ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง กรณีถ่ายเททรายหาดชลาทัศน์ สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจ ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ด้วยวิธีระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ระยะทาง ๕,๐๐๐ เมตร เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงปริมาณทรายที่หายไป และการเปลี่ยนแปลงความชันชายหาดโดยวิธีการรังวัดภาพตัดขวางชายหาด (Beach Profile) ๗๔ แนว แต่ละแนวมีระยะห่างกัน ๕๐ เมตร ๕๘ แนว และระยะห่าง ๑๐๐ เมตร ๑๖ แนว พร้อมทั้งเก็บข้อมูลเส้นแนวชายฝั่งทะเล (Coastline) เพื่อเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงแนวชายหาดในพื้นที่​ถ่ายเททราย กรณีศึกษาพื้นที่ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา เพื่อเป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงแนวชายหาดในพื้นที่โครงการ​ถ่ายเททราย และคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นต่อแนวชายฝั่งในอนาคต รวมถึงการเข้าสู่สมดุลชายฝั่งหลังการถ่ายเททราย โดยสถานภาพแนวชายฝั่งพบการกัดเซาะ ความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร ​เป็นหน้าผาทรายสูง​ประมาณ​ ๐.๒ – ๑.๒ เมตร​ และพบการกัดเซาะ​บริเวณ​จุดสิ้นสุด​โครงสร้างกระสอบใยสังเคราะห์​ ความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ ๒๐๐ เมตร

Beachlover

December 13, 2020

ติดตามโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสงขลา

ที่มา: Facebook page กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนล่าง ติดตามสภาพระบบนิเวศชายหาดและสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล หาดทรายแก้ว หาดม่วงงาม และหาดมหาราช จ.สงขลา ผลการตรวจสอบที่หาดทรายแก้วยังคงพบเศษหินจากการก่อสร้างถูกทับถมอยู่ใต้ชั้นผิวทรายลึกลงไป ๑๕ ซม. ชั้นเศษหินมีความหนาประมาณ ๑๒ ซม. และพบสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายน้อยมาก ส่วนพื้นที่หาดม่วงงาม บริเวณหน้าหาดเริ่มมีตะกอนทรายธรรมชาติถูกคลื่นซัดมาทับถมตลอดแนว และจากการเก็บตะกอนดินโดยใช้ท่อเจาะมาวิเคราะห์ไม่พบเศษหินจากการก่อสร้างแต่สภาพชายหาดทั่วไปยังพบเศษวัสดุก่อสร้างเป็นระยะๆ (เหล็กเสาเข็ม) ส่วนพื้นที่ชายฝั่งในทะเลก็ยังมีกองหินจากการก่อสร้างจมอยู่ใต้น้ำ และเริ่มจะพบจำนวนสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทราย แสดงถึงการเริ่มคืนสภาพระบบนิเวศหาดทรายหลังจากถูกระงับการก่อสร้าง ส่วนพื้นที่ชายหาดมหาราช ยังคงมีงานก่อสร้าง แม้จะไม่พบเศษหินจากการก่อสร้างปนเปื้อนในระบบนิเวศหาดทรายในพื้นที่ข้างเคียง แต่พบสิ่งมีชีวิตได้น้อยมาก

Beachlover

November 29, 2020

สำรวจพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งวัดเทสก์ธรรมนาวา พังงา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ชายฝั่ง บริเวณวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) ต.ท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา อยู่ในระบบหาดท้ายเหมือง (T7E201) โดยติดตั้งรั้วดักทรายความยาวตามแนวชายฝั่ง 210 เมตร เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากการกัดเซาะบริเวณจุดสิ้นสุดของโครงสร้างเขื่อนหินทิ้ง (Revetment) พบว่าบริเวณรั้วดักทรายมีความลาดชันชายหาดน้อยกว่าบริเวณหน้าโครงสร้างเขื่อนหินทิ้ง

Beachlover

November 5, 2020

ด่วน! พบการขุดบ่อบนหาดม่วงงาม ?

Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวของชายหาดม่วงงาม จ.สงขลา กรณีที่ชาวบ้านฟ้องร้องการดำเนินงานของภาครัฐจนนำเรื่องขึ้นสู่ศาลปกครองไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จากโพสเก่าๆ (ใช้ Icon ค้นหา รูปแว่นขยายบนหน้าหลักของ Website ค้นหาคำว่า “ม่วงงาม”) ศาลปกครองจังหวัดสงขลาได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไปแล้วเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2563 [https://beachlover.net/คุ้มครอง-ม่วงงาม/] นับจนถึงวันนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ได้ยุติการดำเนินงานทั้งหมดและได้ทำการรื้อถอนเครื่องจักรหนักออกจากชายหาดจนหมด มาวันนี้พบว่า มีการขุดหลุมทรายบนชายหาดหน้าพื้นที่ที่ชาวบ้านเคยใช้เพื่อจัดกิจกรรม Save หาดม่วงงาม อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดก่อนและระหว่างการฟ้องคดี ขนาดประมาณ 5X3 เมตร และลึกไม่เกิน 1 เมตร ดังรูป เท่าที่สังเกตพบว่าไม่ปรากฏป้ายประชาสัมพันธ์โครงการว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร และดำเนินการโดยหน่วยงานใด คาดเดาเอาเองว่าน่าจะเป็นหน่วยงานรัฐเพราะพื้นที่สาธารณะแบบนี้ไม่อนุญาตให้เอกชนดำเนินการลักษณะนี้ได้ แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก และอาจไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ประโยชน์บริเวณชายหาดมากนัก แต่การดำเนินการใดๆบนชายหาดซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์แบบนี้ จำเป็นต้องระบุถึงที่มา วัตถุประสงค์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ และงบประมาณให้ชัดเจน เพราะหน่วยงานรัฐกำลังใช้ภาษีของประชาชนเพื่อประชาชน คำถามสำคัญที่เจ้าของโครงการต้องตอบจากการขุดหลุมทรายบนชายหาดสาธารณะก็คือ ทำไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด และสมควรแก่เหตุหรือไม่ หรือเป็นมาตรการที่เกินจำเป็น ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับที่เคยตั้งคำถามกับโครงการกำแพงกันคลื่นชายหาดม่วงงามที่เคยเกิดขึ้นที่นี้และได้ถูกศาลยับยั้งชั่วคราวไป เนื่องจากการขุดหลุมทรายลักษณะนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชายหาด และถือเป็นการทำลายพื้นที่ชายหาดโดยตรง เจ้าของโครงการจำเป็นต้องขออนุญาตขุดทรายบนชายหาดต่อกรมเจ้าท่า ตาม พรบ การเดินเรือของกรมเจ้าท่า [https://beachlover.net/พระราชบัญญัติเจ้าท่า/] และขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสัณฐานชายฝั่งต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตาม พรบ ของกรม […]

Beachlover

October 30, 2020

ตรวจติดตามผลการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) ตรวจสอบสถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่อ่าวปัตตานี ต.ตันหยงลุโละ และ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อนำข้อมูลสถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งจัดทำรายละเอียดคำขอโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยวิธีปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นในพื้นที่หาดโคลน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป

Beachlover

October 30, 2020

รมว.วราวุธ ย้ำแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งต้องคุ้มค่า ลดปัญหาพื้นที่ข้างเคียง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๓ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) กล่าวว่า ตนได้รับทราบสรุปรายงานสถานการณ์พื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย ช่วงปี ๒๕๖๒ มีระยะทางรวม ๙๑.๖๙ กม. มีพื้นที่ที่กัดเซาะรุนแรงที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วนระยะทาง ๑๒.๘๗ กม. ซึ่งส่วนมากมีสาเหตุมาจากกิจกรรมมนุษย์และผลกระทบที่เกิดจากโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ได้ดำเนินก่อสร้างแล้ว แต่ส่งผลต่อพื้นที่ข้างเคียงซึ่งในหลายพื้นที่ก็กลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐและชุมชน นายวราวุธ กล่าวอีกว่า อย่างกรณีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล บริเวณพื้นที่ชายฝั่งหาดม่วงงาม ที่เครือข่ายประชาชนรักษ์หาดม่วงงาม เรียกร้องให้หยุดดำเนินการ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่ประสบปัญหาการกัดเซาะ ซึ่งศาลปกครองจังหวัดสงขลาให้มีคำสั่งให้หยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก่อน ซึ่งตนได้สั่งการให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับและสั่งการให้หน่วยงานเร่งสำรวจและกำหนดแนวทางมาตรการการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยต้องคำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนาและการอนุรักษ์ “ระบบนิเวศทางธรรมชาติถูกออกแบบโดยสร้างความสัมพันธ์ทุกอย่างไว้อย่างลงตัว และธรรมชาติได้กำหนดทิศทางและความเป็นไปทุกอย่างไว้แล้ว มนุษย์ที่มีหน้าที่สร้างและรักษาความสมดุล ไม่ใช่พยายามเปลี่ยนแปลงความสมดุล การแก้ไขปัญหาไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่การแก้ไขปัญหาที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างหากที่ผิด” นายวราวุธ กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าการก่อสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะเกิดจากความตั้งใจดีของหน่วยงานที่ต้องการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ แต่ต้องขอให้คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หรือความจำเป็น และความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย และสิ่งสำคัญที่ตนอยากฝากไว้ คือ การมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนได้เข้ามาร่วมคิดร่วมทำในขั้นตอนต่างๆ จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานต่างๆ สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ด้านนายจตุพร […]

Beachlover

October 20, 2020

ชุมชนเก้าแสนเดือดร้อน ทช. สงขลาเร่งช่วยแก้ปัญหา

ที่มา: Facebook Page: กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ตรวจสอบพื้นที่ชุมชนเก้าแสน (เก้าเส้ง) ต.บ่อยาง อ.เมือง จ.สงขลา เพื่อแก้ไขปัญหาทรายปิดปากคลองสำโรงอย่างถาวร ทำให้น้ำในคลองเน่าเสีย และเรือประมงไม่สามารถเข้า-ออก หรือจอดหลบคลื่นลมได้ในฤดูมรสุม ผลการตรวจสอบพื้นที่และพบผู้นำชุมชน พบว่าชุมชนดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาทรายปิดปากคลองจริง ทั้งนี้ผู้นำชุมชนได้เสนอวิธีแก้ไขปัญหาด้วยการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ถาวร อย่างไรก็ตาม กรม ทช. ได้ให้ความรู้เรื่องผลกระทบจากการสร้างเขื่อนที่อาจทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง และแนวทางการแก้ไขปัญหาเพื่อพิจารณาต่อไป

Beachlover

October 8, 2020

ท้ายเหมือง…เต่าเกือบไม่ได้ไข่เพราะกำแพงหิน

[ภาพเมื่อ 30 กันยายน 2563] หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด เพื่อป้องกันศาลาและถนนเลียบทะเลของวัด ไม่ให้เกิดการกัดเซาะ จนเกือบกระทบการวางไข่ของเต่ามะเฟือง หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด ระหว่างการก่อสร้าง วันที่ 26 ธ.ค.2561 ได้มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ทางทิศเหนือถัดจากกำแพงไปไม่ไกล ไปประมาณ 200 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 31 ธ.ค.2561 อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้เข้าพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เจ้าอาวาสวัดท่าไทร มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นห่วงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับหลุมไข่เต่ามะเฟือง จึงได้มอบหมายให้ ผอ.สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 (สบทช.) ใช้อำนาจอำนาจตามมาตรา 17 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (https://beachlover.net/พรบ-กรม-ทช/) สั่งระงับการก่อสร้างเขื่อนไปก่อน จากนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ทำโครงการปักเสาไม้เพื่อป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำ (Downdrift) ด้านทิศเหนือของกำแพงหิน ระยะทาง 594 เมตร โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 495,000 บาท […]

