Elastocoast กับกำแพงกันคลื่น

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (Two-component polyurethane) โดยหินกรวดนี้จะถูกน้ำยาเคลือบเหมือนมี Film บางๆของโพรียูรีเทนมาหุ้ม เมื่อน้ำยานี้แข็งตัว Film บางๆที่เคลือบหินกรวดจะเป็นตัวยึดให้หินทุกก้อนติดกันเฉพาะส่วนที่ contact กัน ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างก้อนกรวดนี้ ส่งผลให้โครงสร้างที่ถูกเททับด้วย Elastocoast มีความพรุนน้ำสูง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการการรับแรงปะทะและสลายพลังงานคลื่น Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Elastocoast ไปแล้ว ติดตามได้จาก https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/ วันนี้ขอพาชมโครงการของกรมเจ้าท่าที่ใช้ Elastocoast เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบโครงการกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านทุ่งใหญ่ ต.เขารูปช้าง หรือที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกกันว่าริมทะเลบ่ออิฐ-เกาะแต้ว ที่เพิ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2565 ด้วยระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท พบว่า มีการใช้ Elastocoast กับพื้นที่ด้านในส่วนถัดจากโครงสร้างหลัก หรือ กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงตลอดทั้งแนว โดยมีระดับอยู่ใกล้เคียงกับสันของกำแพงกันคลื่นพอดี โดยพบว่าพื้นที่ด้านในส่วนถัดจาก Elastocoast เข้ามามีการปูทับด้วยคอนกรีตบล็อคเพื่อเป็นทางเดินเท้า จากการสำรวจพบเศษหินขนาดเล็กที่หลุดล่อนออกจากการเคลือบประสานด้วยน้ำยาอยู่บ้าง โดยยังไม่พบความเสียหายในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆที่ใช้ Elastocoast เหมือนกัน อาจเกิดจากการที่พื้นที่อื่นๆได้ใช้ […]

Beachlover

July 7, 2023

รั้วไม้ เป็นสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ?

ตามที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของการปักรั้วไม้ดักทรายโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณบ่ออิฐ เขารูปช้าง จ.สงขลา ไปในโพสก่อนหน้านี้ (https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ และ https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน-ภาคต่อ/) หลังจากการปักรั้วไม้เสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2565 พบว่า กรมเจ้าท่าโดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา ได้แจ้งทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเจ้าของรั้วไม้ดักทรายว่าจะต้องขออนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำกับกรมเจ้าท่าก่อนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (ปี พ.ศ.2537) ซึ่งออกตามความในมาตรา 117 แห่ง พรบ.การเดินเรือน่านน้ำไทย ปี พ.ศ.2456 โดยทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่ารั้วไม้ดักทรายบริเวณนี้ เป็นการนำไม้มาปักบนทรายตามรูปแบบโดยไม่มีการหล่อซีเมนต์หรือวัสดุยึดติดแบบโครงสร้างถาวร ทำจากวัสดุธรรมชาติ มีระยะเวลาการใช้งาน 3-5 ปี และเป็นการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่มีลักษณะกีดขวางการสัญจรทางน้ำ และยังเป็นการดำเนินการงานตามภารกิจ ตาม พรบ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 จึงไม่ต้องขออนุญาตกรมเจ้าท่า เมื่อสองหน่วยงาน จากสองกระทรวงมีความเห็นในข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน จึงหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ได้ข้อยุติว่า การปักรั้วไม้ดักทรายโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณบ่ออิฐ เขารูปช้าง จ.สงขลา จำเป็นต้องขออนุญาตต่อกรมเจ้าท่าหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 7 ลงความเห็นตามเอกสารระบุวันที่ 17 ตุลาคม 2565 […]

Beachlover

October 24, 2022

Elastocoast (อีกแล้ว) บนกำแพงกันคลื่น สงขลา

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/) Beach Lover เคยพาชมโครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดชะอำ บริเวณทิศใต้ติดกับหน้าชายหาดของโรงแรม Vala โรงแรมระดับ Small Luxury Hotels ในเครือ The Regent Cha Am (https://beachlover.net/พาชมโครงสร้าง-elastocoast-ชะอำ/) กำแพงกันคลื่นแบบ Elastocoast ณ หาดกระทิงลาย จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/elastocoast-หาดกระทิงลาย-ยังสบายดี/) และ โครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดพัทยาเหนือ จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/หัวหาด-elastocoast-หาดพัทยา/) วันนี้ขอพาชมโครงการของกรมเจ้าท่าที่ใช้ Elastocoast เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบโครงการกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านทุ่งใหญ่ ต.เขารูปช้าง หรือที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกกันว่าริมทะเลบ่ออิฐ-เกาะแต้ว ที่เพิ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2565 ด้วยระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท Beach […]

