การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่ง

Click ที่ชื่อบทความเพื่อนำไปสู่บทความฉบับเต็ม ภาษาไทย การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่ง

Beachlover

July 26, 2019

การขึ้นลงของระดับน้ำทะเลแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกัน

การขึ้นลงของน้ำทะเลนั้นเป็นไปตามการเคลื่อนที่และแรงดึงดูดของดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โดยแต่ละสถานที่บนโลกที่มีตำแหน่งแตกต่างกันจะเกิดการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลที่ไม่เหมือนกัน ทั้งรูปแบบ พิสัยและเวลา แม้ในประเทศไทยเอง การขึ้นลงของน้ำทะเลในแต่ละชายหาดก็แตกต่างกัน ในขณะที่ชายหาดหนึ่งน้ำกำลังขึ้น อีกชายหาดหนึ่งน้ำทะเลอาจกำลังลง บางพื้นที่เกิดน้ำขึ้นลงสองครั้งต่อวันหรือเรียกว่าน้ำคู่ ในขณะที่อีกพื้นที่หนึ่งเกิดเพียงหนึ่งครั้งต่อวันซึ่งเรียกว่าน้ำเดี่ยว หรืออาจเกิดการขึ้นลงของน้ำสองครั้งต่อวันแต่มีค่าการขึ้นลงแต่ละครั้งไม่เท่ากันที่เรียกว่าน้ำผสม นอกจากนั้นพิสัยการขึ้นลงของน้ำ หรือความแตกต่างกันระหว่างน้ำขึ้นและลงก็ยังต่างกันไปตามแต่ละที่ด้วย ลักษณะการขึ้นลงของน้ำ ณ สถานีวัดระดับน้ำของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ (ที่มา:  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2557)

Beachlover

July 25, 2019

ลอนทรายที่เห็นบนชายหาดคือผลผลิตจากคลื่น

ลอนทรายบนชายหาดปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้นยามน้ำลง ร่องรอยที่ทิ้งไว้นี้เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของคลื่นเข้าสู่ชายหาด ด้วยลักษณะของคลื่นน้ำที่เป็นลอน จึงก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของทรายในลักษณะที่ล้อกันไปตามรูปแบบของคลื่นน้ำ เราสามารถพบเห็นลักษณะนี้ใต้ผิวน้ำในบริเวณน้ำตื้นได้เช่นกัน

Beachlover

July 25, 2019

จุดเริ่มต้นของกระบวนการทางชายฝั่งทะเลคืออากาศ

ลมก่อให้เกิดคลื่น ซึ่งเกิดจากแรงเสียดทานระหว่างการเคลื่อนที่ของลมและผิวน้ำทะเล ส่งผลให้ผิวหน้าน้ำทะเลเกิดการปั่นป่วนและเปลี่ยนแปลงรูปแบบ จากผิวน้ำทะเลราบเรียบเกิดการกระเพื่อมจนเกิดเป็นคลื่นในที่สุด น้ำทะเลจะส่งต่อพลังงานจากกระบวนการนี้ทำให้คลื่นเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่ง  ก่อให้เกิดกระแสน้ำที่ทำให้ตะกอนเคลื่อนที่ โดยขนาดของคลื่นขึ้นอยู่กับ ความเร็วลม ระยะเวลาที่ลมพัดบนผิวน้ำทะเล และ ขนาดของพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากลมนี้ื  

Beachlover

July 16, 2019

ชายหาดประเทศไทยมีความยาวรวมทั้งสิ้น 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด

ในประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาว 3,151.13 กิโลเมตร  ครอบคลุม 320 ตำบล ใน 23 จังหวัด ประกอบด้วยฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย  17 จังหวัดตั้งแต่จังหวัดตราดเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงชายแดนไทย-มาเลเซียที่ปากแม่น้ำโกลก จังหวัดนราธิวาส ความยาว  2,039.78 กิโลเมตร ส่วนฝั่งทะเลอันดามัน 6 จังหวัด เริ่มตั้งแต่จังหวัดระนองถึงจังหวัดสตูล ความยาว  1,111.35 กิโลเมตร (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561) ลักษณะเชิงกายภาพของทั้งสองฝั่งนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยมีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลแบบยกตัว ส่วนมากเป็นหาดทรายที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นชายหาดที่ค่อนข้างยาวต่อเนื่องกัน มีแม่น้ำที่ลงทะเลฝั่งอ่าวไทยหลายสาย มีเกาะแก่งและภูเขาหินน้อยมากเมื่อเทียบกับฝั่งอันดามัน ซึ่งมีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลแบบยุบตัว มีชายหาดแบบกระเปาะคือเป็นชายหาดสั้นๆแทรกอยู่ระหว่างเกาะแก่งและโขดหิน (สมปรารถนา และคณะ, 2554)  

Beachlover

July 15, 2019

ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองรักษาและใช้ประโยชน์ จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลในประเทศไทย

Click ที่ Link ชื่อเรื่องใต้ข้อความนี้ จะนำไปสู่บทความฉบับเต็มภาษาไทย ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองรักษาและใช้ประโยชน์  

Beachlover

July 14, 2019
1 4 5 6