เสียงสะท้อนที่หลากหลายต่อกรณีโครงการเขื่อนกันตลิ่ง หาดแม่รำพึง อ.บางสะพาน

ที่มา: https://www.opt-news.com/ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณหาดแม่รำพึง ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง งบประมาณประจำปี 2564 ความยาว 900 เมตร มูลค่าการก่อสร้าง 79.94 ล้านบาท ก่อให้เกิดข้อถกเถียงกันเป็นจำนวนมากทั้งจากประชาชนในพื้นที่อำเภอบางสะพาน กลุ่มนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มนักอนุรักษ์ฯ ถึงความจำเป็น และ ผลดี-ผลเสีย หากมีการก่อสร้าง  จุดเริ่มต้นของโครงการฯ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2559 โดยทาง อบต.แม่รำพึง ได้ทำหนังสือ ที่ ปข.71907/259 ถึงโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในเรื่อง ขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ต.แม่รำพึง จำนวน 2 โครงการ คือ  1. โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และขุดลอกริมคลองบางสะพาน ในพื้นที่ ม.8 ต.แม่รำพึง 2. โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมชายหาดแม่รำพึง ม.1 – ม.5 ต.แม่รำพึง เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกว่า 240 ครัวเรือนตลอดแนวชายฝั่งหาดแม่รำพึง […]

Beachlover

May 3, 2022

กำแพงกันคลื่นทั่วไทย มีแล้วกี่จังหวัด

ที่มา: https://www.facebook.com/DXCThaiPBS/ กระแสกำแพงกันคลื่น กำลังได้รับความสนใจ หลังจากในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา เริ่มพบโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น กระจายไปยังหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะล่าสุด ที่ปรากฎภาพกำแพงกันคลื่นตามชายหาดท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หาดชะอำ และ หาดปราณบุรี ทำให้นักท่องเที่ยวบางส่วน ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเกรงว่า โครงสร้างวิศวกรรมป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จะเข้าไปแทนที่หาดทราย ส่งผลต่อทัศนียภาพเดิมในอดีต ประกอบกับขณะนี้เริ่มพบปัญหากำแพงที่สร้างไปแล้วพังเสียหาย รวมถึงยังทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่บริเวณด้านหัวและท้ายของโครงสร้าง ทำให้ต้องมีการก่อสร้างไปอย่างไม่รู้จบ นักวิชาการ ระบุว่า กำแพงกันคลื่นไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ หลายโครงการทยอยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปี และยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ หลังมีการประกาศเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้เกิดความง่ายต่อการดำเนินการของรัฐ สามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างทันท่วงที เมื่อปี 2556 วันนี้ ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ รวบรวมข้อมูลการสำรวจโครงสร้างกำแพงกันคลื่นทั่วประเทศ ว่าปัจจุบันมีการก่อสร้างไปแล้วกี่จังหวัด และพื้นที่ไหนที่มีโครงสร้างดังกล่าวมากที่สุด ขณะเดียวกันยังชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับความคุ้มค่าของโครงการผ่านตัวเลขงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ถือเป็นหน่วยงานหลักในการก่อสร้างโครงการที่เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างถาวร ซึ่งจุดนี้มีการตั้งข้อสังเกตจากนักวิชาการว่า หากกำแพงกันคลื่นสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดจริง เหตุใดตัวเลขงบประมาณจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี

Beachlover

April 27, 2022

จากเสากินรี ถึงกำแพงกันคลื่น

ที่มา: https://www.the101.world ทุกครั้งที่ผู้เขียนเดินทางไปต่างจังหวัด มักจะเห็นสิ่งก่อสร้างหลายแห่งของทางราชการที่ใช้เงินภาษีของประชาชน สร้างเสร็จได้ไม่นาน แล้วโดนทิ้งร้าง หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ คนในวงการราชการทราบดีว่า แต่ละปี การใช้งบประมาณสำหรับการก่อสร้างของหน่วยราชการ กรม กอง องค์การอิสระ ไปจนถึงองค์กรปกครองท้องถิ่น อบต. อบจ. ฯลฯ เป็นที่จับจ้องของหลายฝ่าย เนื่องด้วยงบก่อสร้างมีค่าใช้จ่ายสูง และโครงการส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้ความชำนาญในการก่อสร้าง โดยบริษัทรับเหมาก่อสร้างรายเล็กๆ ก็สามารถประมูลงานได้ หากเป็นโครงการขนาดเล็ก งบประมาณไม่สูง ก็จะสะดวกยิ่งขึ้น ไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA (Environmental Impact Assessment) แค่เสนอโครงการขึ้นมา อ้างเหตุผลความจำเป็นในเรื่องความเดือดร้อนหรือความต้องการของชาวบ้าน และเสนองบประมาณไปตามขั้นตอน รอการอนุมัติ แต่ละปี เราจึงเห็นการจัดสรรงบประมาณ ไปลงที่ถนน ทางเดินฟุตบาท อาคารอเนกประสงค์ การสร้างฝาย และล่าสุดที่กำลังเป็นข่าวหนาหูคือ เสาไฟฟ้ากินรี เพื่อนในวงการราชการต่างจังหวัดเล่าให้ฟังว่า เหตุที่ต้องเป็นเสาไฟรูปกินรี เพราะหากแค่ก่อสร้างเป็นเสาไฟฟ้าธรรมดา ราคาประมูลค่าก่อสร้างจะไม่แพง แต่หากเป็นเสาไฟฟ้ากินรี จะถูกจัดประเภทให้เป็นงานศิลปะประเภทหนึ่ง จึงสามารถตั้งราคาประมูลงานสูงขึ้นได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นงานศิลปะอย่างเสาไฟฟ้ากินรีผุดขึ้นมาราวดอกเห็ด แต่เอาเข้าจริงกลับไร้ประโยชน์ เสาไฟฟ้ากินรีจึงเปรียบเสมือนยาสามัญประจำบ้านชนิดหนึ่งของคนที่อยากใช้งบประมาณ หากคิดอะไรไม่ออก นอกจากเสาไฟกินรีแล้ว ล่าสุดผู้เขียนสังเกตถึงโครงการหนึ่งของราชการที่เริ่มเป็นข่าวบ่อยขึ้นทางภาคใต้ […]

Beachlover

April 27, 2022

“ปดิพัทธ์” ลงพื้นที่หาดแม่รำพึง ยืนยันกำแพงกันคลื่นส่งผลเสียมากกว่าผลดี

ที่มา: https://www.facebook.com/TheReportersTH UPDATE: ‘ปดิพัทธ์’ ลงพื้นที่หาดแม่รำพึง บางสะพาน ยืนยันกำแพงกันคลื่นส่งผลเสียมากกว่าผลดี รัฐต้องรับฟังประชาชนอย่างตรงไปตรงมา เตรียมยื่นเรื่องเข้า กมธ.การมีส่วนร่วมของประชาชน ทบทวนการทำ EIA วันนี้ (14 เม.ย. 65) ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.จังหวัดพิษณุโลก พรรคก้าวไกล ลงพื้นที่ติดตามกรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น ชายฝั่งทะเลหาดแม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมนายนราวิชญ์ กิตติพงศ์ธนกิจ กลุ่ม Saveหาดแม่รำพึงบางสะพาน หลังทางกลุ่มได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง สภาผู้แทนราษฎร ประดิพัทธ์ กล่าวว่า วันนี้มาพักผ่อนที่บ้านญาติ จึงแวะมารับฟังปัญหาและติดตามประเด็นช่วย ส.ส.ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัติ พรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการกัดเซาะชายฝั่ง สภาผู้แทนราษฎร รับฟังความเดือดร้อนและติดตามประเด็นดังกล่าว พร้อมระบุว่า แม้ผลการศึกษาเรื่องการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งด้วยแนวกำแพงกันคลื่นยังไม่ออกมาเป็นเล่มรายงาน แต่ผลการศึกษาเบื้องต้นชี้ชัดว่าการสร้างกำแพงกันคลื่นมีผลเสียมากกว่าผลดี เป็นโครงการที่ไม่ตรงกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่ สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนเพิ่มเติม มีตัวอย่างให้เห็นในหลายหาดว่าการสร้างกำแพงกันคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาะมากขึ้นเพราะไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบของคลื่น ที่บางสะพานมีข้อร้องเรียนเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้พบว่ามีการกัดเซาะรุนแรง ความจริงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ มีมาตรการณ์ตั้งแต่ระดับเบาจนไปถึงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทอช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำการศึกษาหาดแม่รำพึงแล้ว ว่า […]

Beachlover

April 15, 2022

เชิญประชุมรับฟังความคิดเห็น อ.หลังสวน ชุมพร [25 เม.ย. 2565]

ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมือง และสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ได้ก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยสำหรับป้องกันทรัพย์สินของประชาชนและของราชการมิให้คลื่นกัดเซาะจมลง ในทะเล แม้ว่าการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจะสามารถป้องกันชายฝั่งและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งได้ตามวัตถุประสงค์ แต่การดำเนินโครงการดังกล่าวในบางพื้นที่ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ชุมชนและสังคม วัฒนธรรม อาชีพ ความปลอดภัย วิถีชีวิตของประชาชน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐานและสภาพชายหาด กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 2” ในพื้นที่ศึกษาจำนวน 10 พื้นที่ โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณตำบลบางมะพร้าว (ระยะที่1-2 และระยะที่ 3 เฉพาะ ด้านทิศใต้) อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร เป็นหนึ่งในพื้นที่ศึกษาของโครงการนี้

Beachlover

April 10, 2022

ของฝากจาก “ปาบึก” เมื่อพายุพัดพาชายหาด ?

