เปิดพิกัดกำแพงกันคลื่น จากงบประมาณปี 2565

เริ่มต้นปี 2565 ด้วยการเปิดพิกัดโครงสร้างป้องกันชายฝั่งจากกรมโยธาธิการและผังเมืองที่อยู่ในเล่มงบประมาณ 2565 โดยทุกโครงการเป็นกำแพงกันคลื่นทั้งหมด มีทั้งที่สร้างใหม่โดยรื้อถอนกำแพงเดิมบนพื้นที่เดิม แต่ส่วนมากเป็นการสร้างในพื้นที่ชายฝั่งใหม่ รวมระยะทางตามแนวชายฝั่งกว่า 38.7 กิโลเมตร ใน 11 จังหวัด โดยจังหวัดที่โชคดีได้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งไปมากที่สุดในปีนี้คือ จ.นครศรีธรรมราช รวม 8 โครงการ หมายเหตุ: รวมโครงการที่ผูกพันในอดีตจนถึงปี 2565 รวมถึงผูกพันไปในอนาคต หากต้องการดูเฉพาะโครงการตั้งใหม่ในปีงบประมาณ 2565 อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/สดๆร้อนๆ-เปิดร่างงบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี-2565/

Beachlover

January 6, 2022

พาชมหาดขั้นบันได(อีกแล้ว) ณ ปากน้ำแขมหนู

Beach Lover ได้เคยพาชมกำแพงกันคลื่นมาแล้วหลากหลายรูปแบบ ในหลายพื้นที่ ติดตามได้จากโพสเก่าๆ โดยเฉพาะกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดที่กำลังเป็นที่นิยมสร้างริมชายฝั่งทะเลโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น ถือว่าเป็นรูปแบบงานป้องกันชายฝั่งที่ Beach Lover ได้เคยพาไปเยี่ยมชมแล้วมากที่สุดเมื่อเทียบกับโครงสร้างรูปแบบอื่นๆ สำหรับกำแพงกันคลื่น ณ ปากน้ำแขมหนู ต.ตะกาดเง้า อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี นั้น Beach Lover ได้เคยพาไปชมผ่านมุมสูงมาแล้วในช่วงกลางปี 2563 ซึ่งในขณะนั้นยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โครงการกำแพงคอนกรีตขั้นบันไดและหินใหญ่เรียง พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนเลียบชายฝั่ง ระยะทาง 530 เมตร ด้วยงบประมาณ 54.643 ล้านบาท (ผูกพัน 2561-2564) โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง มาวันนี้ วันที่กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได ณ ชายหาดปากน้ำแขมหนูได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ Beach Lover จึงขอพามาชมกันอีกรอบ จากภาพพบว่า ด้านหน้ากำแพงไม่มีชายหาดหลงเหลืออยู่แล้ว พบสภาพของพื้นผิวคอนกรีตขั้นบันไดยังคงสภาพดีและยังดูใหม่อยู่มาก เมื่อเดินไป ณ จุดทางลาดสำหรับรถเข็น พบว่าทางลาดและราวกันตกส่วนหนึ่งจมอยู่ในน้ำทะเล และเริ่มพบการขึ้นสนิมเหล็กของวัสดุที่ใช้ เมื่อเดินต่อไปถึงตำแหน่งทิศเหนือสุดของโครงสร้างจรดปากน้ำแขมหนู ส่วนทางทิศใต้สุดของโครงสร้างจรดกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งของเอกชน ซึ่งหมายความว่า หากกำแพงนี้จะส่งต่อผลกระทบไปทางด้านท้ายน้ำ (Downdrift effect) ก็น่าจะกระทบน้อยลงแล้ว […]