Beachlover

October 5, 2020

สำรวจการกัดเซาะชายฝั่งหาดแหลมเสด็จ จันทบุรี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจชายฝั่งหาดแหลมเสด็จ ต.คลองขุด อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เพื่อเก็บข้อมูลในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงภาคตัดขวางชายหาด (Beach cross section) ในพื้นที่ระบบกลุ่มหาดหลักทะเลอ่าวไทยตะวันออกตอนล่าง T๑ ระบบกลุ่มหาดคลองขุด-ประแส (T๑H) ระบบหาด หาดเจ้าหลาว (T1H0๒๒) และรังวัดแนวชายฝั่ง โดยใช้ระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ผลการสำรวจเป็นหาดทราย มีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งประเภทกำแพงกันคลื่นแบบลาดเอียงระยะทางประมาณ ๕๕๐ เมตร และแบบขั้นบันไดระยะทางประมาณ ๔๕๐ เมตร กำลังมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ระยะทางประมาณ ๗๐๐ เมตร

Beachlover

September 11, 2020

แก้แบบ แก้โครงสร้างกันอีกรอบ @ The Regent Cha-Am

ในปี 2558 กรมเจ้าท่าได้จ้างเหมาก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จ.เพชรบุรี โดยมีการถมทรายชายหาดกว้าง 50 เมตร โดยฝังถุงทรายไว้ที่ระยะห่างฝั่งประมาณ 25 เมตร ตามรูปแบบที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ออกแบบไว้เมื่อตุลาคม 2556 และส่งมอบให้กรมเจ้าท่าไปดำเนินการต่อ โดยการก่อสร้างแล้วเสร็จไปเมื่อ พ.ย.2560 ปรากฏว่าหลังก่อสร้างแล้วเสร็จไปเพียง 1 ปี ทรายที่เสริมไว้ถูกพัดพาหายไปอย่างรวดเร็วจนถึงแนวถุงทรายที่เคยมีทรายปกคลุมอยู่ ถุงทรายเริ่มเกิดความเสียหายและก่อให้เกิดทัศนียภาพไม่สวยงาม โรงแรมรีเจ้นท์ชะอำบีชรีสอร์ท ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานนี้โดยตรง พบว่าเกิดอันตรายต่อผู้มาพักที่โรงแรมตลอดจนผู้ใช้ชายหาดอื่นๆ แขกมาเข้าพักลดน้อยลงเพราะชายหาดหน้าโรงแรมไม่สวยงาม ลงเล่นน้ำไม่ได้ จึงมีหนังสือถึงกรมเจ้าท่าขอให้พิจารณาตามข้อเสนอ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ (1) ทำการรื้อถุงทรายหน้าโรงแรมออกทั้งหมด (2) ทำการย้ายหัวหาดตามแบบแก้ไขของกรมเจ้าท่าในส่วนของทิศเหนือขยับขึ้นมาจนสุดแนวรั้วของโรงแรมรีเจ้นท์ ชาเล่ต์ และ (3) โรงแรมทราบดีถึงผลกระทบที่อาจตามมาจากข้อเสนอนี้ตามข้อ 1 และ 2 และยอมรับในการที่น้ำทะเลจะรุกเข้ามาถึงแนวกำแพงหรือแนวเขตที่ดินของกำแพงได้ กรมเจ้าท่าได้พิจารณาแล้วจึงทำการออกแบบเพื่อปรับปรุงแก้ไข ด้วยการรื้อถุงทรายแนวกันชนเดิมหน้าโรงแรมออกทั้งหมด แล้วนำมาเรียงเป็นแนวกันชนบริเวณชายฝั่งริมรั้วโรงแรม ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้หารือกับโรงแรมแล้วว่าเหมาะสม และได้สร้างหัวหาด (Headland) สองตำแหน่งห่างกันประมาณ 800 เมตร โดยหัวหาดนี้สร้างโดยใช้ถุงทรายวาง ส่วนที่ประชิดชายน้ำสร้างเป็นบันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นผิวด้านบนเททับด้วยโพลี่ยูรีเทนเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการรับแรงดึง พร้อมการถมทรายด้านบน […]

Beachlover

September 4, 2020
1 13 14 15 16