Beachlover

October 20, 2022

ตาข่ายลดการกัดเซาะ Derosion lattice แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย

Derosion lattice เป็นเทคโนโลยีจากประเทศไต้หวันเพื่อลดทอนพลังงานคลื่นพร้อมทั้งดักทรายที่มาพร้อมคลื่นไว้บริเวณใกล้ชายฝั่ง สร้างจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงแข็งแรงทนทาน เมื่อใช้งานจะวาง Derosion lattice ไว้ใต้น้ำในเขตน้ำตื้นใกล้ชายหาด (www.reshore.tech) Derosion lattice แตกต่างจากการเติมทรายชายหาดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องทำซ้ำทุกๆสองสามปี ทรายที่มาทับถมจาก Derosion lattice จะไม่ถูกกัดเซาะออกไปอีก และไม่ก่อให้เกิดปัญหาทรายทับถมบนสิ่งมีชีวิตหรือปะการังใต้ทะเลด้วย (www.reshore.tech) หลักการของ Derosion lattice คือการลดทอนพลังงานคลื่นจากแรงเสียดทานและการสั่นสะเทือน (friction and vibration) ทำให้ตะกอนที่มากับคลื่นสามารถตกทับถมบนชายหาดได้ ซึ่งแตกต่างจากเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง หรือ รอดักทราย ที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางของคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณพื้นที่ชายฝั่งข้างเคียงได้ (www.reshore.tech) สำหรับประเทศไทยมีการทดลองใช้ Derosion lattice บริเวณตำแหน่งสิ้นสุดปลายกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่า ณ ชายหาดบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา เป็นแห่งแรก และแห่งเดียว โดยทำการติดตั้งมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ด้วยความร่วมมือของบริษัท Thai Wring Syatems จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรมเจ้าท่า จากการสำรวจภาคสนามพบว่า Derosion lattice ที่ถูกวางในพื้นที่นี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับฐานของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าพอดี […]

Beachlover

July 26, 2022

ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของงานป้องกันชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา ตั้งแต่ปี 2562 ไปแล้วหลายครั้งตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-เขารูปช้าง/   และ https://beachlover.net/ความคืบหน้า-กำแพงบ่ออิฐ/ และ https://beachlover.net/พาชมความคืบหน้าของกำแพงป้องกันชายฝั่ง-บ่ออิฐ-เกาะแต้ว/ มาวันนี้ Beach Lover ขอพาชมผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง โดยกรมเจ้าท่า เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทาง 3,450 เมตร ด้วยงบประมาณ 219,935,000 บาท  จากการสำรวจกลางเดือนกุมภาพันธ์พบว่า โครงสร้างหลักของโครงการซึ่งก็คือกำแพงกันคลื่นนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว คงเหลือเพียงงานปรับพื้นที่ด้านหลัง การปรับภูมิทัศน์ และทางเดินด้านใน โดยมีแผนเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564 แต่ผ่านมาเกือบ 5 เดือนแล้ว ยังไม่แล้วเสร็จ จากการสำรวจภาคสนามพบว่า พื้นที่ ณ ตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างทางทิศเหนือ (ลูกศรสีแดงในภาพ) เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง ต้นสนแนวนอกสุดโค่นล้มในลักษณะถอนรากถอนโคนจำนวนมาก ก่อนหน้านี้กรมเจ้าท่าได้ดำเนินโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง จำนวนรวม 18 ตัว ระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 5.8 กิโลเมตร จากปากร่องน้ำนาทับถึงหาดบ่ออิฐ โดยโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงที่กำลังสร้างอยู่นี้ สร้างต่อจากโครงสร้างเดิมที่สิ้นสุด ณ หาดบ่ออิฐ […]