Beachlover

December 24, 2021

ตื่นตาตื่นใจ! ‘สาหร่ายสีเขียว กำมะหยี่’ หนึ่งปีมีหน ที่ทะเลปากน้ำปราณ

ที่มา: https://ch3plus.com/news หนึ่งปีจะมีให้เห็นครั้งเดียว เกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติชายหาดทะเลปราณบุรีมีสาหร่ายสีเขียว ดั่งกำมะหยี่ เกิดขึ้นตามขั้นบันไดปูนเขื่อนกันคลื่นแนวชายหาดปากน้ำปราณ ระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร สีสันสวยงาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่บริเวณชายทะเลปราณบุรี ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่กำลังได้รับความนิยมจากประชาชนทั้งคนในพื้นที่และต่างจังหวัดเดินทางมากันเป็นครอบครัวเพื่อมาท่องเที่ยวชายทะเลพักผ่อนหย่อนใจ และสังเกตได้ว่าเวลานี้ที่บริเวณเขื่อนกันคลื่นเป็นขั้นบันไดปูนจะแปรสภาพเป็นสีเขียวกำมะหยี่ ระยะทางยาวกว่า 2 กิโลเมตร ซึ่งเกิดมีสาหร่ายสีเขียวเกาะติดบนขั้นบันไดเขื่อนปูนกันคลื่นตามแนวชายหาด เมื่อสาหร่ายกระทบกับเกลียวคลื่นจะระยิบระยับสวยงาม ขณะนี้จะพบว่าตามขั้นบันไดประมาณ 3 ขั้น ที่ถูกน้ำทะเลท่วมถึงกลายเป็นเหมือนพรมสีเขียว คล้ายกำมะหยี่ ยาวตลอดแนวชายหาดเป็นที่ตื่นตาตื่นใจนักท่องเที่ยวมานั่งชม บ้างคนนำเอาโทรศัพท์ออกมาบันทึกภาพเก็บไว้และแชร์ส่งต่อกันในโซเชียล บรรยายถึงความสวยงาม ซึ่งหากประชาชนจะมาเที่ยวชมปรากฏการณ์พรมสีเขียว คล้ายกำมะหยี่ ต้องมาช่วงเวลาที่น้ำทะเลลดลง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงถึงเย็น จึงจะมองเห็นได้ชัดเจนและสวยงาม สำหรับปรากฏการณ์สาหร่ายสีเขียวมรกต จะเกิดขึ้นช่วงมีฤดูมรสุมพัดเข้าหาฝั่ง ตั้งแต่ปลายเดือน พฤศจิกายน จนถึงเดือน มกราคม โดยเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณชายหาดที่น้ำทะเลท่วมถึง เป็นช่วงที่น้ำทะเลใสสะอาด อากาศบริสุทธิ์ มีแสงแดดที่สาดส่องลงมาช่วงเวลาที่น้ำทะเลขึ้นลงท่วมแนวเขื่อนปูน จะทำให้เกิดอุณหภูมิเหมาะสม ซึ่งจะทำให้เกิดความสมดุลของระบบนิเวศน์ที่เหมาะสมจนเกิดสาหร่ายทะเลสีเขียวกำมะหยี่ แต่ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นอยู่ไม่นาน เมื่อใดที่น้ำทะเลลดลง บริเวณขั้นบันไดน้ำทะเลขึ้นไม่ถึง สาหร่ายที่เกิดเป็นแนวยาวก็จะถูกแสงแดดแผดเผาจนสาหร่ายแห้งเป็นสีขาวและตายไป ก็ถือเป็นไฮไลท์ในช่วงนี้ก็ว่าได้ ฝากเตือนประชาชน เวลาจะไปถ่ายภาพ ระวังอย่าลงไปเหยียบสาหร่าย […]

