น้ำทะเลเป็นสีดำหาดหอยขาว แหลมงอบ จังหวัดตราด

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเล ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม หลังได้รับแจ้งพบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณหาดหอยขาว ตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ระยอง) โดยได้รับการร้องเรียนจากคุณณัชมน เตชอำพร ผ่านทางเว็บไซต์กรมฯ พบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณหาดหอยขาว ตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 โดยเจ้าหน้าที่ทำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในพื้นที่ ทราบว่าพบตะกอนสีดำในช่วงนี้ทุกปี และทำการสำรวจเบื้องต้น 2 สถานี (HK1-2) พบว่าสภาพน้ำทะเลมีตะกอนสีดำ ไม่มีกลิ่น และพบเศษวัสดุสีดำเกยตลอดแนวหาด มีลักษณะคล้ายตะกอนของเศษอินทรีย์สารจากกิ่งไม้ใบไม้ที่เน่าและย่อยสลาย เมื่อมีคลื่นลมแรงจะกวนตะกอนด้านล่างขึ้นมาทำให้น้ำทะเลบริเวณชายฝั่งและชายหาดมีตะกอนสีดำ ทั้งนี้ไม่ใช่คราบน้ำมัน จากนั้นทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำทะเล โดยมีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.08-8.15 อุณหภูมิ 29.0-31.1 องศาเซลเซียส ความเค็ม 21.2-21.3 ส่วนในพันส่วน และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 5.15-6.12 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 1 […]

Beachlover

July 3, 2024

สำรวจการเปลี่ยนแปลงเส้นแนวชายฝั่งหลังการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ห้วงน้ำขาว จังหวัดตราด

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 27 เมษายน 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่ง ลงพื้นที่ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งอยู่ในระบบหาดบ้านแหลมศอก (T1D009) เพื่อสำรวจการเปลี่ยนแปลงเส้นแนวชายฝั่งหลังการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น โดยสำรวจพื้นที่ดังกล่าว ด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ครอบคลุมระยะทางไม้ไผ่ประมาณ 3,200 เมตร พื้นที่ประมาณ 180 ไร่ ผลจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า บริเวณหลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น มีพรรณไม้ป่าชายเลน ได้แก่ ต้นโกงกาง และแสมทะเล ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะนำข้อมูลดังกล่าว มาวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงหลังดำเนินโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ต่อไป

Beachlover

April 29, 2024

ชมหาดสวยบนเกาะกูด

เกาะกูดเป็นเกาะที่อยู่สุดท้ายทางทิศตะวันออกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลตราด และมีความใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะช้างในจังหวัดตราด หรือเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ ความสนใจของเกาะกูดแห่งนี้ กลับไม่ใช่ขนาดที่ใหญ่โตแต่อย่างใด เพราะทะเลสีเทอร์ควอยซ์ของเกาะกูดนั้นคือมนต์เสน่ห์ ที่ทำให้เกาะกูดกลายเป็นสวรรค์ของคนรักทะเลที่มักเดินทางมาสัมผัสความสงบงามท่ามกลางวิถีชีวิตเรียบง่ายของชาวประมงบนเกาะกูดกันอยู่เสมอ (https://thai.tourismthailand.org/Attraction/เกาะกูด) ฝั่งตะวันออกของเกาะกูดมีลักษณะกายภาพเป็นหาดหิน หน้าผาหิน ส่วนหาดทรายและแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมจะตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของเกาะเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เป็นเกาะที่มีจุดชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงามจากหลากหลายมุมมอง Beach Lover ขอพาชมชายหาดบางส่วนทางทิศใต้ฝั่งตะวันตกของเกาะ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั้ง 7 ชายหาดดังนี้

