เร่งจัดวางปะการังเทียมรูปโดม ฟื้นฟูทะเลเขาหลัก

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ควบคุมการจัดวางปะการังเทียมคอนกรีต แบบรูปโดม ในทะเลสำหรับจัดวางพื้นที่เขาหลัก ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา โดยจัดวางแล้ว ๗๐๔ แท่ง คงเหลือ ๔๔๕ แท่ง จากจำนวนที่ต้องจัดวาง ๑,๑๔๙ แท่ง และคาดว่าจะสามารถจัดวางแล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ นี้

Beachlover

March 13, 2021

เมืองพัทยายืนยันน้ำสีดำค้างท่อ

ที่มา: https://www.facebook.com/PattayaWatchdog ผอ สำนักช่างสุขาภิบาล เมืองพัทยา ยืนยัน น้ำสีดำ ค้างท่อ ที่เมืองพัทยาระบายทิ้งลงทะเล ช่วงฝนตกวันที่ 17 กุมภาพันธ์ เมืองพัทยาแจงเพจดังกรณีข้อกังขาน้ำดำถูกปล่อยลงทะเลหาดพัทยา เหตุฝนตกหนักระบายไม่ทัน ชี้เป็นน้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เผยอนาคตเตรียมแยกท่อระบายน้ำฝนกับระบบบำบัดทั่วเมืองตามความเจริญแบบก้าวกระโดด จากกรณีเพจดังพัทยาอย่าง “PattayaWatchdog” ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่กรมทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง เดินทางไปตรวจหาดวงศ์อมาตย์ ซ.นาเกลือ 18 ต.นาเกลือ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี หลังมีฝนตกลงมาอย่างหนัก เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2564 โดยพบว่ามีน้ำลักษณะสีดำขุ่นข้นพุ่งทะลักออกจากท่อระบายน้ำของเมืองพัทยาก่อนไหลลงสู่ทะเลเป็นจำนวนมากจนเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโลกโซเชียลว่ากรณีดังกล่าวสร้างผลกระทบอย่างมากต่อภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวของเมืองพัทยา ทั้งนี้ข้อสรุปจากการลงพื้นที่ของเจ้าหน้า ที่กรมทรัพยากรธรรมชาติและชายฝั่ง พบว่าน้ำสีดำสกปรก เป็นท่อจากระบายของเมืองพัทยา ซึ่งเป็นระบบท่อที่ใช้ร่วมกับระบบระบายน้ำเสีย เมื่อฝนหยุดเป็นเวลานานทำให้เกิดปัญหา “น้ำค้างท่อ” แต่เมื่อมีฝนตกลงมาอย่างหนักจึงทำให้น้ำเกิดการรวมตัวจนมีลักษณะเป็นสีเข้มเหมือนน้ำเน่าเสียและเอ่อไหลทะลักลงสู่ท้องทะเล กระทั่งสุดท้ายก็เจือจางลง อย่างไรก็ตามจากผลตรวจสอบบริเวณโดยรอบไม่พบว่าผู้ประกอบการหรือที่พักอาศัยใดทำการการปล่อยน้ำเสียลงทะเล แต่พบร่องรอยการกัดเซาะหาดทรายลงทะเลโดยน้ำจากท่อระบายเท่านั้น ส่วนกรณีข้อกังขาของสังคมถึงการแก้ไขปัญหาน้ำค้างท่อ ที่มีความสกปรก และมักเกิดปัญหาไหลลงทะเลในช่วงที่ฝนตกซึ่งพบว่ามีลักษณะขุ่นดำคล้ายน้ำเน่าเสีย จนทำให้ภาพลักษณ์เกิดความเสียหายว่าจะมีแนวทางการแก้ไขอย่างไรนั้น เรื่องดังกล่าว นายอนุวัตร ทองคำ ผู้อำนวยการสำนักการช่างสุขาภิบาล เมืองพัทยา ชี้แจงว่าตามการศึกษาของกรมโยธาธิการและผังเมือง ระบุว่าถ้าฝนตกลงมาในปริมาณปกติจะอยู่ที่ 40-50 มิลลิเมตร/ชม. […]

