การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 13 บ้านสวนกง

ทันที่ที่หัวรถเลี้ยวเข้าสู่อาณาเขตของบ้านสวนกง เม็ดทรายตะลึงกับสันทรายชายฝั่งทะเลขนาดมหึมาที่ถูกปกคลุมด้วยต้นสน และป่าหาดชาย “ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลย สันทรายแบบนี้”  “คนที่นี่เค้าบอกว่าเป็นสันทรายโบราณอายุมากกว่า 6,000 ปีเชียวนา (https://www.facebook.com/lynstheshanghaicafe/videos/567000467580231/) สวยไหมหล่ะ ชั้นกับพี่หยกเคยมาใช้พื้นที่ตรงนี้จัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์บ่อยๆ บรรยากาศมันได้มากๆ” น้ำฝนเล่าพร้อมชี้มือไม้ไปตามตำแหน่งต่างๆบนสันทรายที่เธอเคยมาใช้พื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมใต้ทิวสน “นอกจากสวยแล้วมันยังมีคุณค่าอื่นด้วยนะ สันทรายเนี่ย” เม็ดทรายยังไม่ทันอธิบายความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาให้เพื่อนฟังก็มีเด็กสาววัยรุ่นวิ่งตรงมาหาทั้งสามคนที่ยืนอยู่บนตำแหน่งสูงสุดของสันทรายโบราณ “พี่หยก พี่ฝน หวัดดีค่ะ” นั่นคือน้องย๊ะ หรือเจ้าย๊ะที่น้ำฝนกล่าวถึง ลูกสาวชาวประมง เกิดและโตที่นี่ ย๊ะเคยเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหลากหลายกิจกรรม รวมถึงเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากความที่เป็นลูกทะเล และมีบ้านริมทะเล ย๊ะจึงอินกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ ย๊ะพาทุกคนเดินเล่นไปบนสันทราย และเดินเลาะริมชายหาดไปดูเรือประมงพื้นบ้านของครอบครัวเธอ พลางอัพเดทประเด็นสิ่งแวดล้อมใหม่ๆกับทั้งสามคน  “ไว้พี่ทรายมาหาย๊ะอีกนะ เมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ จะได้พาออกเลไปดำน้ำฟังเสียงปลา” ย๊ะเชิญชวนเม็ดทรายหลังทั้งสองคนได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวของทะเลจะนะ และเม็ดทรายได้ประหลาดใจกับทักษะพิเศษในการฟังเสียงปลาของย๊ะที่ถูกถ่ายทอดทางสายเลือดมาจากพ่อของเธอ  “ไว้พี่ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมละ ว่า ดูหลำ นี่เค้าฝึกกันยังไง” (https://www.facebook.com/watch/?v=2791732367767865) เม็ดทรายพูดพลางก้าวขึ้นรถพร้อมคนอื่นๆ และอำลาบ้านสวนกงพร้อมคำถามในหัวมากมายว่า ที่แห่งนี้รึที่จะมีการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมและท่าเทียบเรือน้ำลึก (https://beachlover.net/สันทราย-สวนกง-ท่าเรือ/ ) (https://properea.com/port-of-songkhla-10-05-2019-10-05-2019/) แล้วสันทรายโบราณ รวมถึงทรัพยากรในทะเลที่อุดมสมบูรณ์จะเปลี่ยนแปลงไปยังไง มันจำเป็นขนาดไหนกัน รถเคลื่อนผ่านสันทรายที่ทอดยาวหลายกิโลเมตรจากบ้านสวนกงเรื่อยมาทางทิศเหนือ ทิวสนบนสันทรายค่อยๆห่างออกและเลือนหายไป ต่างกับเครื่องหมายคำถามมากมายในหัวเม็ดทรายตอนนี้ ที่ยังคงแจ่มชัดและยังไม่จางหายไป

