้ำทะเลลดลง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงถึงเย็น จึงจะมองเห็นได้ชัดเจนและสวยงาม สำหรับปรากฏการณ์สาหร่ายสีเขียวมรกต จะเกิดขึ้นช่วงมีฤดูมรสุมพัดเข้าหาฝั่ง ตั้งแต่ปลายเดือน พฤศจิกายน จนถึงเดือน มกราคม โดยเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณชายหาดที่น้ำทะเลท่วมถึง เป็นช่วงที่น้ำทะเลใสสะอาด อากาศบริสุทธิ์ มีแสงแดดที่สาดส่องลงมาช่วงเวลาที่น้ำทะเลขึ้นลงท่วมแนวเขื่อนปูน จะทำให้เกิดอุณหภูมิเหมาะสม ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมจนเกิดสาหร่ายทะเลสีเขียวกำมะหยี่ แต่ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอยู่ไม่นาน เมื่อใดที่น้ำทะเลลดลง บริเวณขั้นบันไดน้ำทะเลขึ้นไม่ถึง สาหร่ายที่เกิดเป็นแนวยาวก็จะถูกแสงแดดแผดเผาจนสาหร่ายแห้งเป็นสีขาวและตายไป ก็ถือเป็นไฮไลท์ในช่วงนี้ก็ว่าได้ ฝากเตือนประชาชน เวลาจะไปถ่ายภาพ ระวังอย่าลงไปเหยียบสาหร่าย […]

Beachlover

December 22, 2021

คลื่นซัด!! หาดปากน้ำปราณแนวเขื่อนพังราบ

ที่มา: http://www.prachuppostnews.com/ คลื่นลมแรงในทะเลพัดเข้าทาโถมเข้าหาชายฝั่ง น้ำทะเลกัดเซาะจนเขื่อนกันคลื่น ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ พังได้รับความเสียหายยาวเพิ่มมากขึ้น เทศบาลตำบลปากน้ำปราณ ต้องนำธงแดงมาปักห้ามไม่ให้เข้าบริเวณพื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะเกรงจะเป็นอันตราย วันนี้(วันที่14มกราคม2563)   ผู้สื่อข่าวเดินทางลงไปบริเวณ  ชายหาดปากน้ำปราณ ต.ปากน้ำปราณ  อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้รับการแจ้งจากชาวบ้านว่าเขื่อนกันคลื่นได้รับความเสียหายต่อเนื่องมาหลายปียังไม่มีหน่วยงานภาครัฐ   ที่เกี่ยวข้องมาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน       ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว    มีทั้งร้านอาหาร   โดยปัจจุบันการกัดเซาะชายหาดปากน้ำปราณ หนักขึ้นอย่างต่อเนื่อง    ซึ่งสภาพเขื่อนกันคลื่นได้รับความเสียหายเป็นแนวยาวบริเวณตั้งแต่     เลยสะพานปลามาถึงบริเวณร้านอาหารจนไปถึงบริเวณแนวเขื่อนกันคลื่นอีกส่วนที่ยังไม่เสียหาย บริเวณจุดที่เสียหายเกิดจากคลื่นลมมรสุมรุนแรงของทุกปีที่ซัดเข้าหาชายฝั่งปากน้ำปราณ  จนสร้างความเสียหายอย่างหนัก พื้นที่หาดถูกกัดเซาะเข้ามาด้านในกว่า5เมตรทั้งที่เป็นร้านอาหารและบริเวณลานพักผ่อนปูตัวหนอนแนวต้นสนหายไปถึง2ชั้นแล้ว ในปัจจุบันนี้ ด้านนายธงชัย สุณาพันธ์ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำปราณ  กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปีและปีนี้ยอมรับว่าหนักการกัดเซาะลึกเข้ามาในพื้นที่ด้านใน ซึ่งปัญหาการกัดเซาะที่นี่ ตนเองได้ทำหนังสือให้อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองได้รับทราบแล้วเมื่อวานนี้ถึงความเสียหายแนวยาวหลายร้อยเมตร ซึ่งการดำเนินการต้องอาศัยกรมโยธาธิการและผังเมือง  ลำพังเทศบาลฯไม่สามารถดำเนินการได้ ยิ่งตอนนี้สะพานปลาเก่าเหลือแต่เสาทำให้กระแสคลื่นซัดเข้ามาในจุดที่พบเสียหายอย่างหนักและรุนแรงขึ้น ทางเทศบาลฯทำได้เพียงปักธงแดง และกั้นแนวเชือกและแนวรั้วไม้ไผ่เท่านั้น ว่าห้ามทุกคนเข้าไปเป็นจุดอันตราย หากแก้ไขเฉพาะหน้าก็ต้องรอให้คลื่นลมสงบในช่วงเดือนมีนาคมนี้   จะนำถุงบิ๊กแบ็คไปทิ้งเอาไว้เพื่อเป็นแนวป้องกันชั่วคราว จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวจะเข้ามาซ่อมแซมและน่าจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก นางสาวธนวัฒน์  ธนศร เจ้าของร้านอาหารชวนนั่ง กล่าวว่าคลื่นลมแรงตั้งแต่ก่อนปีใหม่ซัดเข้าหาฝั่งอย่างหนัก จนกัดเซาะเข้ามาด้านใต้พื้นศูนย์อาหาร  และมาหลังปีใหม่ก็ยังหนักอยู่จึงว่าจ้างรถลงไปตักทรายเข้ามาถมด้านใต้ไปบ้างแล้วโชคดีวันนี้คลื่นลมเริ่มเบาเริ่มพัดทรายเข้ามาบ้าง แต่ก็อยากให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งแก้ไข  เพราะเกิดขึ้นทุกปี และเป็นอันตราย

