สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยเรือสำรวจหยั่งน้ำอัตโนมัติ โดยมีเป้าหมายในการสำรวจ 12 แนว จากทั้งหมด 28 แนว มีระยะห่างระหว่างแนวประมาณ 300 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะส่งมอบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ให้คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ เพื่อไปใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเสื่อมโทรมของแนวหญ้าทะเลในพื้นที่ต่อไป

Beachlover

March 13, 2024

โครงการป้องกันชายฝั่งทะเลอันดามันปี 2565 อยู่ตรงไหนบ้าง

Beach Lover ได้เคยนำเสนองบประมาณภาครัฐที่ใช้จ่ายเพื่อโครงการป้องกันชายฝั่งจาก 3 หน่วยงานหลักในแต่ละปีงบประมาณไปแล้วอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2565 ติดตามได้จากโพสเก่าๆโดยค้นหาคำว่า “งบประมาณ” ใน Search icon มุมบนขวา วันนี้ขอพาดู 2 โครงการป้องกันชายฝั่งทะเลอันดามันที่ใช้งบประมาณผูกพันมาจนถึงปี 2565 และผูกพันต่อไปในอนาคต โดยโครงการนี้อยู่ในจังหวัดตรังทั้งคู่ ทั้งสองโครงการนี้ไม่จำเป็นต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพราะมีรูปแบบเป็นกำแพงกันคลื่น โดยโครงการที่หาดสำราญเป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง ส่วนกำแพงกันคลื่นที่หาดแตงโมเป็นกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได แม้ชายฝั่งทะเลอันดามันจะมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งไม่เยอะมากเท่าฝั่งอ่าวไทย แต่หากรัฐยังคงใช้มาตรการป้องกันแบบเดิมๆ ด้วยโครงสร้างทางวิศวกรรม และสร้างต่อไปเรื่อยๆเหมือนเดิม โดยไม่คิดจะหามาตรการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาทดแทน ในเวลาไม่นานจากนี้ สถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งของฝั่งอันดามันอาจจะเขยิบเข้าใกล้ความวิกฤตแบบเดียวกับฝั่งอ่าวไทยก็เป็นได้

Beachlover

February 25, 2022

หาดหัวหิน (ที่ไม่ได้อยู่ประจวบ)

หาดหัวหิน อ.สิเกา จ.ตรัง เป็นชื่อของชายหาดทรายปนหินขนาดเล็ก เป็นชายหาดเงียบๆมักพบเห็นเฉพาะชาวบ้านท้องถิ่นเข้ามาพักผ่อนหย่อนใจและหาปูปลาตามซอกหลืบของหิน  ทิวทัศน์ที่มองจากหาดหัวหินนั้นสวยงามแปลกตาไปด้วยภูเขาหินปูนและเทือกเขาที่วางตัวในตำแหน่งที่เหมาะเจาะและขับให้ทัศนียภาพแถบนี้สวยงามน่าประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ครั้งเมื่อมองเข้ามาที่ชายหาด พบความระเกะระกะของเศษซากของลานปูนที่อยู่ประชิดหาด คาดเดาได้ว่าคงพังทลายจากคลื่นกัดเซาะ ซึ่งไม่แน่ใจว่าเกิดขึ้นเมื่อใด  คาดเดาจากสภาพที่เห็นเชิงประจักษ์เมื่อ 5 ปีก่อน ร่วมกับปัจจุบันพบว่า ลานปูนนี้สร้างขึ้นมาใหม่โดยล้ำลงไปในทะเลค่อนข้างมาก จนเมื่อยามมรสุมระดับน้ำทะเลและคลื่นยกตัวสูงกว่าปกติเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายในที่สุด  เราควรตั้งคำถามกับสิ่งปลูกสร้างประชิดชายหาดเช่นนี้ ว่ายังควรถูกอนุญาตให้สร้างต่อไปอีกหรือไม่ ในหลายพื้นที่ได้พิสูจน์แล้วว่า แม้โครงสร้างจะสร้างในที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง แต่รุกล้ำลงไปในทะเลค่อนข้างมาก ในช่วงปลอดมรสุมอาจไม่เห็นถึงความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ยามมรสุมเราคาดเดาธรรมชาติได้ยากว่าจะรุนแรงมากน้อยขนาดไหนในแต่ละปี ทางที่ดีคือใช้หลักพึงระวังไว้ก่อน กล่าวคือไม่ควรอนุญาตให้มีการสร้างสิ่งปลูกสร้างแบบถาวรล้ำลงไปในเขตอิทธิพลของคลื่นลม

Beachlover

January 29, 2022

ชม 10 หาดสวยแห่งเมืองตรัง

Beach Lover มักพาชมชายหาดที่ถูกคุกคามทั้งจากภัยธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์มามาก วันนี้ขอพาชมชายหาดสวยๆงามกันบ้าง เพื่อกระตุ้นเตือนว่า หาดทรายของเราสวยสมบูรณ์ขนาดไหน อย่าให้ชายหาดเหล่านี้เหลือเพียงตำนาน เราควรช่วยกันดูแลพร้อมทั้งส่งต่อธรรมชาติที่สวยงามแบบนี้เป็นมรดกต่อไปยังรุ่นลูกหลาน

Beachlover

January 26, 2022

หาดเก็บตะวัน…หาดสวยด้วยแท่งปูน ?!

