ที่มา: https://www.theguardian.com and http://coastalcare.org
อุปกรณ์ลอยน้ำขนาดใหญ่ถูกออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันเพื่อกำจัดเกาะขยะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศสถึงสามเท่า อุปกรณ์นี้สามารถดักจับขยะได้เป็นครั้งแรก
Boyan Slat ผู้ริเริ่มโครงการกำจัดขยะในมหาสมุทรนี้ ได้กล่าวว่าทุ่นลอยดักจับขยะความยาว 600 เมตร ได้ดักจับและยึดขยะไว้ได้จากแพขยะใหญ่แปซิฟิก Slat กล่าวว่า ระบบทำความสะอาดมหาสมุทรนี้สามารถดักจับขยะได้ถึง 1 ตันของไมโครพลาสติก แต่ละปีมีอุปกรณ์จับสัตว์น้ำที่ถูกทิ้งในทะเลประมาณ 600000 - 800000 ตัน และยังมีขยะที่ถูกซัดขึ้นไปบนชายฝั่งกว่า 8 ตัน กระแสน้ำในมหาสมุทรทำให้เกิดการรวมกันของขยะในมหาสมุทรเข้าด้วยกัน และกระแสน้ำวนที่ไม่เป็นระเบียบพวกนี้ทำให้เกิดการสะสมของขยะพลาสติกขนาดใหญ่ที่สุด ระบบทำความสะอาดนี้ไม่ได้ถูกออกแบบแค่เพียงเก็บตาข่ายจับปลาที่ถูกทิ้งหรือแค่ขยะพลาสติกขนาดใหญ่เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงไมโครพลาสติกด้วย
ทุ่นลอยที่กีดขวางขยะพลาสติกอยู่บนผิวน้ำของมหาสมุทรที่มีความลึก 3 เมตร โดยมีเป้าหมายเพื่อจะดักจับขยะพลาสติก 1.8 ตันโดยไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ อุปกรณ์นี้เชื่อมต่อกับดาวเทียมและเซ็นเซอร์จึงสามารถรู้ตำแหน่งของขยะได้ เพื่อที่จะให้เรือมาเก็บขยะทุกๆ2-3เดือน
Slat ได้บอกถึงปัญหาที่เขากำลังพยายามแก้คือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ไปกับเรือลากอวนที่ทำการไปเก็บขยะ เขายังบอกอีกว่า ตอนนี้เรากำลังเก็บขยะพลาสติก หลังจากที่มีการเริ่มต้นโครงการนี้มากว่า 7 ปี ระบบนี้ใช้พลังธรรมชาติของมหาสมุทรในการดักจับขยะพลาสติก
ขยะพลาสติกที่ถูกสะสมในระยะเวลาหนึ่งจะถูกเก็บขึ้นฝั่งเพื่อนำมารีไซเคิล นอกจากนี้ จะมีการขยายอุปกรณ์นี้ รวมไปถึงพัฒนาด้านความทนทาน เพื่อให้ใช้ได้นานขึ้น
ในช่วงการทดลองสี่เดือนก่อน ไม่มีพลาสติกที่ถูกดักจับเลย หลังจากนั้น มีการเปลี่ยนการออกแบบโดยให้มีการยึดติดมากยิ่งขึ้น เพื่อชะลอความเร็วในการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ เพื่อให้ขยะพลาสติกสามารถเข้ามาในระบบได้
การทดลองครั้งล่าสุดเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ระบบถูกติดตั้งในทะเลที่แวนคูเวอร์ โครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2013 และผ่านการออกแบบปรับปรุงทดสอบมาหลายครั้ง ซึ่งถูกคาดหวังในการออกแบบครั้งสุดท้ายว่าจะสามารถทำความสะอาดขยะได้สักครึ่งหนึ่งของขยะในแพขยะแปซิฟิก