กรมโยธาธิการฯ จัดเวทีรับฟังชายฝั่งทะเลปะเสยะวอ

ที่มา: https://www.facebook.com/profile.php?id=100070314642518 วันนี้ (10 ตุลาคม 2565) กรมโยธาธิการฯ ดำเนินการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 โครงการเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลปะเสยะวอ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ภายใต้งานออกเเบบเเละศึกษาผลกระทบสิ่งเเวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 4 ในเวทีรับฟังความคิดเห็นประชาชน มีประชาชนในพื้นที่ เเละนักวิชาการ เข้าร่วมเวที เเละให้ข้อห่วงกังวลต่อโครงการดังกล่าวว่า หากดำเนินการเลือกมาตรการไม่ถูกต้อง เหมาะสมอาจกระทบต่อชายฝั่งทะเลได้ในระยะยาว ในเวทีดังกล่าวนั้น เป็นการรับฟังความคิดเห็นประชาชนครั้งที่ 1 จะมีการจัดเวทีในครั้งต่อไป ในขณะที่พื้นที่เกาะสมุยก็มีการศึกษาในลักษณะเดียวกันเช่นกัน ต้องติดตามดูว่ากรมโยธาฯจะดำเนินการอย่างไรกับพื้นที่ชายหาดปะเสยะวอต่อไป

Beachlover

October 11, 2022

หาดพังรับฝนหนัก (อีกแล้ว)!

ที่มา: https://www.facebook.com/PattayaWatchdog หาดพังเหมือนทุกครั้ง ชายหาดพัทยา เมื่อเช้านี้ (12 ก.ย.2565) เมืองพัทยา ไม่เคยแก้ไขปัญหา น้ำฝนปนน้ำเสียกัดเซาะทรายชายหาด วางท่อระบายน้ำไป 100 ล้านบาท เกิดประโยชน์หรือไม่ นี่จะปรับปรุงภูมิทัศน์ อีก 160 ล้านบาท เริ่มตัดต้นไม้อีกแล้ว ยั่งยืนหรือย่อยยับ?

Beachlover

September 12, 2022

ประชุมรับฟังความเห็น แก้ไขปัญหากัดเซาะ เกาะสมุย 27ก.ย.65

ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมโยธาธิการและผังเมืองจัดรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 โครงการฟื้นฟูบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ชายฝั่งทะเลตำบลแม่น้ำ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ในวันที่ 27 กันยายน 2565

Beachlover

September 11, 2022

พาสำรวจและทำความรู้จัก หาดราชรักษ์ ทะเลปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดราชรักษ์ ต.บ้านกลาง และ ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแฆแฆ มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นหาดทราย ความยาวประมาณ ๒,๗๕๐ เมตร ซึ่งหาดราชรักษ์ มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบหาดก้นอ่าว (Pocket beach) โดยทั้งสองด้านของอ่าวเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) โดยด้านทิศเหนือและทิศใต้มีลักษณะเป็นหัวหาด/หาดหิน และมีคลองพรุแฆแฆอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของหาด ผลการสำรวจชายฝั่งส่วนใหญ่สมดุล พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งระยะทางประมาณ ๗๔๐ เมตร ส่งผลกระทบทำให้เกิดการสูญเสียตะกอนทรายชายฝั่งและชายหาด ชายฝั่งมีความลาดชันเป็นหน้าผา ต้นสนล้มตายกีดขวางบนชายหาด อีกทั้งหาดราชรักษ์ ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชายหาดและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียงของ จ.ปัตตานี