Beachlover

March 12, 2021

พาชมสถานภาพแนวชายฝั่งปัตตานี ส่วนใหญ่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ ปัตตานี) สำรวจ และเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่หาดชลาลัย ต.ปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแหลมโพธิ์-บางมะรวด ผลการสำรวจพบว่ามีลักษณะเป็นหาดทรายที่มีการสะสมตะกอนทรายจำนวนมาก อันเนื่องจากการกักตะกอนทรายของเขื่อนกันทรายและคลื่น (jetty) บริเวณปากร่องน้ำปะนาเระ และพบการกัดเซาะชายฝั่งระหว่างรอดักทราย ซึ่งแนวชายฝั่งส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเขื่อนกันทรายและคลื่นและรอดักทราย โดยไม่พบการชำรุดของโครงสร้าง อีกทั้งชายหาดชลาลัยมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวและที่พักผ่อนหย่อนใจ

Beachlover

February 8, 2021

สำรวจสถานภาพแนวชายฝั่งทะเลท่าชนะ สุราษฎร์ธานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ร่วมกับสำนักงาน ทช.ที่๔ (สุราษฎร์ธานี) สำรวจ ติดตามและประเมินสถานภาพพื้นที่แนวชายฝั่งทะเล จ.สุราษฎร์ธานี บริเวณชายฝั่งหาดสำเร็จ ม.๕ ต.ท่าชนะ อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี จัดอยู่ในระบบหาดละแม-ท่าชนะ (T๕H๑๓๓) ผลการสำรวจสภาพแนวชายฝั่งทะเลโดยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) พบว่า มีเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง ๔ ตัว อยู่ทางด้านทิศเหนือ และยังพบเขื่อนหินทิ้งริมชายฝั่ง ทำให้บริเวณจุดสิ้นสุดโครงสร้างเกิดการกัดเซาะลึกเข้าไปในแผ่นดิน ทั้งนี้ กำลังศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นและจัดเวทีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เพื่อก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลของกรมโยธาธิการและผังเมือง และบริเวณชายฝั่งหาดสมบูรณ์ ม.๓ ต.วัง อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี จัดอยู่ในระบบหาดละแม-ท่าชนะ (T๕H๑๓๓) ผลการสำรวจเป็นหาดทราย ไม่มีการกัดเซาะชายฝั่ง มีตะกอนทรายสะสมตัว และมีโครงสร้างเขื่อนหินทิ้งริมชายฝั่งความยาว ๙๒๐ เมตร ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างของกรมโยธาธิการและผังเมือง สำรวจสภาพแนวชายฝั่งทะเลโดยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) พบว่า มีการขุดทรายจากบริเวณหน้าโครงสร้างเดิมขึ้นมาถมโครงสร้างเพื่อเตรียมก่อสร้างโครงการดังกล่าว

Beachlover

January 31, 2021

เพิ่มแนวป้องกัน ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นปากทะเล เพชรบุรี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น พื้นที่ ต.ปากทะเล และ ต.บางแก้ว จ.เพชรบุรี

Beachlover

January 29, 2021

สำรวจต่อเนื่อง เก็บข้อมูลกัดเซาะชายฝั่งทะเลสงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง ต.เทพา และ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา มีความยาวชายฝั่งทะเล ๑๕.o๔ กม. ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ปากบาง เป็นหาดทรายที่สมดุลตะกอนทรายสะสมมาก และชายฝั่งทะเล ต.เทพา ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ระยะทางประมาณ ๑.๕๙ กม. ส่งผลกระทบทำให้ต้นไม้ล้มหลายต้น และกล่องกระชุหินพังเสียหายทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ เขื่อนกันคลื่นริมชายฝั่ง กำแพงกันคลื่น และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง

Beachlover

January 28, 2021

แนวชายฝั่งอ่าวไทยชายแดนใต้ คงสภาพไม่พบการเปลี่ยนแปลง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจ และเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ซึ่งอยู่ในระบบหาดเขาตันหยง-ตากใบ ความยาวชายฝั่งประมาณ ๓๓ กม. ผลการสำรวจพบว่า มีลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดทราย มีลักษณะธรณีสัณฐานแบบลากูน (lagoon) มีสภาพป่าชายเลนที่สมบูรณ์ และพื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งรูปแบบรอดักทราย ๓๐ ตัว​ เขื่อนหินทิ้ง​ ความยาวประมาณ ๘๐๐​ ​เมตร และเขื่อนกันทรายและคลื่น ๓ ปากร่องน้ำ ได้แก่ ปากร่องน้ำโกลก ปากร่องน้ำตากใบ และปากร่องน้ำแบ่ง พบลักษณะการสะสมตัวด้านใต้และกัดเซาะด้านเหนือของรอดักทราย​ และเขื่อนกันทรายและคลื่นทุกตัว แต่ปัจจุบันการกัดเซาะเริ่มเข้าสู้สมดุลไม่มีการกัดเซาะเพิ่มเติม และจากการสอบถามข้อมูลชาวบ้านพบว่ากำลังจะมีโครงการปรับปรุงเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำโก-ลก โดยกรมชลประทาน ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

Beachlover

January 27, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง อ.จะนะ จ.สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง อ.จะนะ จ.สงขลา มีความยาวชายฝั่งทะเล ๒๔.๕๔ กม. ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ชายฝั่งมีลักษณะเป็นหาดทรายสมดุลและมีตะกอนทรายสะสมระยะทางประมาณ ๑๒.๒๑ กม. เป็นแนวชายฝั่งประเภทปากแม่น้ำ o.๔๘ กม. พื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ๒ พื้นที่ ประกอบด้วย พื้นที่ ต.ตลิ่งชัน และ ต.สะกอม มีการกัดเซาะชายฝั่งระยะทางรวม ๕.๓o กม. นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางยาว ๖.๕๕ กม. ได้แก่ เขื่อนกันคลื่นริมชายฝั่ง เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง

Beachlover

January 27, 2021

จับมือกองทัพอากาศหารือแนวทางแก้ไขกัดเซาะชายฝั่งอ่าวมะนาว

ที่มา: Facebook page กรมทรัพยากรทางทะเลและขายฝั่ง วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๓ (เพชรบุรี) ร่วมกับกองทัพอากาศ กองบิน ๕ อ่าวมะนาว สำรวจสถานภาพชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่ง ระบบหาดอ่าวมะนาว จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขผลกระทบการกัดเซาะชายฝั่ง ผลการสำรวจพบว่ามีการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เป็นแนวยาวประมาณ ๑,๑๐๐ เมตร โดยต้นสนทะเลซึ่งอยู่ตามแนวชายฝั่งถูกกัดเซาะจนถึงบริเวณราก และมี end effect ระหว่างต้นไม้จึงเกิดการกัดเซาะความลึกประมาณ ๕-๑๐ เมตร สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งครั้งนี้ เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมวลอากาศเย็นกำลังแรง จึงทำให้บริเวณดังกล่าวจึงเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง

Beachlover

January 23, 2021

สำรวจสถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งพัทยา บรรยากาศเงียบเหงา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๒ (ชลบุรี) สำรวจสถานภาพชายฝั่งทะเล ท้องที่ จ.ชลบุรี บริเวณชายหาดเขาพระตำหนัก แหลมบาลีฮาย ชายหาดพัทยา และชายหาดวงศ์อำมาตย์ ตามกิจกรรมบูรณาการ การจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ๒๓ จังหวัด พบว่าชายหาดที่ทำการสำรวจไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือดำเนินการใดๆ เพิ่มเติม สภาพทั่วไปเงียบสงบ นักท่องเที่ยวบางตา เนื่องจากสถานการณ์โคโรน่า (โควิด-๑๙)

Beachlover

January 21, 2021
1 11 12 13 16