Beachlover

December 20, 2022

Amazing สันทรายเกาะพะงัน

สันทรายที่กล่าวถึงนี้ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี มีความยาวประมาณ 350 เมตร มีความกว้างเฉลี่ยประมาณ 17 เมตร อยู่นอกฝั่งห่างจากอ่าวในวก 190 เมตร โดยมีเกาะแตในอยู่เบื้องหน้า ทางทิศใต้ของสันทรายนี้คือท่าเทียบเรือประมง และอนุสรณ์เรือรบหลวงพะงัน “อ่าวในวก” เป็นอ่าวที่มีสภาพภูมิประเทศค่อนข้างแปลกตา เนื่องจากบริเวณสุดปลายด้านทิศใต้ของอ่าวในวกมีแนวสันทรายสีขาวละมุนยื่นยาวไกลออกไปยังท้องทะเลเบื้องหน้าแล้ววกอ้อมมาทางด้านทิศเหนือ จนทำให้อ่าวแห่งนี้มีลักษณะคล้ายกับตัวอักษร “J” ในภาษาอังกฤษ (หรือคล้ายกับ “ตะขอเบ็ดตกปลา” ตามแต่จินตนาการของแต่ละบุคคล) …..ด้วยลักษณะภูมิประเทศดังกล่าวข้างต้นนี่เองกระมัง…..ที่ทำให้อ่าวสวยแห่งนี้ได้ชื่อว่า “อ่าวในวก” (https://www.thongteaw.com/Travel_tour_content_สุราษฎร์ธานี/อ่าวในวก_อ่าววกตุ่ม_เกาะพะงัน.html) เดิมทีสันทรายแห่งนี้มิได้วางอยู่ในแนวนี้มาตั้งแต่แรก ด้วยคลื่นและกระแสน้ำส่งผลให้สันทรายเปลี่ยนรูปร่างและแนวไป เหมือนกับธรรมชาติของสันทรายอื่นๆที่ยังมีความไม่เสถียร เปลี่ยนแปลงไปตามกระบวนการทางธรรมชาติ จากการเดินสำรวจในเดือนตุลาคม สันทรายฝั่งด้านในอ่าวในวกนั้น น้ำค่อนข้างนิ่งไม่ได้รับอิทธิพลของคลื่นทะเล และไม่มีการไหลข้ามสันทรายของคลื่นและน้ำทะเลจากฝั่งด้านนอกมายังฝั่งนี้ มีเพียงการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลเท่านั้น เราจึงพบหลักฐานเชิงเวลาของน้ำขึ้นน้ำลงที่ทิ้งร่องรอยเชิงประจักษ์ไว้บนสันทรายอย่างชัดเจนมาก เป็นความงามทางธรรมชาติที่แปลกตาจากที่อื่นๆ ส่วนด้านนอกของสันทราย ที่ได้รับอิทธิพลจากคลื่นปะทะเต็มๆ พบการปักท่อพีวีซีสีฟ้าตามภาพ โดยไม่ทราบวัตถุประสงค์และหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทรายบนสันทรายนี้ ขาว ละเอียด นวลตา สวยงามมากๆ แปลกตาไปจากทรายบริเวณหาดท้องศาลและหาดหินกองที่อยู่ถัดออกไปทางทิศเหนือและทิศใต้ ด้านในอ่าวในวก พบกำแพงกันคลื่นหลายรูปแบบ คาดเดาได้ว่าเป็นการสร้างเพื่อป้องกันพื้นที่ตัวเองของเอกชน โดยจะพบบริเวณชายหาดของอ่าวส่วนที่เลยจากสันทรายซึ่งถือเป็นปราการทางธรรมชาติไปทางทิศเหนือ