Beachlover

April 4, 2022

หาดชมการกัดเซาะ @ หาดคลองเจ้า เกาะกูด

ประเทศไทยมีเกาะในทะเลกว่า 1,400 เกาะ (ไม่รวมเกาะภูเก็ต) รวมระยะทางตามแนวชายฝั่งของเกาะประมาณ 4,000 กิโลเมตร โดยปกติแล้ว ชายฝั่งบนเกาะต่างๆมักมีสภาพสมดุล โอกาสที่ต้องเผชิญกับปัญหากัดเซาะชายฝั่งมีค่อนข้างน้อย หากเกิดขึ้นมักเกิดในช่วง Extreme event หรือ ถูกแทรกแซงจากกิจกรรมของมนุษย์เป็นหลัก Beach Lover ได้ลงสำรวจภาคสนามของชายหาดรอบๆเกาะกูด จ.ตราด ไม่พบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งเลยยกเว้นบริเวณปากคลองเจ้า ณ หาดคลองเจ้า หน้า Peterpan Resort ที่พักชื่อดังของเกาะกูด จากสภาพที่เห็น พบกระสอบทรายทั้งขนาดเล็กและใหญ่ พร้อมซากต้นไม้ล้มอยู่บ้างตลอดแนวยาวประมาณ 50 เมตร ใกล้ปากคลอง ไม่แน่ใจว่าการกัดเซาะนี้เกิดขึ้นเมื่อใดแต่คาดเดาได้ว่าน่าจะมรสุมครั้งล่าสุดเพราะกระสอบทรายยังคงสภาพดีอยู่ แม้จะดูหลุดออกจากที่ตั้งเดิมไปบ้าง หากชายหาดบนเกาะที่มีความงดงามของชายหาดเป็นจุดขายหลักเกิดการกัดเซาะ หนทางรอด คือการป้องกันแบบชั่วคราวเฉพาะพื้นที่และช่วงเวลาที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น และควรรื้อถอนออกในช่วงเวลาที่หมดความจำเป็น มิฉะนั้นชายหาดสวยงาม ที่เป็นแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวจะหมดมูลค่าลง และยากที่จะฟื้นคืนกลับสู่ความงดงามได้เหมือนเดิม

Beachlover

April 1, 2022

พาสำรวจแนวชายฝั่งสุดแดนตะวันออก หาดไม้รูดถึงหาดบานชื่น

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจสถานภาพชายฝั่งและโครงสร้างริมชายฝั่ง บริเวณหาดบานชื่น (หาดมะโร) ต.ไม้รูด อ.คลองใหญ่ จ.ตราด ซึ่งอยู่ในระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอ่าวไทยตะวันออกตอนล่าง (T๑) ระบบกลุ่มหาดบ้านหาดเล็ก-ไม้รูด (T๑A) ระบบหาดบ้านคลองสน-หาดบานชื่น (T๑A00๔) ผลการสำรวจหาดบานชื่นมีลักษณะทางกายภาพเป็นหาดทราย ชายหาดวางตัวในแนวตะวันตกเฉียงเหนือ-ตะวันออกเฉียงใต้ ตะกอนทรายขนาดละเอียดมาก-ปานกลาง ตะกอนทรายมีสีขาว น้ำทะเลสีฟ้า สุดหาดไปทางด้านทิศเหนือเป็นปากคลองมะโร มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นแหล่งท่องเที่ยว (หาดบานชื่น จัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของ จ.ตราด) มีร้านอาหาร โรงแรม ร้านค้า ที่อยู่อาศัย และพื้นที่สาธารณะ พบโครงสร้างริมชายฝั่งประเภทกำแพงกันคลื่นริมชายหาดแบบตั้งตรงและแบบลาดเอียง ซึ่งพบได้ตั้งแต่บริเวณปากคลองมะโรยาวไปทางตอนใต้ของหาด ระยะทางประมาณ ๒ กม. โครงสร้างบางตำแหน่งเกิดการทรุดตัวของพื้นคอนกรีต ยังไม่มีการซ่อมแซม

Beachlover

April 30, 2021