Beachlover

February 28, 2022

เร่งสำรวจสถานภาพชายฝั่ง และสิ่งก่อสร้างริมทะเลเกาะแต้ว

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่บริเวณหาดบ่ออิฐ ต.เกาะแต้ว อ.เมือง จ.สงขลา ซึ่งอยู่ในระบบหาดสะกอม ผลการสำรวจพบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหลายแบบ เช่น เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง เขื่อนหินทิ้งริมชายฝั่ง กำแพงกันคลื่นประเภทตั้งตรง เป็นต้น และไม่พบการชำรุดของโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง นอกจากนี้ด้านหลังโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งบริเวณหาดบ่ออิฐ พบการสะสมตัวของตะกอนทรายในลักษณะทางธรณีสันฐานแบบสันดอนเชื่อมเกาะ (tombolo) อีกทั้งหาดบ่ออิฐ ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชายหาดและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน

Beachlover

May 7, 2021

พาชมความคืบหน้าของกำแพงป้องกันชายฝั่ง บ่ออิฐ-เกาะแต้ว

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของงานป้องกันชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา ตั้งแต่ปี 2562 ไปแล้วหลายครั้งตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-เขารูปช้าง/ และ https://beachlover.net/ความคืบหน้า-กำแพงบ่ออิฐ/ ครั้งนี้ Beach Lover เปิดภาพมุมสูง ตั้งแต่ตุลาคม 2562 ถึง กุมภาพันธ์ 2564 พาชมความคืบหน้าของการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงพร้อมโครงสร้างประกอบอื่นๆ โดยกรมเจ้าท่า เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทาง 3,450 เมตร ด้วยงบประมาณ 219,935,000 บาท โดยมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564  หากเราสังเกตระยะทางจากชายหาดถึงตำแหน่งจุดอ้างอิง (วงกลมสีแดงในทุกภาพ) จะพบว่า กำแพงกันคลื่นนี้ วางทับลงไปบนพื้นที่ชายหาดทั้งหมด และยังยื่นล้ำลงไปในทะเลค่อนข้างมาก เนื่องจากชายหาดบริเวณนี้ค่อนข้างแคบเพราะเป็นส่วนท้ายน้ำที่ได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่นชุดก่อนหน้านี้ที่เกิดขึ้นไปแล้วทางทิศใต้ ประเด็นที่ต้องตามต่อไปก็คือ ด้วยความกว้างของโครงสร้างขนาดใหญ่ที่วางทับและยื่นล้ำลงไปบนชายหาดธรรมชาติแบบนี้ จะเกิดผลกระทบอย่างไรกับพื้นที่ชายหาดท้ายน้ำ ณ ตำแหน่งสุดปลายกำแพงทางทิศเหนือ คำตอบขอคำถามนี้ แทบจะไม่ต้องใช้เวลาคิดวิเคราะห์อะไรกันเนิ่นนาน เพราะเหตุแห่งการสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแห่งนี้ ก็เกิดจากคำตอบของคำถามที่เป็นข้อห่วงกังวลจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นชุดก่อนหน้านี้ทางทิศใต้เช่นเดียวกัน เราจะต้องตอบคำถามเดิมๆ แก้ปัญหาโดยใช้วิธีการเดิมๆ วนไปวนมากันแบบนี้ จริงๆหรือ ?!?

Beachlover

April 25, 2021

ติดตามการกัดเซาะชายฝั่งหาดม่วงงาม และ บ้านทุ่งใหญ่ จ.สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๙ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งและการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากการก่อสร้างโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ความยาว ๗๑๐ เมตร ซึ่งศาลปกครองสงขลามีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างเป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น หรือจนกว่าคดีจะถึงที่สุด เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๓ พบว่าชายหาดมีตะกอนทรายสะสมเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นการปรับสมดุลโดยธรรมชาติ โครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านทุ่งใหญ่ หมู่ที่ ๓ – ๗ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ความยาว ๓,๔๓๙ เมตร ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ผลการตรวจสอบพบว่าบริเวณจุดสิ้นสุดโครงการมีการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางยาวประมาณ ๒๐๔ เมตร

Beachlover

April 15, 2021

ดูกันชัดๆ กัดเซาะ “ชั่วคราว” หรือ “ชั่วโคตร”

