การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (Zoning)

ด้วยการเพิ่มขึ้นของประชากร การพัฒนาของเมืองริมชายฝั่งทะเล ส่งผลให้ต้องใช้พื้นที่และทรัพยากรริมชายฝั่งเพิ่มมากข้ึน หากปราศจากการควบคุมและวางแผนอย่างรอบคอบ  อาจทำให้เกิดการเสียสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติเนื่องจากการใช้ที่เกิดขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบเสียหายทั้งต่อทรัพยากรและการเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนั้นโดยมนุษย์  การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเล เป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยมีความหมายคือ การจัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ชายฝั่งนั้นให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบทรัพยากร หรือหมายถึงการจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์และการสงวนรักษา เป็นมาตรการไม่ซับซ้อน นับว่าเป็นหนึ่งในมาตรการที่ง่ายที่สุดเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ โดยการจัดการการใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้กระบวนการจัดการที่มีการผสมผสานกันระหว่างหน่วยงานและแผนงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อนำมาวางแผนการพัฒนาเพื่อนำไปปฏิบัติ ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยทั่วไปประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ การรวบรวมข้อมูลชายฝั่ง เช่น เชิงกายภาพ การใช้ประโยชน์ สถานภาพของทรัพยากร  วิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อหาสาเหตุ มาตรการแก้ไข ผู้มีส่วนได้เสีย เสนอแนวทางการแบ่งเขต zoning โดยยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับความต้องการสังคม และการใช้ประโยชน์ในอนาคต นำเสนอแนวทางการแบ่งเขต zoning เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และนำแนวทางไปปฏิบัติให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามการการทำ Beach Zoning ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งสภาพปัญหาของชายหาดนั้น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ การใช้ประโยชน์ ข้อบังคับ นโยบายการพัฒนา […]

Beachlover

May 9, 2021

การดูดทรายในแม่น้ำ

เนื่องจากตะกอนทรายที่หล่อเลี้ยงชายฝั่งนั้น ส่วนหนึ่งไหลรวมมากับน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเล ตะกอนบางส่วนอาจถูกดักตามเขื่อน อาคารบังคับน้ำต่างๆในแม่น้ำตามที่ได้กล่าวมาในหัวข้อก่อนหน้า ในบางพื้นที่ตะกอนจะตกทับถมในลำน้ำก่อนออกสู่ชายฝั่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตะกอน ลักษณะของลำน้ำ และการไหลของน้ำ โดยแตกต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล การดูดทรายในลำน้ำ มักเป็นไปเพื่อความสะดวกในการเดินเรือ เพื่อประโยชน์ด้านการระบายน้ำ และเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการก่อสร้าง  หากมีการดูดทรายเหล่านี้ออกจากลำน้ำ เท่ากับว่าตะกอนทรายที่เดิมจะต้องไหลรวมกับน้ำจืดแล้วไหลลงทะเลจะมีปริมาณน้อยลง นั่นหมายถึงสมดุลของตะกอนที่ไหลจะบกลงทะเลนั้นลงลด ส่งผลให้ชายหาดเกิดการกัดเซาะมากขึ้น

Beachlover

May 8, 2021

กำแพงกันคลื่นของไทย…อยู่ตรงไหนบ้าง

Beach Lover ได้ทำการรวบรวมข้อมูลการมีอยู่ของกำแพงกันคลื่นในประเทศไทย เท่าที่พอจะสังเกตได้จากภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth ร่วมกับการสำรวจภาคสนาม ในเดือนธันวาคมปี 2562 พบว่ามีทั้งหมด 179 ตำแหน่ง ใน 23 จังหวัด หรือก็คือในทุกจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล โดยมีระยะทางตามแนวชายฝั่งรวม 164.67 กิโลเมตร หากนำกำแพงกันคลื่นที่เกิดขึ้นในทุกพื้นที่ชายฝั่งของประเทศไทยมาเรียงต่อกัน จะมีความยาวมากกว่าความยาวชายฝั่งของจังหวัดสงขลา ที่มีความยาวประมาณ 158 กิโลเมตร หรือประมาณ 4 เท่าของชายฝั่งที่มีของจังหวัดสมุทรสาคร โดยจากข้อมูลพบว่าจังหวัดที่มีระยะทางรวมของกำแพงกันคลื่นมากที่สุดคือ จ.นครศรีธรรมราช คือมีความยาวรวม 30.7 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 13% ของความยาวชายฝั่งนครศรีธรรมราช อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกำแพงกันคลื่นนั้นเป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ค่อนข้างตั้งประชิดชายหาด อาจมีต้นไม้ เมฆ หรือสิ่งอื่นบดบัง รวมถึงข้อจำกัดเรื่องความละเอียดของภาพถ่ายด้วย จึงอาจมีกำแพงในอีกหลายพื้นที่ที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้จาก Google earth และไม่ได้ถูกรวบรวมไว้ในข้อมูลชุดนี้

