กำแพงกันคลื่น… ไปต่อหรือพอแค่นี้?
กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได เป็นทางเลือกเพื่อการป้องกันชายฝั่งทะเลในยุคปัจจุบัน ที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองระบุว่าเป็นแนวทางเลือกที่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการป้องกันชายฝั่งในหลายๆพื้นที่เห็นพ้องต้องกันมากที่สุด เช่น หาดมหาราช [https://beachlover.net/covid19-หาดมหาราช/] หาดม่วงงาม [https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/] จ.สงขลา หาดชะอำ จ.เพชรบุรี [https://beachlover.net/หาดขั้นบันได-ชะอำ/] ปากน้ำปราณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ [https://beachlover.net/ไทยริเวียร่า-ประจวบ/] เป็นต้น โดยทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ระบุว่า โครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดที่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบตามหลักวิชานี้สามารถป้องกันชายฝั่งได้ดี สมควรดำเนินการต่ออีกในหลายพื้นที่ที่ยังรอคอยการแก้ไข เช่น หาดสวนสน จ.ระยอง และ ปากน้ำแขมหนู จ.จันทบุรี ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงตามทฤษฎีก็คือ โครงสร้างกำแพงกันคลื่นไม่ว่าจะเป็นแบบแนวดิ่ง ลาดเอียง หรือแบบขั้นบันไดที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังดำเนินการนั้น มีลักษณะเป็นกําแพงวางตัวตามแนวประชิดและขนานชายฝั่ง เพื่อรับแรงปะทะจากคลื่น ทำหน้าที่ตรึงแนวชายฝั่งให้อยู่กับที่ ทําให้พื้นที่ด้านหลังกําแพงกันคลื่นไม่ถูกกัดเซาะ โดยจะออกแบบไปเป็นรูปแบบใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเชิงพื้นที่ การยอมรับของประชาชน และงบประมาณ เนื่องจากกำแพงกันคลื่นวางตัวขนานกับชายฝั่งจะทำให้เกิดคลื่นสะท้อนด้านหน้ากำแพง โดยที่คลื่นจะมีความรุนแรงขึ้นด้านหน้ากําแพง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการใช้ประโยชน์ด้านหน้ากําแพงได้ เมื่อคลื่นเข้าปะทะกําแพงจะเกิดการตะกุยตะกอนทรายจากชายหาดด้านหน้ากําแพงกันคลื่น แล้วกระแสน้ําในทิศทางออกจากฝั่งซึ่งเกิดจากคลื่นจะพาตะกอนทรายเหล่านั้นออกไปนอกชายฝั่ง ส่งผลให้ระดับสันชายหาดลดต่ำลงระดับน้ำด้านหน้ากำแพงกันคลื่นลึกขึ้นจนชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปในที่สุด ส่งผลเสียต่อทรัพยากรและทัศนียภาพริมทะเล การที่ทรายด้านหน้ากำแพงหายไปยังทำให้เกิดการกัดเซาะที่ฐานของกำแพง ส่งผลต่อเสถียรภาพของกำแพงกันคลื่นด้วย การเลี้ยวเบนของคลื่นเมื่อเข้ากระทบกำลังจะส่งผลให้ชายหาดส่วนถัดไปจากสุดปลายกำแพงด้านท้ายน้ําของกําแพง (Downdrift) เกิดการกัดเซาะได้เช่นกันดังนั้นหากใช้มาตรการสร้างกำแพงกันคลื่น จำเป็นต้องสร้างตลอดทั้งแนว มิฉะนั้นพื้นที่ใกล้เคียงที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันจะเกิดผลกระทบ โดย Beach Lover ได้เคยนำเสนอผลกระทบที่ว่านี้ผ่าน https://beachlover.net/seawall/ […]