หาดเก็บตะวันเป็นชื่อเรียกขานในแผนที่แหล่งท่องเที่ยวรวมถึงใน Google Map และสารบบแผนที่อื่นๆ แต่ชาวบ้านไม่ได้เรียกหาดที่นี่แบบนี้ ชาวบ้านเรียกรวมๆว่าหาดคลองสนเนื่องจากติดกับท่าเรือคลองสน ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง หาดเก็บตะวันเป็นส่วนหนึ่งของชายหาดส่วนใต้สุดของชายหาดที่ยาวต่อเนื่องมาตั้งแต่คลองโต๊ะบันทางทิศเหนือเรื่อยลงมาถึงคลองสิเกาทางทิศใต้ระยะทางตลอดแนวประมาณ 3.3 กิโลเมตร เป็นหาดทรายที่มีความกว้างมากโดยเฉพาะยามน้ำลง ส่วนบนสุดของชายหาดมีสภาพเป็นทราย ส่วนถัดลงไปมีโคลนปะปนบ้างจากน้ำที่ไหลออกจากคลองลงสู่ทะเล จึงปรากฏให้เห็นไม้ป่าชายเลนขึ้นแซมเล็กน้อย ทิวทัศน์ชายหาดด้านหน้าสวยงามจากภูเขาหินปูนที่ทอดยาวเป็นฉากหลังอยู่ในทะเล แม้สภาพชายหาดจะดูสวยสมบูรณ์ กระนั้นก็ยังพบเห็นเสาเข็มคอนกรีตหลายต้น ถูกตอกเรียงกันเป็นแถวหน้ากระดานเรียงเดี่ยวยาวประมาณ 25-30 เมตร ความสูงจากพื้นทรายประมาณ 1.6-1.8 เมตร โดยพบเศษแท่งปูนและก้อนหินระเกะระกะอยู่ด้านหน้าเสาเข็ม เมื่ออ้อมไปดูทางด้านหลังของเสาเข็ม พบเพียงแนวต้นสนไม่กี่ต้น คาดเดาว่าเสาเข็มนี้น่าจะถูกตอกไว้เพื่อป้องกันต้นสนด้านหลังให้รอดพ้นจากการกัดเซาะในช่วงฤดูมรสุม จากการสังเกตพบว่าในช่วงนี้ (ฤดูปลอดมรสุม) ชายหาดแถบนี้คลื่นลมสงบมาก และน้ำทะเลอยู่ในระดับต่ำไม่ขึ้นมาถึงแนวของเสาเข็มนี้เลย สังเกตได้จากคราบน้ำทะเลด้านหน้าชายหาด ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม การนำเสาเข็มมาตอกประหนึ่งเป็นกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง (ตั้งตรง) บนชายหาดที่กว้างและสวยงามแบบนี้ ถือเป็นการดำเนินการที่ส่งผลเสียต่อทัศนียภาพของชายหาดแห่งนี้มาก ซ้ำร้ายการใช้กำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งจะยิ่งส่งผลเสียต่อหาดด้านหน้ากำแพงอีกด้วย จากข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า การตอกเสาเข็มลงบนหาดเก็บตะวันเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกินความจำเป็นไปมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบโครงสร้างที่นำมาใช้ถือว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบนั้นมักง่ายต่อชายหาดอย่างมากมาย สมควรอย่างยิ่งที่แนวเสาเข็มนี้จะต้องถูกรื้อถอนออก แล้วทดแทนด้วยมาตรการที่เป็นมิตรกว่านี้หากจำเป็น

Beachlover

January 21, 2022

ระดมเก็บขยะลอยน้ำปากคลองตรัง ก่อนออกทะเล

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๗ (ตรัง) ร่วมกับเครือข่ายและกลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่ ๕ อำเภอชายฝั่งใน จ. ตรัง จัดเก็บขยะจากทุ่นกักขยะ (BOOM) บริเวณปากแม่น้ำและคลองที่สำคัญ ภายใต้แผนการบริหารจัดการขยะทะเล จ.ตรัง ประจำสัปดาห์ สามารถจัดเก็บขยะได้ ๑๑๙.๖ กก. เมื่อคัดแยกตามแบบฟอร์ม ICC Card พบขยะส่วนใหญ่เป็น ถุงพลาสติกอื่นๆ ขวดเครื่องดื่ม (พลาสติก) โฟมกันกระแทก ขวดเครื่องดื่ม (แก้ว) และห่อถุงอาหาร ทั้งนี้ได้ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับชุมชนชายฝั่งในพื้นที่ เพื่อรณรงค์ ลด ละ เลิก การทิ้งขยะ เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการ ลดปริมาณ และผลกระทบของขยะลอยน้ำที่จะไหลลงสู่ทะเลต่อไป