Beachlover

May 7, 2021

ขยะทะเล

ขยะทะเลคือของเสียที่ถูกทิ้งลงทะเล โดยส่วนมากมักเป็นวัสดุเบาที่สามารถพัดพาได้ง่ายจากแหล่งกำเนิด โดยลม คลื่น และกระแสน้ำ  ส่วนใหญ่จะย่อยสลายได้ยาก เช่น แห อวน โฟม พลาสติก ผ้า ซึ่งถูกพัดพาลงมาจากแม่น้ำสู่ทะเล ตลอดจนจากเรือประมงนอกชายฝั่ง และจากการทิ้งขยะโดยตรงลงบนชายหาดและทะเล จากฐานข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า จังหวัดชายฝั่งทะเลทั้งหมด 23 จังหวัด มีปริมาณขยะ ประมาณ 10 ล้านตัน/ปี ในจำนวนนี้มีประมาณ 5 ล้านตันที่ได้รับการจัดการไม่ถูกวิธี และพบว่าประมาณ 10% ของขยะที่ตกค้างเนื่องจากการจัดการไม่ถูกวิธีจะไหลลงทะเล ซึ่งนั่นหมายถึงมีขยะไหลลงทะเลปีละประมาณ 50,000-60,000 ตัน/ปี ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 6 ของโลก (http://www.dmcr.go.th) ผลกระทบที่เกิดจากการมีขยะทะเลที่ชายหาดและในทะเลนั้นมีทั้งต่อตัวทรัพยากรชายหาด สิ่งมีชีวิต และผู้ใช้ชายหาด คือเป็นแหล่งเสื่อมโทรม สะสมเชื้อโรค ทัศนียภาพไม่สวยงาม ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้ใช้ชายหาด นอกจากนั้น ขยะทะเลโดยเฉพาะพลาสติกยังเป็นสาเหตุการตายของสัตว์ทะเล เช่น พะยูน เต่า โลมา วาฬ ดังที่มักพบในข่าวสารต่างๆว่าสัตว์เหล่านี้มีขยะพลาสติกในท้องบ้าง ถูกขยะทะเลพันตามร่างกายบ้าง 

Beachlover

May 6, 2021

การทำเหมืองทรายชายฝั่ง

หมายถึงการขุดและนำทรายไปเป็นวัสดุเพื่อการก่อสร้าง เป็นแหล่งแร่ เป็นวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรม และอื่นๆ การนำทรายออกจากชายหาดรวมถึงนอกชายฝั่งทุกกรณี อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับชายหาด ทำให้พื้นที่ชายหาดลดลง เกิดหลุมขนาดใหญ่ รวมถึงอาจเหนี่ยวนำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในอัตราเร่งเพิ่มมากขึ้นด้วย จากข้อมูลสำรวจพบการทำเหมืองทรายชายฝั่งทั้งหมด 73 ประเทศทั่วโลกใน 5 ทวีป (http://coastalcare.org) การขุดทรายบนชายหาด จะส่งผลถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่หน้าดินและริมชายหาด มีผลต่อห่วงโซ่อาหารของสัตว์ทะเล น้ำที่ขุ่นจากการขุดทรายริมชายหาดจะส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ริมฝั่งรวมถึงประมงชายฝั่งด้วย และหากมีการขุดทรายบนหาดท่องเที่ยวยิ่งจะกระทบต่อทัศนียภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจของชายหาดนั้น

Beachlover

May 4, 2021

เราสามารถสังเกตการเปลี่ยนของชายฝั่งได้อย่างง่ายๆจากการถ่ายภาพมุมเดิมในเวลาแตกต่างกัน

ตามปกติแล้ว เราสามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลได้หลากหลายวิธีการ เช่น แปลจากภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม สำรวจระดับของชายหาดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้เทคนิคงานสำรวจทางวิศวกรรม สำรวจแนวชายฝั่งจากหมุดหลักฐานอ้างอิง แต่ก็มีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากและต้องการทักษะบางประการในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ในยุคที่โทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทุกคนมีกล้องถ่ายภาพอยู่กับตัวตลอดเวลา การถ่ายภาพมุมเดิมๆในเวลาที่แตกต่างกัน โดยมีจุดอ้างอิงเดิมปรากฏในภาพ จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ในเบื้องต้น ก่อนที่จะวิเคราะห์ในรายละเอียดโดยใช้เทคนิคที่ซับซ้อนต่อไป                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

Beachlover

April 20, 2021

ชายหาด มี “Character”