Beachlover

December 22, 2021

พาชมกำแพงกันคลื่นริมชายหาดคอกวาง @ เกาะลันตา

ชายหาดคอกวาง คือชายหาดส่วนหัวเกาะลันตาใหญ่ทางทิศเหนือฝั่งตะวันออก มีโรงแรม ร้านอาหาร และที่ดินที่ยังเป็นแปลงว่างรอการพัฒนาตลอดทั้งแนว ด้านนอกชายฝั่งยามน้ำลงสามารถเดินไปที่เกาะเล็กๆที่อยู่นอกชายฝั่งได้ ทัศนียภาพสวยงาม ทรายสีไม่ขาวนักแต่มีความละเอียดสูง กำแพงกันคลื่นที่ Beach Lover พาชมในครั้งนี้อยู่ปลายเหนือสุดของชายหาดติดกับคลองลัด ด้านในกำแพงเป็นที่มีเอกสารสิทธิ์แต่ยังไม่มีการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์ น่าจะเป็นเจ้าของที่ดินที่สร้างกำแพงนี้แบบแนวดิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อป้องกันที่ดินตนเอง จากสภาพพบว่า พื้นที่ด้านในริมกำแพงเสียหายทรุดตัวแล้วตลอดทั้งแนว ที่เป็นเช่นนั้นเนื่องจากเมื่อคลื่นปะทะกำแพงจะเกิดคลื่นสะท้อนกลับโดยจากตะกุยเอาทรายหน้ากำแพงไปด้วย ส่งผลให้ด้านหน้ากำแพงตัดลึกชันขึ้นจนทรายด้านหน้ากำแพงหายไปในระดับที่ถึงฐานกำแพง จากนั้นดินทรายด้านในกำแพงจะไหลออกผ่านช่องว่างนี้ อีกทั้งคลื่นที่เข้าปะทะและข้ามสันกำแพง ยิ่งเร่งให้เกิดความเสียหายพื้นที่ด้านในมากยิ่งขั้นอีก กำแพงแนวดิ่งมักเกิดผลกระทบเช่นนี้ซ้ำๆในหลายพื้นที่ (สืบค้นได้จากข้อมูลเก่าในเวบนี้) หน่วยงานที่รับผิดชอบรวมถึงเอกชนเจ้าของพื้นที่ควรเร่งทำความเข้าใจว่าหากจำเป็นต้องสร้างกำแพงป้องกันชายฝั่ง ควรหลีกเลี่ยงการสร้างกำแพงแนวดิ่งตั้งตรงแบบนี้กันเสียที

Beachlover

December 21, 2021

ถนนเส้นใหม่เลียบหาดปากแตระ ระโนด

ปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลา ในอดีตเป็นหาดทรายยาวต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันพื้นที่หมู่ 3,4 และ 5 ของปากแตระนี้ เป็นพื้นที่ที่มีงานก่อสร้างโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งพร้อมปรับภูมิทัศน์จำนวน 4 โครงการ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2565 รวมความยาวตามแนวชายฝั่ง 2.7085 กิโลเมตร งบประมาณรวมทั้งสิ้น 386.08 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วกำแพงกันคลื่นแบบที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังก่อสร้างอยู่ และจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2565 นี้ มีราคากิโลเมตรละ 142.54 ล้านบาท !!! อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-หาดปากแตระ/ Beach Lover ได้มีโอกาสลงสำรวจภาคสนามหาดแถบนี้อีกครั้ง พบว่าบัดนี้ไม่มีชายหาดให้ลงเหยียบย่ำทรายให้เปียกเปื้อนเท้าอีกแล้ว หาดปากแตระส่วนนี้ถูกแทนที่ด้วยกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดและหินเรียง รวมถึงถนนสองเลนริมชายหาด และฟุตบาทกว้างสองฝั่งถนน ก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่ามีการสร้างทางลาดเพื่อขึ้นลงเรือ แต่ไม่พบการลากเรือขึ้นลงแต่อย่างใดเนื่องจากมีความลาดชันค่อนข้างสูงและช่องเปิดเพื่อลากเรือขึ้นนั้นค่อนข้างแคบ สังเกตจากสภาพแล้วคาดว่าจะไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน คำถามที่น่าสนใจคือ อดีตของหาดแถบนี้ไม่เคยมีถนนเลียบชายหาดมาก่อน ระยะต่อมาได้มีการนำดินลูกรังมาถมเพื่อทำเส้นทางสัญจรขนาดเล็กๆสำหรับชาวบ้าน (ไม่ทราบหน่วยงาน) เหตุผลใดจึงมีการขยายขนาดถนนให้มีความกว้างระดับทางหลวงสายหลักพร้อมฟุตบาทถึงสองฝั่งถนนขนาดใหญ่ ยังไม่รวมความกว้างของกำแพงกันคลื่นขนาดใหญ่นี้ที่วางทับลงไปบนชายหาดอีก  หากพื้นที่นี้เกิดการกัดเซาะรุนแรงจริงในระดับที่ต้องใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม และหากวัตถุประสงค์หลักของโครงสร้างกำแพงกันคลื่นนี้คือป้องกันรักษาพื้นที่ชายฝั่งให้รอดพ้นจากการถูกกัดเซาะรุนแรงนี้ ก็ควรสร้างกำแพงกันคลื่นในขนาดเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์หลัก แต่จากสภาพที่เห็นพบว่าโครงสร้างนี้มีขนาดที่เกินจำเป็นไปมาก  การสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเมื่อมีเหตุจำเป็นนั้นไม่ผิด ผิดที่มันมีขนาดที่เกินจำเป็นไปมาก และเมื่อเป็นเช่นนั้น มันจะรบกวนกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่งอย่างเกินพอดีเช่นเดียวกัน