Beachlover

January 15, 2021

ตามคาด! ภาพล่าสุดของกำแพงกันคลื่นปากน้ำปราณ

Beach Lover ได้เคยนำเสนอสภาพความเสียหายของกำแพงกันคลื่นปากน้ำปราณไปเมื่อ มิถุนายน 2563 ตาม Link https://beachlover.net/กำแพง-ปากน้ำปราณ-เสียหาย/ ณ ในเวลานั้นพบว่าลานเอนกประสงค์ที่ปูด้วยอิฐตัวหนอนด้านหลังกำแพงกันคลื่นนั้นเสียหายเพียงบางส่วน โดยกำแพงกันคลื่นแนวดิ่งนั้นเริ่มเอียงลงทะเลแล้ว ในเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ Beach Lover ได้ลงสำรวจความเสียหายของกำแพงกันคลื่นนี้อีกครั้ง พบว่ากำแพงกันคลื่นที่เคยเอียงลงทะเล บัดนี้ได้ล้มลงทั้งแผงและหมดหน้าที่ของความเป็นกำแพงกันคลื่นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพบว่าลานเอนกประสงค์ด้านหลังกำแพงก็ไหลลงทะเลด้วยเช่นกัน ส่วนที่ถัดจากกำแพงที่พังลงนั้น เดิมทีมีความเสียหายเกิดขึ้นอยู่แล้ว และหน่วยงานที่รับผิดชอบได้นำ Big bag ใส่ทรายมาวางเพื่อป้องกันความเสียหายด้านหลังกำแพง จากการสำรวจสภาพในครั้งนี้พบความเสียหายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะพื้นที่ด้านหลังกำแพงและ Big bag นอกจากนี้ยังพบว่า สะพานปลาที่มีสภาพพังเสียหายบัดนี้โครงสร้างหลักได้พังลงทะเลเกือบหมดแล้ว และจากคำบอกเล่าของผู้เกี่ยวข้องพบว่าซากที่พังของสะพานและหล่นลงทะเลนั้น วางตัวประหนึ่งเป็นรอดักทรายเนื่องจากวางตัวตั้งฉากกับการเคลื่อนตัวของตะกอนเลียบชายฝั่งซึ่งมีทิศเคลื่อนที่จากใต้ขึ้นเหนือ โดยพบการกัดเซาะในพื้นที่ด้านทิศเหนือของซากสะพานปลา ซึ่งเดิมเคยมีอาคารร้านค้าตั้งอยู่ริมทะเล แล้วถูกรื้อถอนไป แต่ยังคงพบซากปรักหักพังของโครงสร้างคอนกรีตบางอย่างหลงเหลือทิ้งไว้บนชายหาด ล่าสุด กรมโยธาธิการและผังเมืองมีแผนใช้งบประมาณเพื่อฟื้นฟูบูรณะกำแพงกันคลื่นบริเวณนี้พร้อมปรับภูมิทัศน์ความยาว 930 เมตร มูลค่างานรวม 147.963 ล้านบาท (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงบประมาณ, 2563) ปัจจุบันยังมิได้ลงมือก่อสร้าง โดยพบว่ามีเครือข่ายประชาชนแถบปากน้ำปราณได้ร้องเรียนให้ปรับรูปแบบและปรับเปลี่ยนแนวของโครงสร้างที่กรมโยธาวางแผนไว้ว่าจะยาวต่อเนื่องจากสามแยกถึงศาลสมเด็จพ่อกรมหลวงชุมพรฯ นอกจากนี้พื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการทางด้านทิศเหนือของซากสะพานปลายังมีคดีความฟ้องร้องเรื่องการรุกพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตัว โดยยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งนี่อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้โครงการนี้ยังมิได้ลงมือก่อสร้าง หากมีความคืบหน้าประการใด Beach Lover […]