Beachlover

October 21, 2022

14 ปีผ่านไป กับสันทรายโบราณบ้านโคกสัก

บ้านโคกสักอยู่บริเวณทิศเหนือของปากคลองสะกอม จ.สงขลา เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอม จนชาวบ้านที่นี่ลุกขึ้นมาใช้สิทธิที่ตนเองพึงมีเมื่อมกราคมปี 2551 เพื่อฟ้องร้องกรมเจ้าท่าในฐานะเจ้าของโครงการเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสะกอมที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไปตั้งแต่ปี 2541 นับจนถึงมกราคม 2465 นี้ครบรอบ 14 ปีพอดีหลังจากเรื่องราวนี้ได้ถูกนำขึ้นสู่กระบวนการยุติธรรม ติดตามเรื่องราวของคดีสะกอม ซึ่งถือเป็นคดีชายหาดประวัติศาสตร์คดีแรกของประเทศไทยที่ประชาชนลุกขึ้นมาใช้สิทธิฟ้องร้องการดำนินงานของรัฐได้จาก https://beachlover.net/คดีสะกอม-จ-สงขลา/ และผลการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกของศาลปกครองสูงสุดได้ที่ https://beachlover.net/นั่งพิจารณาคดีครั้งแรก-ตุลาการผู้แถลงคดีศาลปกครองสูงสุด-กรณีเขื่อนกันคลื่นหาดสะกอม/ รวมถึงหนังสือเรื่องคดีชายหาดทั้ง 4 คดีได้จาก https://beachlover.net/การฟ้องคดีปกครอง/ Beach Lover ขอพาไปชมสภาพจริงของสันทรายชายหาดบ้านโคกสักในเดือนธันวาคม 2564 พื้นที่บริเวณนี้ถือเป็นสันทรายโบราณอายุมากกว่า 6000 ปี ต่อเนื่องตลอดแนวริมทะเลแถบนี้เรื่อยไปจนถึงบ้านสวนกง ไปจนถึงทางทิศใต้ของปากน้ำนาทับ สันทรายนี้ดูเผินๆเหมือนหินหรือวัสดุอะไรสักอย่างที่แข็งคล้ายหิน แต่อันที่จริงที่เราเห็นทั้งหมดนี้คือทรายที่ถูกทับถมมาอย่างเนิ่นนานจนแข็งคล้ายหิน มีสีสันและความหนาของแต่ละชั้นทรายที่แตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมในช่วงเวลานั้นๆ อย่างชัดเจนมาก สันทรายโบราณลักษณะนี้มิได้พบเห็นมากนักในประเทศไทย อันที่จริงควรเป็นทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ควรถูกอนุรักษ์หวงแหนไว้ด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นกับพื้นที่บริเวณนี้และยาวต่อเนื่องไปจนถึงทิศใต้ของปากน้ำนาทับคือการถูกคุกคามอย่างต่อเนื่องจากโครงการพัฒนาของภาครัฐและเอกชน ขอร่วมติดตามอย่างใจเย็นกันต่อไปถึงการดำรงอยู่ของสันทรายโบราณแถบนี้

Beachlover

January 10, 2022

สันทราย ณ ปากอ่าวท่าเลน

อ่าวท่าเลน เป็นอ่าวขนาดเล็ก อยู่ทางทิศตะวันตกไม่ไกลจากตัวเมืองกระบี่ ประมาณ 35 กิโลเมตร เป็นสถานที่ พายเรือคายัค ที่มีชื่อเสียง เนื่องจากมีธรรมชาติที่สวยงามมาก มีทั้งภูเขาหินปูน และป่าชายเลนที่ยังมีสภาพสมบูรณ์ Beach lover ได้มีโอกาสสำรวจสภาพชายฝั่งแถบนี้ และได้พบสันทรายบริเวณปากอ่าวท่าเลน ทอดยาวเป็นเสมือนเกาะกลางน้ำ มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่เพียงพอให้นักท่องเที่ยวโดยเฉพาะที่พายเรือคายัคได้แวะพักเก็บภาพธรรมชาติอันสวยงามนี้ไว้ ชาวเรือเล่าให้ฟังว่า สันทรายนี้เกิดจากการขุดลอกร่องน้ำปากอ่าวท่าเลนแห่งนี้ แล้ว (คิดเอาเองว่า) คงเอาทรายบางส่วนมากองรวมกันบริเวณนี้จนเกิดเป็นเกาะกลางอ่าว ถือเป็นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวไปด้วยในตัว