Beachlover

December 19, 2021

เกิดอะไรขึ้น ณ ปลายสุดหาดกำแพง ชิงโค

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดทรายแก้ว-ชิงโค ไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดคอนกรีต-ชิงโค/ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้ Beach Lover ขอพาไปชมโครงการนี้อีกครั้ง ณ ปลายสุดทางทิศเหนือของกำแพงกันคลื่นระยะที่ 4 ซึ่งมีระยะทาง 801 เมตร งบประมาณ 90 ล้านบาท (จากทั้งหมด 4 ระยะ งบประมาณรวม 375.5 ล้านบาท ระยะทางรวมทั้งสิ้น 2.617 กิโลเมตร) โดยครั้งนี้โครงสร้างหลักทั้งหมดได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว เหลือเพียงการปรับภูมิทัศน์เท่านั้น จากสภาพที่เห็นพบว่า เกิดความชำรุดเสียหายของเลนจักรยานสีฟ้า กล่าวคือมีการแตกร้าวและทรุดตัว ส่วนพื้นที่ด้านหลังกำแพงนั้น คลื่นได้ปะทะและข้ามสันกำแพงโดยนำตะกอนทรายและขยะมาทับถมจำนวนมาก เมื่อสังเกตด้านท้ายน้ำของโครงสร้างกำแพงกันคลื่น หรือทางด้านทิศเหนือพบว่า มีร่องรอยของการกัดเซาะให้เห็นชัดเจนมากกว่าเมื่อครั้งก่อนๆ รวมถึงครั้งล่าสุเมื่อ ตุลาคม 2564 ที่ Beach Lover ได้ทำการบันทึกภาพมุมสูงเอาไว้ ซากของเสาไม้ที่ปักอยู่นี้ คือมาตรการลดผลกระทบด้านท้ายน้ำที่อาจเกิดจากโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบคอนกรีตทางทิศใต้ โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในฐานะเจ้าของโครงการทดลองดำเนินการเป็นที่แรก โดยได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโค้งรับหน้าคลื่น และมีการปักเป็นแถวเสริมด้านหน้ากำแพงด้วยตามแบบ เมื่อตรวจสอบกับภาพมุมสูงที่ Beach Lover ได้เคยบันทึกเอาไว้เมื่อ […]

Beachlover

December 17, 2021

อ่างเก็บน้ำ ณ หาดสวนสน บ้านเพ ?!?

Beach Lover ได้เคยพาชมสภาพชายหาดสวนสน บ้านเพ จ.ระยอง ไปแล้วเมื่อปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปรักหักพัง-หาดสวนสน/ ผ่านมาแล้วกว่า 1 ปีครึ่ง ซากปรักหักพังของพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งนี้ยังคงปรากฏชัด มีสภาพตามรูป คาดว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบได้นำซากวัสดุก่อสร้างจากที่อื่นมาถมทับพื้นที่ด้านหลังกำแพงที่เกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่จากคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะและข้ามสันกำแพงมาก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ด้านหลัง ซากที่พบนี้ระเกะระกะและเป็นอันตรายต่อประชาชนผู้เข้ามาใช้พื้นที่นี้เป็นอย่างยิ่ง พบแท่งเหล็กโผล่ออกมาหลายจุด การเดินไปมาบริเวณนี้ก็ทำได้ยากและพบเห็นอุบัติเหตุหลายรายที่เดินเหยียบแผ่นพื้นและสะดุดหกล้ม ไม่ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบคิดว่าจะดำเนินการแก้ไขด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งที่ควรคำนึงถึงอย่างยิ่งยวดคือความปลอดภัยของประชาชน หากมาตรการแก้ไขกำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ อาจใช้วิธีนำเชือกมากั้นพื้นที่ไว้ก่อน หรือหากยังคิดหนทางแก้ไขไม่ได้ ควรนำซากปรักหักพังนี้ออกไปจากพื้นที่ แล้วนำดินทรายมาถมเพื่อปรับพื้นที่ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนจากภาพถ่ายยามทะเลสงบปราศจากคลื่นลมนี้คือ สันของกำแพงกันคลื่นแทบไม่ต่างอะไรกับสันหรือขอบของอ่างหรือสระเก็บกักน้ำเลย ยามน้ำขึ้นและชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไป ดูเผินๆทะเลก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำในอ่างเก็บน้ำ และสันของกำแพงป้องกันชายฝั่งก็แทบไม่ต่างอะไรกับสันขอบของอ่างเก็บน้ำเช่นเดียวกัน