ที่มา: https://www.sarakadee.com/2022/04/07/pabuk/ เมื่อช่วงต้นปี ๒๕๖๒ พายุโซนร้อนปาบึก (PABUK) ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยและพัดขึ้นชายฝั่งภาคใต้ตอนล่างที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หลายคนน่าจะยังจำเหตุการณ์ รวมถึงการรายงานข่าวพายุหมุนเขตร้อนนอกฤดูมรสุมที่รุนแรงมากที่สุดลูกหนึ่งพัดเข้าสู่เมืองไทยครั้งนั้นได้ “พายุปาบึก” มีจุดก่อตัวอยู่ในทะเลจีนใต้ ช่วงแรกๆ มีความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางอยู่ในระดับพายุดีเปรสชั่น หลังจากนั้นเคลื่อนตัวมาทางทิศตะวันตก เพิ่มความเร็วลมจนกลายเป็นพายุโซนร้อน เมื่อเดินทางมาถึงชายฝั่งภาคใต้ตอนล่างของประเทศไทย ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางอยู่ประมาณ ๗๕-๘๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แม้จะยังเทียบไม่ได้กับพายุไต้ฝุ่นเกย์ หรือพายุแฮร์เรียต แต่ก็ใกล้เคียงกับความรุนแรงของพายุลินดาเมื่อปี ๒๕๔๐ นับเป็นพายุหมุนที่มีความรุนแรงมากในรอบหลายสิบปีที่พัดเข้าสู่ประเทศไทย การมาของพายุปาบึก ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก และมีคลื่นสูงพัดเข้าสู่ชายฝั่ง พายุหมุนลูกนี้เคลื่อนขึ้นฝั่งที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๖๒ ส่งผลให้จังหวัดต่างๆ ไล่ตั้งแต่เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ลงไปถึงชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา ฯลฯ เกิดฝนตกอย่างหนัก น้ำป่าไหลหลาก ต้นไม้หักโค่น มีรายงานว่าทางการต้องสั่งอพยพประชาชนกว่า ๓ หมื่นคน ใน ๖ อำเภอติดชายทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช สายการบินที่ให้บริการเส้นทางเกาะสมุยและจังหวัดนครศรีธรรมราชต้องยกเลิกเที่ยวบิน ผู้ให้บริการบริการเรือเฟอร์รี่และเรือโดยสารที่รับส่งผู้โดยสารตามเกาะต่างๆ หยุดให้บริการ ชาวประมงพื้นบ้านพากันนำเรือเข้ามาจอดเก็บตามร่องน้ำเพื่อความปลอดภัย […]

Beachlover

April 8, 2022

ติดตามสถานภาพชายฝั่ง หาดเกาะยาว นราธิวาส

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ ติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่หาดเกาะยาว ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส อยู่ในระบบหาดเขาตันหยง-ตากใบ ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบลากูน (lagoon) ด้านหลังชายฝั่งและหรือสันดอนทรายพบว่ามีสภาพป่าชายเลนที่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นทั้งแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำและแหล่งทำประมงน้ำกร่อย พร้องทั้งเป็นที่จอดเรือเพื่อหลบคลื่นลมในช่วงมรสุมของชุมชุนชายฝั่งในพื้นที่ และพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่บริเวณนี้ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ รอดักทราย (Groin) และเขื่อนหินทิ้ง (revetment) ซึ่งไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว และเขื่อนหินทิ้งบางส่วนถูกปกคลุมด้วยตะกอนทราย อีกทั้งชายหาดเกาะยาว มีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง

Beachlover

April 4, 2022

พาสำรวจสถานภาพชายหาดปะนาเระ ทะเลปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ และเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่หาดปะนาเระ ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแหลมโพธิ์-บางมะรวด ผลการสำรวจพบว่า ลักษณะเป็นหาดทรายสมดุล เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวของรอบปีเดือนเมษายน ๒๕๖๔ และเดือนเมษายน ๒๕๖๕ หาดทรายและชายฝั่งมีการปรับสภาพเข้าสู่สมดุลหลังผ่านช่วงมรสุมประจำปี ซึ่งพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ เขื่อนกันทรายและคลื่น ๑ คู่ และรอดักทราย ๓ ตัว และไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว อีกทั้งชายหาดปะนาเระ มีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง

Beachlover

April 1, 2022

กำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง ประจวบคีรีขันธ์ ๙๖๖ เมตร บนคำถาม

ที่มา: https://www.sarakadee.com/2022/03/28/หาดแม่รำพึง/?fbclid=IwAR38vGqVlfXFZYNeWikSQedrzT9u8cyBEazveXUStbw5eBf5k8hFQ4rPhuc เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๕ กลุ่มประชาชนที่อ้างว่ามีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้ประโยชน์ชายหาดแม่รำพึงในนาม “เครือข่ายประชาชน Saveหาดแม่รำพึง” ได้เดินทางไปยื่นหนังสือให้กับนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เเม่รำพึง ขอให้ยกเลิกโครงการสร้างกำเเพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการและผังเมือง รวบรวมรายชื่อประชาชนที่คัดค้านได้ทั้งหมด ๑๙๓ รายชื่อ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแม่รำพึง ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่รำพึง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นโครงการก่อสร้างของกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย มีลักษณะเป็นเขื่อนหินใหญ่วางเรียง กำแพงกันคลื่น (Block Revetment) และกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได ความยาว ๙๖๖ เมตร หรือเกือบ ๑ กิโลเมตรตามแนวชายหาด ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ กรมโยธาธิการและผังเมืองเคยจัดให้มีการประชุมชี้แจงโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลหาดแม่รำพึงมาแล้วที่หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แม่รำพึง โดยมีประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้แทนส่วนราชการ เข้าร่วมรับฟังรายละเอียดโครงการ มีการระบุว่าโครงการผ่านการประชุมรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่มาแล้ว ๔ ครั้ง กิจกรรมที่เกิดขึ้นเป็นการชี้แจงแผนงานของโครงการก่อนที่ผู้รับจ้างจะเข้ามาทำงานในพื้นที่ อ้างอิงตามการนำเสนอข่าวของสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ ชัชชัย อภินันทิตยา วิศวกรบริษัทที่ปรึกษาโครงการ ชี้แจงว่า จังหวัดประจวบฯ มีแนวชายฝั่งยาวติดทะเลอ่าวไทย บางพื้นที่ประสบปัญหาถูกน้ำทะเลกัดเซาะจากมรสุมคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง สร้างความเสียหายให้กับประชาชน กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งทะเลของตำบลแม่รำพึง โดยเป็นการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ๒ รูปแบบ ได้แก่  เขื่อนคอนกรีตขั้นบันไดความยาว ๒๔๗ เมตร โครงสร้างทั้งหมดอยู่บนเสาเข็ม เน้นจุดที่เป็นพื้นที่สาธารณะและมีบ้านเรือนประชาชน  และอีกรูปแบบหนึ่งคือกำแพงคอนกรีตกันคลื่น ความยาว ๗๑๙ เมตร คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างได้ช่วงต้นปี ๒๕๖๕ ระยะก่อสร้างประมาณ ๒๔ เดือน  หลังจากโครงการแล้วเสร็จจะเกิดความมั่นคงแข็งแรงในการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างที่ตั้งอยู่ริมฝั่ง ช่วยลดผลกระทบต่อชุมชน ส่งผลดีทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการท่องเที่ยวในพื้นที่ หนังสือ องค์ความรู้ตามประเด็นยุทธศาสตร์กรมโยธาธิการและผังเมือง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๑ เรื่องแนวทางการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศไทย ให้รายละเอียดของ เขื่อนคอนกรีตขั้นบันได (Stepped […]

Beachlover

March 28, 2022

เชิญประชุมรับฟังความคิดเห็น ปากน้ำแขมหนู [21 มี.ค. 2565]

กรมโยธาธิการและผังเมือง และสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ได้ก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยสำหรับป้องกันทรัพย์สินของประชาชนและของราชการมิให้คลื่นกัดเซาะจมลง ในทะเล แม้ว่าการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลจะสามารถป้องกันชายฝั่งและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งได้ตามวัตถุประสงค์ แต่การดำเนินโครงการดังกล่าวในบางพื้นที่ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ชุมชนและสังคม วัฒนธรรม อาชีพ ความปลอดภัย วิถีชีวิตของประชาชน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางธรณีสัณฐานและสภาพชายหาด กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการประเมินผลและติดตามผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 2” ในพื้นที่ศึกษาจำนวน 10 พื้นที่ โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณถนนเลียบชายฝั่งทะเลบ้านปากน้ำแขมหนู ตำบล ตะกาดเง้า อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นหนึ่งในพื้นที่ศึกษาของโครงการนี้

Beachlover

March 19, 2022
1 6 7 8 33