Beachlover

April 16, 2021

การเปิด-ปิด ของสันทรายปากคลองสำโรง

คลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างทะเลในเขตเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา ทำให้ซึ่งคลองสำโรงนี้มีความเป็นมายาวนานคู่กับประวัติศาสตร์เมืองสงขลา ซึ่งเดิมได้ใช้เส้นคลองสายนี้เป็นเส้นทางการค้าขายหรือการเข้ามาของเรือสำเภา เมื่อชุมชนมีมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชนหนาแน่นขึ้น ประกอบกับระบบระบายน้ำเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นในคลอง อีกปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกันคือ ปากคลองสำโรงฝั่งทะเลอ่าวไทยมักถูกปิดตามธรรมชาติ จากการพัดพาของทรายมาปิดปากคลองในบางฤดูกาล ยิ่งส่งผลให้น้ำในคลองไหลถ่ายเทไม่สะดวก ชาวบ้านในชุมชนเก้าเส้งผู้ใช้ประโยชน์จากคลองได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายวาระโอกาส เช่น https://siamrath.co.th/n/161620 และ https://beachlover.net/ชุมชนเก้าแสนเดือดร้อน-ทช-สงขลาเร่งช่วยแก้ปัญหา/ Beach Lover เองก็เคยนำเสนอเรื่องราวนี้ไปแล้วตามโพส https://beachlover.net/ปากคลองสำโรง-7-ต-ค-2562/ จากการตรวจสอบเบื้องต้นโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth ทั้งหมด 28 ช่วงเวลาตั้งแต่ ธันวาคม 2014 ถึง กรกฎาคม 2020 พบว่า ปากคลองสำโรงถูกปิด 18 ครั้ง และเปิด 10 ครั้ง ตลอดระยะเวลาเท่าที่มีข้อมูลกว่า 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากธรรมชาติที่กระบวนการชายฝั่งทะเลพัดพาเอาทรายมาทับถมที่ปากคลอง และเกิดจากการเปิดปากร่องน้ำโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อบรรเทาปัญหาให้ชาวบ้านในชุมชน Beach Lover ได้ลงสำรวจปากคลองสำโรงเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2563 พบว่าปากคลองสำโรงได้ถูกเปิดออก โดยพบกองทรายขนาดใหญ่อยู่ริมชายหาดหน้าชุมชนเก้าเส้ง […]

Beachlover

November 24, 2020

สันทราย 6,000 ปี…ที่นี่กำลังจะมีท่าเรือ

ในสภาวะโรคระบาด มนุษย์จะโหยหาอะไรไปมากกว่า น้ำสะอาด อาหารที่ปลอดภัยมีประโยชน์ สุขอนามัยที่ดี สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีชีวิตรอด เชื้อโรคไม่แยกชนชั้น รวยจน อำมาตย์หรือไพร่ ไม่ว่าจะอยู่ในระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบไหน สภาพสังคมอย่างไร ประเทศพัฒนาแล้วหรือด้อยพัฒนา ล้วนแล้วแต่ได้รับความเสี่ยงนี้ร่วมกัน จากสถานการณ์ที่เรากำลังเผชิญร่วมกันอยู่นี้ บรรดาห้างร้าน โรงงาน โรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว บริษัท และหน่วยย่อยอีกมากมาย ที่รัฐมักโปรโมทพ่วงมาพร้อมกับโครงการพัฒนาใหญ่ๆโตๆว่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ จะก่อให้เกิดการจ้างงาน นำเม็ดเงินมหาศาลเข้าสู่ชุมชน จะมาช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของเราให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ถึงช่วงเวลานี้ไม่มีหน่วยไหนเอาชนะโรคระบาดนี้ได้เลย แต่ cluster ที่ยังคงขับเคลื่อนให้มนุษย์มีชีวิตอยู่ได้คืออาหาร เราควรหันกลับมามองต่อไปว่า หากโครงการพัฒนาของรัฐทำลาย ”ครัวโลก” ทำลายแหล่งผลิตอาหารที่ป้อนให้มนุษย์อย่างไม่เลือกชนชั้น ทำลายสิ่งแวดล้อมที่ดี อากาศ น้ำสะอาด เราจะอยู่กันอย่างไรต่อไป หากต้องเผชิญวิกฤตอีกครั้ง…และอีกครั้ง ทะเล “ไข่แดง” ที่นี่ บ้านสวนกง อ.จะนะ จ.สงขลา รัฐกำลังจะเปลี่ยนชาวบ้านแถบนี้จาก”เจ้าของกิจการ” อย่างชาวประมง ชาวไร่ ชาวสวน ให้กลายเป็น”ลูกจ้าง”ในระบบเศรษฐกิจใหม่ที่รัฐ “อ้างว่า” จะส่งผลดีและยั่งยืนต่อคนในพื้นที่ รัฐกำลังจะเปลี่ยนทะเลที่เป็นครัวที่ส่งมอบอาหารทะเลสะอาดไปยังชุมชนเมือง ให้กลายเป็นแหล่งรองรับมลพิษจากพื้นที่อุตสาหกรรม  รัฐกำลังจะเปลี่ยนอากาศสะอาดที่เป็นแหล่งเพาะนกเขาเสียงใสส่งออกที่มีรายได้ดีกว่า […]

Beachlover

July 2, 2020