Beachlover

December 15, 2021

พาชมหาดขั้นบันไดแห่งบ้านเพ ระยอง

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได ณ ชายหาดบ้านเพไปแล้วติดตามได้จากโพสเก่าๆ https://beachlover.net/ความคืบหน้า-งานก่อสร้างกำแพงกันคลื่น-หาดสวนสน-ระยอง/ Beach Lover ได้มีโอกาสกลับมาที่หาดบ้านเพอีกรอบในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2564 พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดพร้อมการปรับภูมิทัศน์ตลอดแนวกว่า 500 เมตร โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว พบว่าสภาพกำแพงยังใหม่และอยู่ในสภาพดี พบว่าด้านหน้ากำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดนี้ ไม่มีชายหาดหลงเหลืออยู่แล้ว เมื่อเทียบกับภาพในโพสเก่าๆที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอไปเมื่อปีที่แล้ว (2563) จะพบว่ากำแพงกันคลื่นนี้ได้วางทับลงไปบนชายหาด จึงไม่น่าแปลกใจว่าชายหาดที่มีอยู่อย่างจำกัดและค่อนข้างสั้นอยู่แล้วจะหายไปทั้งหมด

Beachlover

December 13, 2021

ผลกระทบของกำแพงกันคลื่นหาดสะพลี

Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจกำแพงกันคลื่นยาว 75 เมตร หลังโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 78 ณ ชายหาดสะพลี จ.ชุมพร พบว่าลาด Slope ด้านหน้ากำแพงหลุดออกไปแล้วทั้งหมด หลงเหลือเพียงโครงสร้างหลักที่เป็นแบบตั้งตรง ชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่า ยามคลื่นแรง นักเรียนไม่สามารถเรียนได้เนื่องจากคลื่นปะทะกำแพงอย่างรุนแรงและซัดข้ามเข้ามาด้านในอาคาร นอกจากนั้นยังพบว่า ชายหาดด้านทิศเหนือซึ่งเป็นที่ตั้งของร้านอาหารได้รับผลกระทบจากกำแพงกันคลื่นของโรงเรียน จนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันพื้นที่ตนเอง รวมถึงใช้กระสอบทรายป้องกันแบบชั่วคราวในบางฤดูกาลร่วมด้วย

Beachlover

December 7, 2021

ติดตามสภาพชายฝั่ง อ.หลังสวน ชุมพร

ชายฝั่งทะเล อ.หลังสวน จ.ชุมพร มีความยาวประมาณ 35.35 กิโลเมตร มีตำบลติดชายฝั่งทั้งหมด 4 ตำบลได้แก่ ต.บางน้ำจืด ต.ปากน้ำ ต.บางมะพร้าว และ ต.นาพญา โดย ในปี 2564 นี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นโครงการป้องกันชายฝั่งจำนวน 4 โครงการ ใน 4 ตำบลชายฝั่งของ อ.หลังสวน (ค้นอ่านประกาศประชุมรับฟังความคิดเห็นได้จาก Search icon) ระยะทางรวม 6.14 กิโลเมตร หรือ คิดเป็น 17.4% ของความยาวชายฝั่งใน อ.หลังสวน โดยทั้ง 4 โครงการได้แก่ 1.ชายทะเลบ้านบางมั่น ต.นาพญา ความยาว 2,000 เมตร 2.ชายฝั่งบ้านหนองทองดี 1 ถึงบ้านจมูกโพรง ต.บางมะพร้าว ความยาว 2,520 เมตร 3.ชายฝั่งเลียบ ถ.ทางหลวงชนบท ด้านเหนือสำนักสงฆ์เขาไทรทอง ต.บางน้ำจืด […]

Beachlover

December 6, 2021
1 8 9 10 24