Beachlover

October 18, 2021

จัดเก็บขยะจากทุ่นกักขยะปากคลองกะลาเสใหญ่ ทะเลสิเกา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๗ ผตรัง) ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ตำบลเขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง จัดเก็บขยะจากทุ่นกักขยะ (BOOM) บริเวณปากคลองกะลาเสใหญ่ บ้านแหลมมะขาม ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง ได้ขยะรวมประมาณ ๔๐ กก. เมื่อคัดแยกตามแบบฟอร์ม ICC Card พบขยะส่วนใหญ่่ป็นขวดเครื่องดื่ม (พลาสติก) ถุงพลาสติกอื่นๆ กระสอบ เศษโฟม และขวดพลาสติกอื่น ทั้งนี้ ได้ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับชุมชนชายฝั่ง ในการบริหารจัดการขยะทะเลที่จะมีผลกระทบต่อทะเลต่อไป

Beachlover

August 24, 2021

พาสำรวจหาดสวย ชายฝั่งทะเลสิเกา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๗ (ตรัง) สำรวจสถานภาพชายฝั่งทะเล และพื้นที่เกาะในท้องที่ จ.ตรัง บริเวณระบบหาดปากน้ำสิเกา ท้องที่บ้านแหลมมะขาม ม.๓ ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง สภาพโดยทั่วไปมีความสมดุล จากฐานข้อมูลของกรม ทช. ปี ๒๕๖๒ มีอัตราการกัดเซาะปานกลาง ระยะทาง ๘๐ เมตร ผลการตรวจสอบสภาพโดยทั่วไปไม่มีการกัดเซาะเพิ่มเติม และเริ่มปรับสภาพกลับสู่สมดุลโดยธรรมชาติ ส่วนบริเวณท้องที่บ้านหัวหิน ม.๖ ต.บ่อหิน อ.สิเกา จ.ตรัง สภาพโดยทั่วไปมีความสมดุล บางจุดมีการก่อสร้างเขื่อนหินทิ้ง และกำแพงป้องกันคลื่นประเภทลาดเอียง บริเวณจุดสิ้นสุดโครงสร้างมีผลกระทบต่อเนื่อง เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง จากการเลี้ยวเบนของคลื่น (End effect) จากฐานข้อมูลของกรม ทช. ปี ๒๕๖๒ มีอัตราการกัดเซาะปานกลาง ระยะทาง ๑.๔๙ กม. จากการตรวจสอบมีอัตราการกัดเซาะประมาณ ๔.๖๘ เมตร/ปี […]

Beachlover

June 18, 2021

หาดแตงโม เกาะสุกร กำลังจะมีกำแพง (เพิ่ม)!

เกาะสุกร หรือ เกาะหมู ได้ชื่อว่าเป็นเกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของ จ.ตรัง ตั้งอยู่ที่ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ประชาชนที่อาศัยอยู่บนเกาะสุกรส่วนใหญ่กว่า 98% เป็นชาวมุสลิม มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นอัตลักษณ์ของตนเอง มีจุดขายคือเป็นแหล่งปลูกแตงโมที่ใหญ่ที่สุดของ จ.ตรัง และส่งออกไปในหลายจังหวัด และมีฝูงควายทะเลพื้นถิ่นฝูงสุดท้าย บนเกาะสุกรนี้พบฝูงควายพื้นบ้านกว่า 300 ตัว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ควายทะเล บริเวณตลอดแนวชายหาดแตงโม หมู่ที่ 2 บ้านแหลม และหมู่ที่ 3 บ้านทุ่ง หรือทางด้านทิศใต้ของเกาะสุกร มีอยู่ประมาณ 5 ฝูง โดยสามารถพบเห็นได้เพียงแห่งเดียวของไทย จะทยอยกันลงไปเล่นน้ำทะเลวันละ 2 รอบ คือ ตอนเช้าตรู่ตั้งแต่เวลา 05.30 น. และตอนเย็นพลบค่ำตั้งแต่เวลา 18.00 น. หรือช่วงก่อนพระอาทิตย์ขึ้นและก่อนพระอาทิตย์ตก ควายตั้งแต่รุ่นเล็กไปจนถึงรุ่นใหญ่จะเดินลงทะเลเป็นแถวอย่างเป็นระเบียบเล่นน้ำทะเลอย่างสนุกสนาน เป็นอีกมนต์เสน่ห์ที่ทำให้นักท่องเที่ยวและผู้มาเยือนหลงใหล (https://www.prachachat.net/) บนเกาะมีถนนคอนกรีตสภาพดีเดินทางได้เกือบรอบเกาะ (ยกเว้นเฉพาะบริเวณที่เป็นป่าชายเลนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ) มีรถสามล้อไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการท้องถิ่น มีร้านอาหาร ร้านกาแฟ รวมถึงที่พักแบบ […]

Beachlover

April 19, 2021
1 2