Beachlover

December 9, 2020

กำแพงกันคลื่นปากน้ำปราณ ยังสบายดีอยู่ไหม [26 มิ.ย.2563]

ทิศใต้ของปากน้ำปราณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่ตั้งของกำแพงกันคลื่นหลายรูปแบบยาวเกือบตลอดทั้งแนวชายหาด ในเดือน มิ.ย.2563 ทีมงาน Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่ทางทิศใต้ของ Jetty ปากน้ำปราณ พบความเสียหายของกำแพงกันคลื่นหลายจุด ซึ่งเกิดจากแรงของคลื่นเมื่อวิ่งเข้าปะทะกำแพงจะดึงทรายที่อยู่ด้านหน้ากำแพงออกไปพร้อมกับการสะท้อนกลับของคลื่น ส่งผลให้ฐานกำแพงทรุดและดึงให้โครงของกำแพงเอียง นอกจากนั้นคลื่นที่่วิ่งเข้าปะทะกำแพงยังยกตัวสูงขึ้นและกระเซ็นข้ามมาด้านหลัง ส่งผลให้พื้นที่ด้านหลังกำแพงที่ปูด้วยอิฐตัวหนอนนั้นพังเสียหาย โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ทำการซ่อมแซมโดยนำถุงทรายขนาดเล็กและขนาดใหญ่มาวางบนโครงสร้างกำแพงที่เสียหายไปเพื่อป้องกันคลื่น แต่ก็ยังพบเห็นความระเกะระกะอยู่ตลอดทั้งแนว ส่งผลให้สภาพของพื้นที่นี้ไม่ปลอดภัยต่อการใช้ประโยชน์ โครงการฟื้นฟูบูรณะกำแพงกันคลื่นบริเวณนี้พร้อมปรับภูมิทัศน์ความยาว 930 เมตร ถูกบรรจุไว้แล้วในร่างแผนงบประมาณประจำปี 2564 และผูกพันถึงปี 2566 ของกรมโยธาธิการและผังเมือง มูลค่างานรวม 147.963 ล้านบาท (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงบประมาณ, 2563)

Beachlover

June 27, 2020