7 ข้อชวนคิด กับโครงการถมทะเลอ่าวไทย…เอาไงดี

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงโครงการถมทะเลในบริบทของการพัฒนาและขยายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ในงาน Vision for Thailand 2024 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 โดยเสนอให้มีการถมทะเลที่บางขุนเทียนและปากน้ำ เพื่อให้ได้พื้นที่ลดความแออัดของกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่ง และเป็นเมืองสีเขียวและเมืองใหม่ ให้เฉพาะรถไฟฟ้าวิ่งเท่านั้นและมีรถไฟเชื่อม และป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯได้ (อ้างอิง) นายทักษิณเน้นย้ำถึงความสำคัญของการลงทุนภาครัฐในช่วงสามปีของรัฐบาลนี้ และกล่าวว่าโครงการถมทะเลจะช่วยให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน (อ้างอิง) หลังจากนั้นตัวแทนของพรรคเพื่อไทยได้ออกมาอธิบายถึงแนวคิดหลักของโครงการนี้เพิ่มเติมในชื่อใหม่ที่เรียกว่า “โครงการสร้อยไข่มุกอ่าวไทย” โดยการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปในทะเลในลักษณะของเกาะ ซึ่งเบื้องต้นอาจจะมีเกาะจำนวน 9 เกาะ และให้แต่ละเกาะมีเขื่อนเป็นแนวกั้นน้ำ และมีประตูเปิด-ปิดได้ซึ่งเกาะแรกจะสร้างในพื้นที่ของชายทะเลบางขุนเทียน จากนั้นจะสร้างเกาะอื่นไปจนถึงชลบุรี รวมระยะทางตลอดอ่าวตัว ก.ประมาณ 100 กิโลเมตร  ทั้งนี้พื้นที่เกาะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดเชื่อมของเขื่อนกั้นน้ำแต่ละเกาะจะมีขนาดประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร และสร้างห่างจากชายฝั่งไป 1 กิโลเมตร มีถนนเชื่อมกับพื้นที่ชายฝั่งเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปยังพื้นที่เกาะต่างๆ ได้  สำหรับแนวทางการลงทุนจะเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน โดยผู้ที่เข้ามาลงทุนจะได้สัมปทานการใช้ที่ดินอาจจะเป็น 99 ปี ซึ่งสามารถพัฒนาเกาะนี้ใช้ประโยชน์ในหลายรูปแบบต่างๆ อาทิ การพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่จะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ หรือเป็นเมืองใหม่ที่เป็นสมาร์ตซิตี้ใช้พลังงานสะอาด โดยจะมีการติดตั้งกังหันลมหรือโซลาร์เซลล์ก็สามารถที่จะออกแบบได้ โดยเมื่อหมดระยะเวลาสัมปทานแล้วพื้นที่นี้ก็จะเป็นของภาครัฐ (อ้างอิง) สำหรับแนวความคิดนี้ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ของภาครัฐที่ได้โครงสร้างพื้นฐานในการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่ลุ่มในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล […]

Beachlover

September 17, 2024

บางขุนเทียน ทะเลกรุงเทพ

“ทะเลกรุงเทพ” ของจริงอยู่ที่นี่ ไม่ใช่ “สวนสยาม” อย่างที่ใครเค้ากล่าวอ้างแต่อย่างใด! กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดทะเลประมาณ 5 กิโลเมตร ในเขตบางขุนเทียน ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ชายฝั่งทะเลถูกกัดกินลึกเข้าไปแล้วกว่า 1 กิโลเมตร กรุงเทพมหานครพยายามต่อสู้กับธรรมชาติโดยการปักเสาไฟฟ้า ปลูกป่าชายเลน ปักไม้ไผ่มาอย่างต่อเนื่อง แม้กิจกรรมหลักจะไม่ได้ใช้งบประมาณประจำปีของกรุงเทพฯ แต่ก็เป็นงบประมาณที่มหาศาลมากจากภาคเอกชนผ่านทางมูลนิธิเพื่อปลูกป่าชายเลน ล่าสุดได้วางแผนใช้งบประมาณ 1,400 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Breakwater) ท่าเรือ ทางเดินธรรมชาติ และศูนย์การเรียนรู้เรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง โดยโครงการทั้งหมดนั้นผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อนงบก้อนนี้ถูกตีตกไปในการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 แต่กรุงเทพมหานครยังคงไม่ลดละความพยายาม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการของบประมาณปี 2565 เพื่อการดำเนินโครงการนี้ งบประมาณที่ใช้กว่า 1,400 ล้านบาท นั้น เท่ากับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 เพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของ 2 กรมรวมกันคือกรมเจ้าท่าและกรมโยธาธิการและผังเมือง แต่ครั้งนี้จะใช้เพื่อป้องกันชายฝั่งกรุงเทพมหานครระยะทางเพียง 5 กิโลเมตร ?!?!?

Beachlover

November 22, 2020