พาชมเกาะลิดี เกาะเล็กๆใกล้ฝั่งละงู

ลิดี เป็นภาษามลายูแปลว่า “ไม้เรียว” เกาะลิดีอันที่จริงแล้วประกอบด้วยสองเกาะ คือ ลิดีใหญ่ และ ลิดีเล็ก เกาะลิดีใหญ่นั้นเป็นเกาะสัมปทานรังนกของบริษัท Scotch รังนก ส่วนเกาะลิดีเล็กเป็นเขตอุทยานและเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยาน เกาะลิดี อยู่ห่างจากที่ทำการแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา (อ่าวนุ่น) ประมาณ 5 กม. และห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 7 กม. เนื้อที่ประมาณ 10 ตร.กม. มีหาดทรายขาว เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเล่นน้ำทะเล ปัจจุบันเกาะลิดีมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ มีบ้านพัก และบริเวณที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว (http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=4648) เมื่อขึ้นฝั่งบนเกาะลิดีเล็ก จะพบสะพานคอนกรีตที่ใช้เป็นทางเดินเชื่อมระหว่างท่าเทียบเรือกับชายหาดอีกด้านหนึ่งของเกาะที่เป็นที่ตั้งของอุทยานฯ ริมทางเดินจะพบโขดหินรูปร่างแปลกตา และชายหาดเล็กๆ เมื่อสุดปลายทางเดินระยะทางประมาณ 260 เมตร จะพบชายหาดด้านหน้าอุทยาน เป็นหาดทรายขาวความยาวประมาณ 230 เมตร วางตัวในทิศตะวันออก-ตะวันตก ความกว้างประมาณ 15 เมตร ทรายขนาดไม่ละเอียดนัก และพบว่ามีความขาวมากกว่าทรายบนชายหาดฝั่งปากบารา เมื่อเดินถัดเข้าไปบริเวณด้านหลังที่ทำการอุทยานจะพบชายหาดขนาดเล็กระหว่างโขดหิดอีกหนึ่งหาด ความยาวประมาณ 75 เมตร ชายหาดทั้งสองแห่งนี้ หากเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว หรือเปิดให้มีการพักค้างและทำกิจกรรมของนักเรียนนักศึกษาเหมือนปกติก่อนช่วง COVID-19 […]

Beachlover

July 13, 2022

อ่าวเคย … อ่าวนี้เคยเกือบจะมีกำแพง

อ่าวเคยตั้งอยู่ใน อ.กะเปอร์ จ.ระนอง มีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 1.7 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นหาดทรายยาวต่อเนื่องตลอดทั้งแนว พื้นที่ทางทิศใต้เป็นชุมชนประมงขนาดเล็กมีบ้านเรือนประชิดชายหาด 2 หลัง และมีโรงเก็บอุปกรณ์ประมง 1 หลัง ตลอดแนวเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติแหลมสน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยมีพื้นที่ที่มีเอกสารสิทธิปะปนอยู่ในพื้นที่นี้ด้วย แต่มิได้อยู่ประชิดทะเล จากการสำรวจภาคสนามในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 พบซากปรักหักพังของโครงสร้างบางอย่างบนชายหาด โดยชาวบ้านเล่าว่าเคยเป็นทางลาดคอนกรีตมาก่อน แต่พายุซัดพังจนไม่สามารถใช้งานได้ ในอดีตชาวบ้านได้ร้องขอความอนุเคราะห์โครงการป้องกันชายฝั่งไปที่กรมเจ้าท่า จากนั้นกรมเจ้าท่าได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา ให้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสำรวจออกแบบ โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณบ้านอ่าวเคย หมู่ 5 ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง สัญญาจ้างลงวันที่ 26 กันยายน 2556 วงเงินค่าจ้างทั้งสิ้น 9,992,950 บาท จากผลการศึกษา รูปแบบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะที่มีความเหมาะสมคือ ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น 1 ตัว ยาว 300 เมตร ยื่นตั้งฉากกับเขาอ่าวเคย ด้านทิศตะวันตก ก่อสร้างรอดักทราย 1 ตัว ยาว 100 เมตร […]