Beachlover

August 25, 2022

มติเอกฉันท์ ผลประชาคมไม่เอากำแพงกันคลื่นหาดม่วงงาม

ที่มา: https://dxc.thaipbs.or.th/news/มตเอกฉนท-ผลประชาคมช/ เทศบาลเมืองม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จัดเวทีประชาคมประชาชนในพื้นที่ชายหาดม่วงงาม   เพื่อแสดงความคิดเห็นลงมตินำรายชื่อไปยื่นต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง  เพื่อประกอบการยกเลิกโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดม่วงงาม  จ.สงขลา  หลังจากเกิดความขัดแย้งมาตลอดระยะ 2 ปี  กระทั่งศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งชะลอโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการและผังเมือง  เพื่อให้เทศบาลเมืองม่วงงาม  ดำเนินการสอบถามกรมโยธาธิการและผังเมือง  จนได้ข้อสรุปว่าการยกเลิกโครงการฯ ต้องมีการจัดทำประชาคมเพื่อประกอบการยกเลิกโครงการโดยให้ท้องถิ่นรวบรวมผลการทำประชาคม และนำส่งให้กรมโยธาธิการและผังเมือง เพื่อประกอบการยกเลิกโครงการต่อไป จึงนำมาสู่การจัดเวทีประชาคมในวันนี้  โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 328 คน  ผลการทำประชาคม พบว่า มีชาวบ้าน 4 คน เห็นด้วยกับโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดม่วงงาม และ 324 คน ไม่เห็นด้วยกับโครงการฯ โดยมีการลงชื่อประชาชนที่เข้าร่วมเวทีทุกคน และมีการนับคะแนนต่อหน้าประชาชนที่มาร่วมประชาคม  ซึ่งหลังจากนี้เทศบาลเมืองม่วงงาม จะนำผลการทำประชาคมครั้งนี้ เสนอต่อกรมโยธาธิการพร้อมกับเหตุผลในการขอยกเลิกโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดม่วงงามต่อไป  นายอภิศักดิ์ ทัศนี ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Beach for life กลุ่มคนรุ่นใหม่ผู้อยู่เบื้องหลังปรากฏการณ์การลุกขึ้นมา #saveหาดทราย จากโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณีนี้ ระบุว่า หากนับการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ผ่านมาของกรมโยธาฯในโครงการหาดม่วงงาม เมื่อปี พ.ศ.2561 มีชาวบ้านเข้าร่วมเพียงไม่ถึง200 คน โดยในสัดส่วนเหล่านั้นพบเกือบครึ่งเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น เเละครู   ทำให้ผลสรุปในอดีตนำไปสู่การดำเนินโครงการกำเเพงกันคลื่นหาดม่วงงาม  จนทำให้เป็นเหตุผลที่กรมโยธาธิการและผังเมืองอ้างว่าในอดีตชาวบ้านมีการร้องขอกำแพงกันคลื่นผ่านหน่วยงานท้องถิ่น จึงไม่ยอมถอนโครงการ  “วันนี้ประชาชนม่วงงามที่เป็นคนม่วงงามจริง ๆ 324 คน ได้มาเเสดงพลัง ลงชื่อทำประชาคม เเละผลสรุปเป็นเอกฉันท์ว่าไม่เอาโครงการกำเเพงกันคลื่นหาดม่วงงาม  จึงนับเป็นความชัดเจนว่าสิ่งที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเคยนำมาอ้างไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นการสะท้อนพลังของภาคประชาชนและยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าภาคประชาชนเกิดการตื่นรู้ต่อถึงผลกระทบของกำแพงกันคลื่นที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศริมชายหาด”  นายอภิศักดิ์  กล่าวด้วยว่า   สิ่งที่ต้องจับตามองต่อไปคือกรมโยธาธิการและผังเมืองจะเดินหน้าดึงดันโครงการนี้ต่อไปหรือไม่เพราะโครงการฯ ถือว่าไม่มีความชอบธรรมทั้งในเชิงข้อเท็จจริงทางวิชาการที่ปรากฏชัดว่าสภาพของชายหาดไม่ได้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง และประชาชนในพื้นที่ก็ไม่ได้ยินยอมแต่อย่างใด

Beachlover

August 25, 2022

สำรวจสถานภาพ แนวชายฝั่งหาดรูสะมิแล จ.ปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง ร่วมกับการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อบันทึกภาพมุมสูงโดยรอบพื้นที่แนวชายฝั่งหาดรูสะมิแล ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดเทพา-แหลมโพธิ์ ผลการสำรวจพบว่า มีลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดโคลน พื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งรูปแบบเขื่อนหินทิ้ง และเขื่อนกำแพงกันทรายและคลื่นปากร่องแม่น้ำปัตตานี พบการชำรุดเล็กน้อยของโครงสร้างดังกล่าวทั้ง ๒ ประเภท และด้านหลังแนวโครงสร้างเป็นลานอเนกประสงค์สาธารณะ สำหรับการท่องเที่ยวชายหาดและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่

Beachlover

August 17, 2022

สำรวจชนิดพันธุ์พืชที่มีความเหมาะสมต่อการฟื้นฟูชายหาดพังงา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ระบบหาดบางสัก (T7D192) ระบบหาดคึกคัก (T7D195) ระบบหาดหาดท้ายเหมือง (T7E201) จ.พังงา เพื่อสำรวจชนิดพันธุ์พืชชายหาดที่มีความเหมาะสมต่อการฟื้นฟูเสถียรภาพชายหาด โดยการพิจารณาจากคุณสมบัติในการยึดเกาะเม็ดทราย การทนต่อสภาพแวดล้อม การกระจายตัวบริเวณชายหาด การทนต่อแรงลมทะเล การทนต่อความเค็มของน้ำทะเล ผลการสำรวจพบพืชชายหาดที่กระจายตัวตั้งแต่แนวชายฝั่งลึกเข้าไป ๓๐ เมตร ได้แก่ ผักบุ้งทะเล ถั่วผีทะเล ถั่วคล้าทะเล หญ้าไหวทาม เบญจมาศน้ำเค็ม เข็มเลื้อย เตยทะเล รักทะเล จิกทะเล เป็นต้น ส่วนพืชชายหาดที่คาดว่ามีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการฟื้นฟูเสถียรภาพชายหาดมี ๔ ชนิด ได้แก่ ผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) หญ้าไหวทาม (Ischaemum muticum) ถั่วผีทะเล (Vigna marina) ถั่วคล้าทะเล (Canavalia maritima)

Beachlover

August 11, 2022

โยธาฯ บูรณาการทุกภาคส่วน แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย

ที่มา: https://www.facebook.com/DPT.PR.GO.TH กรมโยธาธิการและผังเมือง บูรณาการทุกภาคส่วนเชิงพื้นที่ ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย

Beachlover

June 30, 2022

ติดตามชายฝั่งหาดโคลน หลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นบ้านแหลม

ที่มา: https://www.facebook.com วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ดำเนินโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดโคลน จ.เพชรบุรี บริเวณ ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ที่ดำเนินการในปี ๒๕๖๔ ระยะทางไม้ไผ่ประมาณ ๑,๗๕๐ เมตร เป็นการติดตามพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณพื้นที่ปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ในพื้นที่หาดโคลน โดยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ผลการสำรวจพบว่ามีกล้าไม้ ได้แก่ แสมทะเล เริ่มขึ้นบริเวณหลังแนวไม้ไผ่จำนวนมาก ทั้งนี้ จะนำข้อมูลดังกล่าวจัดทำเป็นแผนที่เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้น-ลดลง ของป่าชายเลน เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าชายเลนหลังดำเนินโครงการฯ ต่อไป

Beachlover

June 30, 2022
1 4 5 6 33