ชายหาดแต่ละแห่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทั้งเชิงกายภาพและการใช้ประโยชน์บนชายหาด เหล่านี้ส่งผลให้ชายหาดมี “Character” ที่แตกต่างกัน ไม่ต่างจากตัวละครในหนังและละคร ยิ่งมองร่วมกับปัจจัยภายนอกอย่างสภาพคลื่นลมที่ส่งอิทธิพลต่อชายหาดแต่ละแห่งด้วย Degree ที่แตกต่างกันด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ “Character” ของแต่ละหาดนั้นมีความแตกต่างกันมากขึ้นไปอีก หากเราเข้าใจ “Character” ของตัวละครที่โลดแล่นอยู่ในจอทีวี จะทำให้เราเข้าใจเนื้อหา เรื่องราวและการ Re-act ของตัวละครนั้นได้เป็นอย่างดี เฉกเช่นเดียวกันกับชายหาด หากเราได้เข้าใจ “Character” ของแต่ละหาดเป็นอย่างดีแล้ว เราจะสามารถเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลง ความเป็นพลวัตของชายหาด ตลอดจนวิธีการรักษาดูแลให้สอดคล้องเหมาะสมแบบที่ยังคงเก็บ “Character” เดิมไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง

Beachlover

April 19, 2021

เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) ในประเทศไทย

เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) ถือเป็นโครงสร้างสำคัญริมทะเล ที่นำมาซึ่งโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอีกหลากหลายรูปแบบ เนื่องจาก Jetty จะกีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนจนส่งผลกระทบให้พื้นที่ถัดไปเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงจนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันต่อๆกันไปอย่างไม่รู้จบในหลายๆพื้นที่ จากการสำรวจโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดของ google earth พบว่า ปากแม่น้ำในประเทศไทยมี jetty แล้วทั้งสิ้นรวม 64 ตำแหน่ง จวบจนถึงปัจจุบันหากเป็นทะเลฝั่งอ่าวไทย แทบจะหาปากคลองที่ไม่มี jetty ได้ยาก จึงไม่น่าแปลกใจถ้าชายฝั่งทะเลฝั่งอ่าวไทยจะถูกกัดเซาะมากกว่าฝั่งอันดามัน จริงอยู่ที่ลักษณะเชิงกายภาพของชายฝั่งแถบทะเลอันดามันทำให้ชายหาดแถบนั้นเสถียร กัดเซาะไม่มาก แต่หากฝั่งอันดามันมี jetty ที่ปากแม่น้ำตลอดแนว รับรองว่าแม้ชายฝั่งที่ค่อนข้างเสถียรมีเกาะแก่งเป็นปราการธรรมชาติ ก็กัดเซาะไม่ต่างจากฝั่งอ่าวไทยเป็นแน่   Jetty ถือเป็นโครงสร้างทางทะเลที่มีนัยสำคัญต่อปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยอย่างไม่ต้องสงสัย ศึกษาเพิ่มเติมว่า jetty คืออะไรได้จาก https://beachlover.net/jetty/

Beachlover

January 12, 2021

พัฒนาการของแหลมสนอ่อน จ.สงขลา

พัฒนาการของแหลมสนอ่อน แหลมสนอ่อน เห็นส่วนเหนือสุดของหาดสมิหลาที่มีความยาวรวมทั้งสิ้น 7.8 กิโลเมตร อยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมสมิหลา (รูป 1) ร่มรื่นไปด้วยทิวสนทะเลและไม้พุ่มหลากหลายชนิด บริเวณปลายแหลมเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จากปลายแหลมสนอ่อนสามารถชมทัศนียภาพอันสวยงามของปากทะเลสาบสงขลา และมองเห็นเกาะหนูได้ใกล้และชัดที่สุด  แหลมสนอ่อนในอดีตมีความกว้างน้อยกว่าในปัจจุบันมากตามหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2510 (รูป 2-A) พัฒนาการของแหลมสนอ่อนเท่าที่มีข้อมูลปรากฏนั้นเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 ที่มีการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสงขลายาวประมาณ 700 เมตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันตะกอนชายฝั่งทะเลไปตกในร่องน้ำเดินเรือของทะเลสาบสงขลา ส่งผลให้ตะกอนทรายที่เคลื่อนมาจากทิศใต้ตกทับถมทางด้านใต้โครงสร้างนี้ แหลมสนอ่อนเริ่มขยายพื้นที่เนื่องจากการสะสมตัวของตะกอนทรายดังกล่าวกว้างมากขึ้นนับจากนั้น (รูป 2-B) ต่อมาได้มีการพัฒนาท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาบริเวณหัวเขาแดงเมื่อปี พ.ศ. 2528-2532 และได้ต่อขยายความยาวของโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปลายแหลมสนอ่อนออกไปอีก 200 เมตร จึงเป็นการเพิ่มตะกอนให้กับพื้นที่แหลมสนอ่อนมากขึ้นอีก (รูป 2-C) จนมีความกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ (รูป 2-D) พบว่าพัฒนาการของแหลมสนอ่อนเท่าที่มีหลักฐานปรากฎตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2554 นั้น มีพื้นที่งอกเพิ่มมากขึ้นจากการสะสมตัวของตะกอนชายฝั่งที่เคลื่อนมาจากทิศใต้ประมาณ 497.42 ไร่หรือคิดเป็น 795,872 ตารางเมตร (รูป 3)

Beachlover

January 3, 2020
1 2 3 4 6