Beachlover

February 23, 2022

คิดถึงอ่าวมาหยากันไหม

อ่าวมาหยาได้เปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปยลโฉมกันอีกครั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา หลังจากปิดกิจกรรมการท่องเที่ยวมาอย่างยาวนานถึง 3 ปี 7 เดือน ก่อนที่จะได้ไปเหยียบทรายที่นุ่มดุจพรมของอ่าวมาหยากันอีกครั้ง Beach Lover ขอนำเสนอเรื่องราวบางส่วนเพื่อประกอบการกลับไปชมความงดงามระดับโลกนี้ อ่าวมาหยาเป็นส่วนหนึ่งของเกาะพีพีเล จ.กระบี่ ตัวเกาะมีลักษณะเป็นภูเขาหินปูน มีหน้าผาสูงชันตั้งฉากกับพื้นผิวทะเล โดยรอบเกือบทั้งเกาะมีน้ำลึกเฉลี่ยประมาณ 20 เมตร เกาะแห่งนี้มีเวิ้งอ่าวสวยงามหลายแห่ง อาทิ อ่าวปิเละ อ่าวมาหยา และอ่าวโล๊ะซามะ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะพีพีเลมีถ้ำไวกิ้งและถ้ำพญานาค ภายในถ้ำทางทิศตะวันออกหรือทิศใต้พบภาพเขียนสีสมัยประวัติศาสตร์เป็นรูปช้างและรูปเรือชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถทำกิจกรรมนันทนาการได้อย่างหลากหลาย ทั้งการดำน้ำชมแนวปะการัง เล่นน้ำ และพายเรือแคนูชมทัศนียภาพ เป็นต้น ข้อมูลจากฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศกลางด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (http://fgds.dmcr.go.th) ของเกาะพีพีเล พบว่า โดยรอบเกาะนั้น ล้อมรอบไปด้วยปะการัง พบปะการังเทียมด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ และมีชายหาดทรายเพียงแห่งเดียวคืออ่าวมาหยา  พื้นที่หน้าหาดของอ่าวมาหยามีความยาวประมาณ 270 เมตร ความกว้างประมาณ 15 – 20 เมตร จากสันทรายไปยังน้ำทะเล เม็ดทรายสีขาวมีขนาดเฉลี่ย 0.25 มิลลิเมตร บริเวณสันทรายมีสังคมพืชชายหาดท้องถิ่น เช่น ต้นรักทะเล ต้นพลับพลึงทะเล ต้นหูกวาง หญ้า และต้นหมัน เป็นต้นส่วนพื้นที่ของเกาะพีพีเลที่ด้านหลังของอ่าวมาหยามีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น […]

Beachlover

January 4, 2022

อ่างเก็บน้ำ ณ หาดสวนสน บ้านเพ ?!?

Beach Lover ได้เคยพาชมสภาพชายหาดสวนสน บ้านเพ จ.ระยอง ไปแล้วเมื่อปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปรักหักพัง-หาดสวนสน/ ผ่านมาแล้วกว่า 1 ปีครึ่ง ซากปรักหักพังของพื้นที่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งนี้ยังคงปรากฏชัด มีสภาพตามรูป คาดว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบได้นำซากวัสดุก่อสร้างจากที่อื่นมาถมทับพื้นที่ด้านหลังกำแพงที่เกิดเป็นโพรงขนาดใหญ่จากคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะและข้ามสันกำแพงมาก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่ด้านหลัง ซากที่พบนี้ระเกะระกะและเป็นอันตรายต่อประชาชนผู้เข้ามาใช้พื้นที่นี้เป็นอย่างยิ่ง พบแท่งเหล็กโผล่ออกมาหลายจุด การเดินไปมาบริเวณนี้ก็ทำได้ยากและพบเห็นอุบัติเหตุหลายรายที่เดินเหยียบแผ่นพื้นและสะดุดหกล้ม ไม่ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบคิดว่าจะดำเนินการแก้ไขด้วยวิธีใดก็ตาม สิ่งที่ควรคำนึงถึงอย่างยิ่งยวดคือความปลอดภัยของประชาชน หากมาตรการแก้ไขกำลังจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ อาจใช้วิธีนำเชือกมากั้นพื้นที่ไว้ก่อน หรือหากยังคิดหนทางแก้ไขไม่ได้ ควรนำซากปรักหักพังนี้ออกไปจากพื้นที่ แล้วนำดินทรายมาถมเพื่อปรับพื้นที่ให้ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างปลอดภัย สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนจากภาพถ่ายยามทะเลสงบปราศจากคลื่นลมนี้คือ สันของกำแพงกันคลื่นแทบไม่ต่างอะไรกับสันหรือขอบของอ่างหรือสระเก็บกักน้ำเลย ยามน้ำขึ้นและชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไป ดูเผินๆทะเลก็ไม่ต่างอะไรกับน้ำในอ่างเก็บน้ำ และสันของกำแพงป้องกันชายฝั่งก็แทบไม่ต่างอะไรกับสันขอบของอ่างเก็บน้ำเช่นเดียวกัน

