โครงสร้างป้องกันชายฝั่งเกาะภูเก็ต อยู่ตรงไหนกันบ้าง

จากโพสครั้งก่อน Beach Lover ได้พาชมความสวยงาม (และไม่สวยงาม) ของชายหาดบริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ครั้งนี้ขอพาชมโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในพื้นที่นี้กันบ้าง

โครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไปในประเทศไทยนั้น ประกอบด้วย 4 รูปแบบหลักๆดังนี้

โดยทั้ง 4 รูปแบบนี้อาจเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันไปเช่น หินทิ้ง หินเรียง เสาปูน เสาไม้ ถุงทราย กระชุหิน และอื่นๆ ถ้าหากว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันชายฝั่งและมีการวางแนวของโครงสร้างเป็นไปตามทั้ง 4 รูปแบบข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทั้งสิ้น นอกจากนี้หากลดระดับความสูงของสันโครงสร้างลงให้จมอยู่ใต้น้ำ แต่ยังมีวัตถุประสงค์และการวางแนวเป็นไปตามรูปแบบของโครงสร้างป้องกัน ก็ถือว่าเป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเช่นกัน เช่น เขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ เป็นต้น

จากการสำรวจภาคสนามบริเวณหาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต พบว่ามีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งจำนวน 35 ตำแหน่ง  โดยโครงสร้างที่ทำการสำรวจภาคสนามมีความยาวรวมทั้งหมด 6,895.4 เมตร และพบว่าโครงสร้างโดยส่วนมากเป็นกำแพงแบบตั้งตรง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกันดินและถูกสร้างประชิดชายฝั่งจึงทำหน้าที่เสมือนกำแพงกันคลื่นในช่วงเวลาน้ำขึ้นหรือช่วงฤดูมรสุม ส่งผลให้การจำแนกความแตกต่างระหว่างกำแพงกันคลื่นและกำแพงกันดินนั้นทำได้ยาก รูปถ่ายด้านล่างเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของโครงสร้างทั้งหมดเท่านั้น