Beach Lover ได้เคยนำเสนอประเด็นกัดเซาะชั่วคราวและชั่วโคตรไปแล้ว ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ชายหาดกัดเซาะแบบไหน/ มาครั้งนี้ ขอนำเสนอภาพถ่ายเพื่อย้ำเตือนประเด็นนี้กันอีกรอบ ณ ชายหาดม่วงงาม หาดแก้ว บ่ออิฐ และหาดชิงโค จ.สงขลา “กัดเซาะชั่วคราว” หรือการเสียสมดุลของชายหาดแบบชั่วคราว ภาพด้านซ้ายมือของชายหาดม่วงงาม ณ ตำแหน่งเดียวกัน เพียงแต่ต่างช่วงเวลากัน แสดงให้เห็นว่า ชายหาดมีความเป็นพลวัต ยามมรสุมชายหาดอาจถูกกัดเซาะไปบ้าง คลื่นขนาดใหญ่วิ่งเข้ามาทักทายถนนให้ชำรุดไปบ้าง แต่ยามปลอดมรสุม คลื่นขนาดเล็กจะหอบเอาทรายขึ้นมาเติมจนเต็ม พืชขึ้นปกคลุมชายหาด ชายหาดกลับมาเสถียรและสมบูรณ์อีกครั้ง ตราบเท่าที่ไม่มีการแทรกแซงสมดุลของชายฝั่งตามธรรมชาติ “กัดเซาะชั่วโคตร” หรือการเสียสมดุลของชายหาดแบบถาวร ภาพด้านขวาของหาดชิงโค บ่ออิฐ และหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท แสดงให้เห็นถึงการกัดเซาะในรูปแบบที่หาดถูกกัดเซาะแบบกัดแล้วไม่คืนสมดุลเดิม ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานขนาดไหนก็ตาม โดยการกัดเซาะลักษณะนี้มักเกิดขึ้นบริเวณที่มีการแทรกแซงสมดุลชายฝั่งจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งในที่นี้คือการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นทางทิศใต้ของทั้งสามพื้นที่ ส่งผลให้ชายหาดด้านทิศเหนือเสียสมดุลและเกิดการกัดเซาะอย่างถาวร “กัดเซาะชั่วคราว” อาจเปลี่ยนเป็น “กัดเซาะชั่วโคตร” ได้เมื่อมีการแทรกแซงสมดุลของชายฝั่งตามธรรมชาติ เป็นต้นว่า การสร้างโครงสร้างในทะเลหรือริมทะเล ที่กีดขวางการเคลื่อนตัวของคลื่นกระแสน้ำและตะกอนชายฝั่ง เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ชายหาดที่เคย “กัดเซาะชั่วคราว” เปลี่ยนเป็น “กัดเซาะชั่วโคตร” แบบที่มิอาจหวนกลับคืนได้ตราบเท่าที่ปัจจัยแทรกแซงนั้นยังคงดำรงอยู่

Beachlover

January 8, 2021

ความคืบหน้างานสร้างกำแพงกันคลื่นหาดบ่ออิฐ-เกาะแต้ว

ชายฝั่งทะเลแถบบ้านบ่ออิฐ เกาะแต้ว เรื่อยมาทางทิศเหนือถึงเขารูปช้าง เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนาทับ แต่เดิมมีเพียงโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นด้านทิศเหนือของปากน้ำเพื่อป้องกันการกัดเซาะเพียง 4 ตัว แต่เนื่องจากผลกระทบของโครงสร้างนั้นนำมาซึ่งผลกระทบชิ่งแบบเป็นโดมิโน่ของชายหาดส่วนถัดไป อีกทั้งหน่วยงานรับผิดชอบเลือกที่จะสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อไปเรื่อยๆ จึงเกิดโครงสร้างทั้งเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย กำแพงกันคลื่นประชิดฝั่ง ต่อเนื่องยาวไปทางทิศเหนือจวบจนถึงปัจจุบัน มีเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งรวมทั้งสิ้น 18  ตัว รอดักทราย 3 ตัว และกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนวยาวประมาณ 8.5 กิโลเมตร ริมถนนหมายเลข สข3004 และแน่นอนว่า ชายหาดด้านถัดไปของตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างตัวสุดท้าย ซึ่งสำหรับบริเวณนี้คือปลายกำแพงกันคลื่น ย่อมเกิดการกัดเซาะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นบริเวณนี้พร้อมโครงสร้างประกอบอื่นๆเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท จะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564 โดยทาง Beach Lover ได้เคยนำเสนอไปเมื่อกลางปี 2562 ในช่วงที่โครงการเพิ่งริเริ่มก่อสร้าง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-เขารูปช้าง/ Beach Lover ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นนี้อย่างต่อเนื่อง พบการเปลี่ยนแปลงของชายหาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึง สิงหาคม 2563 ตามรูป […]

Beachlover

August 25, 2020