Beachlover

December 15, 2021

รื้อแล้ว! โครงสร้างปากคลองจาก @ อ่าวนาง

Beach Lover ได้เเคยนำเสนอเรื่องราวของโครงสร้างบางอย่างที่กำลังเกิดขึ้น ณ ปากคลองจาก อ่าวนาง จ.กระบี่ไปเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2563 ตามโพสนี้ https://beachlover.net/คลองจาก-อ่าวนาง-กำลังสร้างอะไรกัน/ หลังจากนั้นก็ได้รับทราบข่าวว่า มีการร้องเรียนเรื่องนี้ไปยังสื่อต่างๆ [ตัวอย่าง https://www.77kaoded.com/news/pradit/2039902 และ https://www.youtube.com/watch?v=oEZnVLxyn7U] และไปยังหลายหน่วยงาน รวมถึงกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่เกี่ยวข้อง Beach Lover ได้ตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลพบว่า โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบายน้ำเสียลงทะเล ของ อบต.อ่าวนาง ซึ่งยังมิได้ดำเนินการขออนุญาตจากกรมอุทยานฯ จึงมีการสั่งรื้อถอนในที่สุด จากการสำรวจภาคสนามในวันที่ 26 ธันวาคม 2563 พบว่า คันหินที่เคยยื่นล้ำลงไปบนชายหาดกำลังถูกรื้อถอนออก และสภาพของน้ำในคลองไม่เน่าเสีย ปากคลองเริ่มค่อยๆฟื้นคืนสภาพเดิมแล้ว ประเด็นชวนคิดต่อก็คือ (1) เหตุใดโครงสร้างปากร่องน้ำแบบนี้ จึงเกิดขึ้นได้ ณ ชายหาดท่องเที่ยวกันเลื่องชื่อของกระบี่ โดยไม่มีแม้แต่เสียงคัดค้าน หากเรื่องไม่ถูกนำสู่สาธารณะ ไม่มีการร้องเรียน โครงสร้างที่ว่านี้ก็คงแล้วเสร็จไปนานแล้ว ทั้งที่โครงสร้างลักษณะนี้ไม่ว่ามันจะถูกตีความเป็นรอบังคับกระแสน้ำ หรือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำก็ตาม ต้องจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ด้วยเหตุที่ว่าจะนำพาความเสียหายต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (2) หากโครงการบำบัดน้ำเสียและระบายน้ำออกสู่ทะเลนี้มีความจำเป็นจริงๆ ควรเลือกทางเลือกอื่นที่ไม่กระทบต่อพื้นที่ชายหาดท่องเที่ยวอันเลื่องชื่อและเป็นหน้าเป็นตาของชาวกระบี่แบบนี้ โดยทางเลือกเหล่านั้นอาจเป็นการขุดลอกทางระบายน้ำให้ไหลเร็วขึ้นแทนการบังคับกระแสน้ำลงทะเลโดยการใช้โครงสร้างปากร่องน้ำ หรือผันน้ำไปออกเส้นทางน้ำอื่น อย่างไรก็ตาม […]

Beachlover

January 5, 2021