คดีประวัติศาสตร์ “หาดกัดเพราะรัฐสร้าง” คาบสมุทรตากใบ นราธิวาส

ริมชายฝั่งบริเวณนี้ถูกกัดเซาะไปแล้วกว่า 18 ไร่ หลังการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตลอดแนวกว่า 20 กิโลเมตรบนคาบสมุทรตากใบ โดยกรมชลประทาน ชัยชนะจากการต่อสู้โดยลำพังของผู้หญิงคนนึงมาตลอดเกือบ 20 ปี ด้วยความเชื่ออย่างสุดใจว่า “ความจริงจะชนะทุกสิ่งแม้แต่ผู้ถืออำนาจรัฐ” จะถูกส่งต่อเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับนัก (อยาก) สู้ ทุกคน โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโกลก เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทยกับกระทรวงเกษตรแห่งมาเลเซียที่ตกลงความร่วมมือกันเมื่อ กุมภาพันธ์ 2522 โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้ส่งคณะที่ปรึกษาคือ บริษัท Snowy Mountain Engineering Corporation Limited (SMEC, https://www.smec.com/en_au) และ Mc Gowan International Pty Ltd. (MGI) มาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการในช่วงกันยายน 2526-กันยายน 2528 โดยองค์ประกอบของโครงการนั้นมีหลายส่วน มีระยะเวลาก่อสร้างตามแผนในปีงบประมาณ 2538-2548 แต่ส่วนที่สำคัญอันเป็นเหตุแห่งคดีนี้คือ การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำโกลก (Jetty, https://beachlover.net/wp-content/uploads/2019/07/Jetty.pdf) และ รอดักทราย (Groin, https://beachlover.net/wp-content/uploads/2019/07/Groin.pdf) เรื่อยมาทางทิศเหนือตลอดแนวกว่า 20 กิโลเมตร บนคาบสมุทรตากใบ เหตุแห่งการสร้างรอดักทรายตลอดแนวกว่า […]

Beachlover

October 30, 2020

คำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุด คดีตากใบ [กุมภาพันธ์ 2563]

Click ที่ Download จะนำไปสู่ PDF file คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีพิพาทน้ำกัดเซาะชายฝั่ง ต.ไพรวัน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ระหว่างประชาชนกับกรมชลประทานและกรมเจ้าท่า

Beachlover

September 21, 2020

บ่อคณฑี โดมิโน่ตัวแรก ล้มทั้งกระดาน!

เขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลอง (Jetty) ระบายน้ำของกรมชลประทาน ณ บ้านบ่อคณฑี ต.ขนาบนาก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช สร้างขึ้นเพื่อป้องกันทรายไม่ให้ไหลมาปิดปากร่องน้ำ สร้างเสร็จเมื่อปี 2527 ความยาว 75 เมตร โดยกรมชลประทาน เนื่องจากในช่วงเวลานั้น กรมใช้คลองสายนี้เป็นคลองระบายน้ำออกทะเล จากพื้นที่ชลประทานแถบนั้น Beach Lover ได้นำเสนอไปหลายครั้งแล้วถึงผลกระทบของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) ซึ่งจะกีดขวางการเคลื่อนที่ของตะกอนเลียบชายฝั่ง ซึ่งในพื้นที่ อ.ปากพนัง มีทิศเคลื่อนที่จากทิศใต้ไปทางทิศเหนือ โครงสร้างนี้จึงส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อชายหาดทางทิศเหนือของโครงสร้าง โดยพบว่าเกิดการกัดเซาะไปถึง 87.7 เมตร ระหว่างปี 2517-2538 ในปี 2527 ชาวบ้านได้ทําหนังสือเรียกร้องไปที่สำนักงานชลประทานที่ 11 อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราชแจ้งให้ทราบถึงการกัดเซาะของแนวชายฝั่ง ซึ่งได้ส่งผลเสียหายต่อพื้นที่ของชาวบ้าน ทางเจ้าหน้าที่กรมชลประทานจึงได้เสนอแนะ ให้ทางส่วนราชการจังหวัดติดตามดูแลปัญหาการกัดเซาะของแนวชายฝั่ง หลังจากนั้นหน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่กรมชลประทาน และกรมเจ้าท่า ได้เข้ามาแก้ปัญหาในพื้นที่โดยการสร้างโครงสร้างรอดักทรายรูปตัวทีต่อยาวจากปากคลองระบายน้ำบ่อคณฑีไปจำนวน 19 ตัว และรูปตัวไออีก 4 ตัว รวมระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร แล้วเสร็จในปี 2543 หลังจากนั้น ชายหาดของ อ.ปากพนัง […]

Beachlover

September 9, 2020